ชะอม


 
            ผักหละ (ภาคเหนือ) ผักหา ( แม่ฮ่องสอน ) หมันจื่อกั๋ว ( ม้ง ) (อุดม รุ่งเรืองศรี, 2542, 7460) ผักขา ( อุดรธานี ) ผักยำ ( ร้อยเอ็ด ) (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2548, 52)
 
             ต้น เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดย่อมกิ่งเลื้อยลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมอยู่ทั่วไป ลำต้นเลื้อยสีขาว ใบ เป็นใบประกอบ มีก้านใบจะแยกออกเป็นใบอยู่ 2 ทาง จะมีลักษณะคล้ายใบส้มป่อยหรือใบกระถิน ใบอ่อนมีกลิ่นฉุน ใบเรียงสลับ ใบย่อยอยู่ตรงข้ามกันมี 13-18 คู่ ดอก ลักษณะคล้ายดอกกระถิ่นออกที่ซอกใบสีขาวนวลหรือสีขาว ดอกขนาดเล็ก จะเห็นชัดเจนเฉพาะเกสรตัวผู้เป็นเส้นฝอย (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2548, 52)
 
        
            เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินซี ฟอสฟอรัส (ผักพื้นบ้าน อาหารไทย, 2548, 30)
        
เปลือกชะอมผสม สะเดา ฟ้าทะลายโจร บดให้เข้ากันเป็นยาขับพยาธิ ต้มน้ำกินเป็นยาขับลมเปลือกใช้แทนผงชูรส รากของชะอม สรรพคุณแก้ท้องเฟ้อ ขับลมในลำไส้ แก้อาการปวดเสียวในท้องได้ดี (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2548, 52)


ข้อบ่งใช้ในทางเภสัชกรรมล้านนา เป็นส่วนประกอบในตำรับยารักษาอาการไอ ยาแก้เจ็บคอ ยาไข้บ่รู้หาย ยาขางพากหลวง ยาเจ็บหัว ยาลมขึ้นหัวเป็นหนอง ส่วนทางแพทย์แผนไทย แพทย์ตามชนบท ใช้รากชะอมมาฝนรับประทานแก้ท้องเฟ้อ ขับลมในลำไส้ แก้ปวดเสียวในท้อง เป็นต้น สิ่งที่ควรระมัดระวังเกี่ยวกับชะอม คือ บางคนอาจแพ้กลิ่นฉุนของชะอม โดยมีอาการเวียนศรีษะและอาเจียนได้ (จีรเดช มโนสร้อย และอรัญญา มโนสร้อย, 2537)
 
            ตลอดปี
 
 
            

จีรเดช มโนสร้อย และอรัญญา มโนสร้อย. (2537). เภสัชกรรมล้านนา: ตำรับยาสมุนไพรล้านนา. กรุงเทพฯ: สถาบันการแพทย์แผนไทย.

ผักพื้นบ้าน อาหารไทย. (2548). กรุงเทพฯ: แสงแดด.

อุดม รุ่งเรืองศรี. (2542). หละ, ผัก. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ (เล่มที่ 14, หน้า 7460). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์