หอมแดง


 
            หอม หัวหอม หอมเล็ก หอมแดง (ภาคกลาง) หอมบั่ว (ภาคเหนือ)
 
            เป็นพืชขนาดเล็กลำต้นเหนือใต้ดินสูง 15-50 ซม. มีกาบใบซึ่งมีลักษณะพอง สะสมอาหารเป็นกระเปาะคล้ายหัว สีแดงถึงสีน้ำตาลเหลือง ขยี้กลิ่นฉุนและระคายเคืองตา ทำให้น้ำตาลไหล เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-4 ซม. ใบเสียเขียวเป็นเส้นกลมภายในกลวง ปลายเรียวแหลม ดอกออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกก็เป็นคล้ายใบ ยาวประมาณ 20-30 ซม. ดอกย่อยมีจำนวนมาก สีขาวออกม่วง ๆ มี 6 กลีบ มีเกสรตัวผู้หกอัน ผลอยู่รวมกันเป็นกระจุกกลม เมล็ดสีดำ
 
        
            ไม่มีข้อมูล
        

ทำให้ร่างกายอบอุ่น ขับลม แก้ท้องอืดแน่น แก้ไข้หวัด และเลือดกำเดาออก ช่วยย่อยอาหารและเจริญอาหาร แก้บวมน้ำ ฆ่าพยาธิ บำรุงผมให้งอกงาม และแก้อาการอักเสบต่าง ๆ ในกรณีที่เด็กเป็นหวัดคัดจมูก เป็นลมชัก ใช้หัวหอมตำระเอียดเป็นศีรษะ จะช่วยให้เด็กหายใจดีขึ้น ทางล้านนาก็มีการใช้หอมบั่วในตำรับยาหลายขนาน เช่น ยานัตถุ์เลือดขึ้น ( ยานัตถุ์ ) ยาสะอึ้น ( ยาแก้รักษาอาการสะอึก ) ยาเสียดคัด ( ยารักษาอาหารจุกเสียด ) ยาเลือดขึ้น ( ยารักษาโรคความดัน ) ยาไฟท้องดับ ( ยาบำรุงธาตุ ) ยาผีไข้เจ็บออกหู ( ยารักษาผี มีอาการเจ็บออกหู ) เป็นต้น
 
            ฤดูหนาว
 
 
            

รัตนา พรหมพิชัย. (2542). หอมบั่ว. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ (เล่ม 14, หน้า 7530). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.