|
 |
ข่า
|
|
 | กฏุกกโรหินี (ภาคกลาง) ข่าหยวก ข่าหลวง (ภาคเหนือ) เสะเออเคย สะเอเชย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) (จีรเดช มโนสร้อย และอรัญญา มโนสร้อย, 2537, 87) ข่าตาแดง (ภาคกลาง) (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 130) | |
|
 | เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปลูกง่าย ขึ้นได้ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ลำต้นขึ้นเป็นกอ มีเหง้าหรือแง่งอยู่ในดิน ต้นสูงประมาณ 2 เมตร ลักษณะเป็นข้อและปล้อง ส่วนที่อยู่ดินเป็นก้านและใบ ดอกออกที่ยอดเป็นดอกช่อ ก้านดอกยาว ดอกย่อยมีขนาดเล็ก สีชมพูหรือขาวอมม่วงแดง
ข่าตาแดง เหมือนกับข่าทั่วไป แต่ต้นเล็กกว่าเล็กน้อย โคนต้นสีแดง หน่ออกใหม่และตาสีแดง รสและสรรพคุณมีฤทธิ์แรงกว่าข่าธรรมดา เกิดตามป่าดงดิบเขาทั่วประเทศ (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 130)
| |
|
 |

มีโปรตีน เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ (ผักพื้นบ้าน อาหารไทย, 2548, 140)
เหง้าอ่อนและเหง้าแก่ใช้ปรุงอาหาร เพื่อดับคาว นอกจากกินเหง้าแล้ว คนไทยยังกินดอกอ่อนเป็นผัก รสซ่าเผ็ด กินสดหรือลวกหรือนึ่ง เป็นเครื่องเคียงน้ำพริก นอกจากนี้ชาวล้านนาใช้เป็นส่วนผสมแกงแค และคั่วแค
|

ดอกข่าเป็นยาระบายอ่อนๆ เหง้ารักษาโรคกลากเกลื้อน โดยนำไปตำแล้วแช่เหล้าขาว ใช้ทาจนกว่าจะหาย (ผักพื้นบ้าน อาหารไทย, 2548, 140)
ข้อบ่งใช้ทางเภสัชกรรมล้านนา เป็นส่วนประกอบในตำรับยาเมื่อยเส้นเอ็น ยาเสียบคัด ยาเกี่ยวขึ้นหัว ยาชะคิวกินเอ็น ยามะเร็งครุด ยาไอ เป็นต้น
ข้อบ่งใช้ทางการแพทย์แผนปัจจุบัน-แผนไทย ข่าแก่ใช้รับประทาน ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับเสมหะ ขับเหงื่อ แก้บิด ตำให้ละเอียดใช้ทาแก้โรคผิวหนังกลากเกลื้อน
เหง้าสดยาวประมาณ 1-1.5 นิ้ว (หรือประมาณ 2 องคุลี) ตำให้ละเอียด เติมน้ำปูนใส ใช้น้ำรับประทานครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว แก้ท้องขึ้นท้องอืด และสมารถแก้ท้องเดิน และอาเจียน ที่เรียกว่า โรคป่วงใต้ได้
เหง้าแก่ๆ ขนาดเท่าหัวแม่มือ ตำให้ละเอียด ผสมเหล้าโรง ทาหลายๆ ครั้ง จนกว่าเกลื้อนจะหาย
เหง้าแก่สด 1-2 หัวแม่มือ ทุบให้แตกละเอียด เติมเหล้าโรงพอท่วม แช่ไว้ 2 วัน ใช้น้ำสำลีชุบยา ทาตรงบริเวณน้ำกัดเท้าวันละ 3-4 ครั้ง
เหง้าแก่ๆ สด 1 แง่ง ตำให้ละเอียด เติมเหล้าโรงให้แฉะๆ ใช้ทั้งเนื้อและน้ำทาบริเวณที่เป็นลมพิษ ทาบ่อยๆ จนกว่าจะดีขึ้น (จีรเดช มโนสร้อย และอรัญญา มโนสร้อย, 2537, 87)
| |
|
 | ตลอดปี | |
|
|
|
 |
จีรเดช มโนสร้อย และอรัญญา มโนสร้อย. (2537). เภสัชกรรมล้านนา: ตำรับยาสมุนไพรล้านนา. กรุงเทพฯ: สถาบันการแพทย์แผนไทย. ผักพื้นบ้าน อาหารไทย. (2548). กรุงเทพฯ: แสงแดด. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. (2540). สารานุกรมสมุนไพร: รวมหลักเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. | |
|
|
|
 |
|