พริกแห้ง


 
            พริกชี้ฟ้า พริกเดือยไก่ พริกบางช้าง พริกหนุ่ม (ภาคเหนือ) พริกมัน (กรุงเทพฯ) พริกแล้ง (เชียงใหม่) พริกซ่อม พริกขี้หนู พริกนก พริกแด้ (เหนือ) พริกขี้นก ดีปลีขี้นก (ใต้) ดีปลี (ปัตตานี) ปะแกว (นครราชสีมา) หมักเพ็ด พริกแกว (อีสาน) พริกยักษ์ - พริกหวาน พริกฝรั่ง พริกหลวง พริกแม้ว พริกกะเหรี่ยง พริกหัวเรือ พริกห้วยสีทน พริกสันป่าตอง พริกภูเรือ พริกจีน พริกเจแปน พริกต้ม และพริกแจว เป็นต้น
 
 
        
            พริก เป็นแหล่งของพลังงาน แร่ธาตุ เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เหล็ก แคลเซียมและเป็นแหล่งของ วิตามินเอ ซี และอี โดยเฉพาะวิตามินซีพบว่ามีมากกว่าพืชผักชนิดอื่นๆ การที่มีวิตามินซีสูงจึงเป็นแหล่งของกรด ascorbic acid ซึ่งเป็นสารช่วยขยายเส้นโลหิตในลำไส้และกระเพาะอาหารเพื่อให้ดูดซึมอาหารดีขึ้น และช่วยร่างกายขับถ่ายของเสียและนำธาตุอาหารไปยังเนื้อเยื่อของร่างกาย
        
ผล รสเผ็ดร้อน ทำให้ร้อนเลือดไหลเวียนดี เจริญอาหาร ช่วยย่อย ขับลม ละลายเสมหะและขับเสมหะ (mucokinetic) ขับเหงื่อ แก้ปวดท้อง อาเจียน บิด ท้องเสีย แผลเกิดจากถูกความเย็นจัด กลากและหิด ราก แก้แขนขาอ่อนเปลี้ย ไม่มีกำลัง ไตและอัณฑะบวม มดลูกมีเลือดออกทั้งต้น รสฉุน ร้อน แก้เหน็บชาเกิดจากอากาศเย็นจัด เลือดคั่ง ปวดข้อ และแผลที่เกิดจากถูกความเย็นจัด
 
            ตลอดปี
 
 
             สมุนไพร. http://www.geocities.com/ruammitra/lady-samunprai-chilli.html (18 เมษายน 2550)