มะเขือพวง


 
            บ่าแคว้งกูลา บ่าแคว้งกุลา บ่าแคว้ง (เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน) มะเขือพวง (ภาคกลาง) หมากแข้ง (อีสาน) มะแว้งช้าง มะแว้ง (ภาคใต้) จือเปาะลือกู่ (ม้ง) (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2548, 181; เตือนใจ ไชยศิลป์ และคณะ, 2545, 13; บุญชื่น ชัยรัตน์, 2542, 1346)
 
            ต้นเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 2 เมตร คล้ายกับมะแว้ง ลำต้นมีหนามห่าง ๆ เปลือกมีสีเขียวอมขาว ไม่มีรอยแตก ไม่ผลัดใบ ใบอ่อนและยอดอ่อนมีขนปกคลุม เมื่อสัมผัสจะรู้สึกอ่อนนุ่ม ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตัวแบบสลับ ใบรูปไข่ ขอบใบเป็นพลูกว้าง ฐานใบมนกว้าง ปลายใบแหลม ผิวใบด้านล่างมีขนรูปสามเหลี่ยมบกคลุม เมื่อสัมผัสจะนุ่ม ตัวใบขนาด 3-5 x 4-6 นิ้ว เนื้อใบอ่อนเหนียว เส้นใบแตกแบบขนนกสานกันเป็นร่างแห ดอกเป็นช่อสีขาว มีดอกย่อย 2-15 ดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ออกดอกตรงตาข้างและยอดกิ่ง ก้านดอกยาวกว่า ลักษณะดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ ขณะบานเป็นรูปดาว 5 แฉก ผลเป็นผลเดี่ยวเป็นพวงคล้ายมะแว้ง รูปกลม ผิวเกลี้ยงสีเขียว กลีบเลี้ยงที่ติดอยู่ไม่มีหนาม ขนาดผลเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.0-1.3 ซม. ผลสุกสีเหลืองอ่อน เมล็ดมีจำนวนมาก ลักษณะแบน กลม ผิวเรียบ มีการออกดอกออกผลตลอดปี ชอบขึ้นอยู่ในที่ราบ และภูเขาสูงในบริเวณที่ไม่มีไม้สูงปกคลุมตามไร่สวนทั่วไป (เตือนใจ ไชยศิลป์ และคณะ, 2545, 13; บุญชื่น ชัยรัตน์, 2542, 1346; กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2548, 181)
 
        
            แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ วิตามิน บี 1 วิตสมิน บี 2 วิตามินซี ไนอาซิน (ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง, 2549, 69) ผลอ่อนเป็นผักสดหรือทำให้สุก กินกับน้ำพริก หรือนำไปยำรวมกับผักอื่น ๆ โดยเฉพาะอาหารที่เรียกว่า ยำสนัด และใช้ใส่ผักแกงเผ็ด แกงเขียวหวาน แกงโฮะ แกงแค แกงป่า แกงคั่ว (บุญชื่น ชัยรัตน์, 2542, 1346) ทุบใส่น้ำพริก ทำให้ช่วยลดความแหลมของเครื่องปรุงอื่นๆ ได้ ทำให้น้ำพริกมีรสหวานกล่อมกล่อม (ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์, 2547, 56)
        
ในทางเภสัชกรรมล้านนา ใช้เป็นส่วนผสมของตำรับยาลูกอ่อนบวม ยาคอแห้ง (บุญชื่น ชัยรัตน์, 2542, 1346)
ลำต้น กินแก้เมา ทำให้รสเหล้าจืดลง กินเรื่อยๆ แก้โรคเบาหวาน ขับปัสสาวะ แก้ปวดฟกช้ำ ทำให้เลือดลมหมุนเวียนดี (เตือนใจ ไชยศิลป์ และคณะ, 2545, 13)
ใบ ใบสดใช้ตำพอกบริแวณแผล มีสรรพคุณห้ามเลือด แก้ฝีบวมมีหนอง (ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง, 2549, 69)
ผล ผลสดต้มกินเป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ เจริญอาหาร ลดความดันหิต (ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง, 2549, 69)
เมล็ด นำมาเผาไฟ นำมาเผาไฟ สูดดมควัน แก้ปวดฟันได้ รากสด นำมาตำ แล้วพอกที่เท้าที่แตกเป็นแผล (เตือนใจ ไชยศิลป์ และคณะ, 2545, 13)
 
            ตลอดปี
 
 
            

กัญจนา ดีวิเศษและคณะ, ผู้รวบรวม.(2548).ผักพื้นบ้านภาคเหนือ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ บรรณาธิการ.พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาตำราการแพทย์แผนไทย.

เตือนใจ ไชยศิลป์ และคณะ.(2545).สมุดภาพสมุนไพร : โครงการ "ม่อนยาป่าแดด".กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์.(2547). สารานุกรมผัก: เรื่องวัฒนธรรม โภชนาการและสูตรอาหารของผักนานาชนิด.พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ: แสงแดด.

บุญชื่นชัยรัตน์.(2542).แคว้งคลูวา, บ่า.ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ(เล่ม 3, หน้า 1346).กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง.(2549).กรุเงทพฯ: บริษัท ฟ้าอภัย จำกัด.