มะระขี้นก


 
            บ่าห่อยนก บ่าห่อยเมือง (มีลักษณะคล้ายบ่าห่อยนก แต่ผลโตกว่าและขมกว่า) (ภาคเหนือ) (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 7540) มะระเล็ก, ระ (ภาคใต้) (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 364)
 
            ต้น เป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันตามต้นไม้อายุเพียง 1 ปี มีมือเกาะ หรือหนวดเล็กยาวสำหรับยึดเกาะกับพืชอื่น ลำต้นเป็นเหลี่ยมมีขนปกคลุม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกสลับกัน ลักษณะคล้ายใบแตงโม แต่เล็กกว่า มีสีเขียวทั้งใบ ขอบหยักเว้าลึก มี 5-7 หยัก ปลายใบ ดอก ออกเดี่ยว สีเหลืองอ่อน มี 5 กลีบ เกสรสีเหลืองแก่ส้ม กลีบดอกบาง ผล เป็นผลเดี่ยว รูปกระสวย ผิวขรุขระ มีปุ่มยื่นออกมา ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีเหลืองส้ม เส้นผ่าศูนย์กลางผล 2-3.5 ซม. ยาว 5-8 ซม. ผลแก่แตกอ้าออกภายในมีเมล็ดรูปร่างกลม แบนหรือรูปไข่ เปลือกหุ้มเมล็ดมีสีแดง (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2548, 187)
 
        
            มะระขี้นก 100 กรัม มีฟอสฟอรัส 5 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 23 ไมโครกรัม วิตามินซี 147 มิลลิกรัม (ผักพื้นบ้าน อาหารไทย, 2548, 222) ข้อมูลทางอาหาร ใบอ่อน ยอดอ่อน และผลอ่อน นึ่งหรือลวกให้สุก รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริกปลาร้า น้ำพริกปลาทู น้ำพริกตาแดง ใช้เป็นส่วนผสมของแกงแค และคั่วแค (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 7540)
        
ใบ คั้นเอาน้ำดื่มแก้ท่อน้ำดีอักเสบ เจริญอาหาร ใช้มาเป็นยาทำให้อาเจียนได้ แก้ไข แก้ตัวร้อน ดับพิษร้อน แก้ปากเปื่อย เป็นขุม แก้พิษฝี บำรุงน้ำดี แก้ตับม้ามพิการ แก้อักเสบฟกบวม แก้ปวดเนื่องจากลมคั่งในข้อ

ดอก ชงน้ำดื่ม แก้หอบหืด
ผลอ่อน บำรุงน้ำดี เจริญอาหาร บำรุงร่างกาย บำรุงโลหิตระดู แก้ตับม้ามอักเสบ ขับพายาธิ แก้พิษฝี แก้บวม แก้เจ็บปวดจากพิษต่างๆ แก้ลมเข้าข้อ ขับพยาธิในท้อง เป็นยาระบายอ่อนๆ คั้นเอาน้ำอมแก้ปากเปื่อย ปากเป็นฝ้าขาวขุม หั่นตากแห้งชงกับน้ำดื่มแก้เบาหวาน ถ้าจะแก้รสขมให้เติมใบชาลงไปเล็กน้อย น้ำคั้นจากผลดื่มทำให้แท้ง สามารถต้านเชื้อไวรัสและมะเร็งได้
อ่อนและผลอ่อน แก้ไข้หวัด เบาหวาน ต้านไวรัสเอดส์ ต้านมะเร็ง ดับพิษทุกชนิด พิการ มีฤทธิ์ลดน้ำตาล ผลอ่อน ใช้เป็นอ

ผลสุก เป็นพิษ เนื่องจากมีสาร saponin มาก ทำให้อาเจียนและท้องร่วง อาจตายได้ ห้ามรับประมาน

เมล็ด ขับพยาธิตัวกลม รับประทานมากมีพิษเช่นเดียวกับผลสุก

ราก ต้มดื่มแก้ไข แก้ริดสีดวงทวาร แก้แผลอักเสบ บำรุงธาตุ สมานแผล
ใบและราก แก้โรคเบาหวาน
(วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 364)

 
             ตลอดปี
 
 
            

กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม. (2548). ผักพื้นบ้านภาคเหนือ. เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ บรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: ศูนย์พัฒนาตำราการแพทย์แผนไทย.

ผักพื้นบ้าน อาหารไทย. (2548). กรุงเทพฯ: แสงแดด.

รัตนา พรหมพิชัย. (2542). ห่อย, บ่า. . ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ (เล่ม 14, หน้า 7539-7540). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

วุฒิ วุฒิธรรมเวช. (2540). สารานุกรมสมุนไพร: รวมหลักเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.