บอน


 
            บอนน้ำ บอนเขียว บอนจีนดำ บอนท่า บอนหวาน (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2542, 109)
 
            ต้น ไม้ล้มลุกมีลำต้น (เหง้า) อยู่ใต้ดินมีอายุหลายปี ขึ้นเป็นกลุ่มหลายต้นเรียงรายตามที่ลุ่มริมน้ำ สูงประมาณ 70-120 ซม. ลำต้นใต้ดิน ประกอบไปด้วยหัวกลางและหัวย่อย อยู่รอบๆ หัวใหญ่ ใบ ใบมีรูปร่างคล้ายรูปหัวใจหรือคล้ายโล่ ปลายแหลมฐานใบเว้าแหลม ใบกว้าง 20-35 ซม. ยาว 35-40 ซม. หน้าใบเขียวเรียบไม่เปียกน้ำเพราะผิวใบเคลือบด้วยไข (wax) หลังใบสีขาวนวลมีเส้นใบชัดเจน แต่ละกอมี 7-9 ใบ ก้านใบยาวออกจากต้นใต้ดิน ก้านใบยึดกับด้านล่างของใบ ก้านใบยาว 30-90 ซม. ดอก ออกจากลำต้นใต้ดินเป็นช่อยาว มีกาบสีเหลืองอ่อนหรือเหลืองนวลหุ้มอยู่ ยาว 26 ซม. มีดอกเป็นกระเปาะสีเขียวเป็นแท่งอยู่ตรงกลาง มีกลิ่นหอมต่อมาจะกลายเป็นผล (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2542, 109)
 
        
            แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ ไนอาซิน วิตามินซี (ผักพื้นบ้าน อาหารไทย, 2548, 248)
        
ก้านใบ รสเย็นคัน ตัดหัวท้ายลนไฟบิดเอาน้ำหยอดแผลแก้พิษคางคก
หัว รสเมาคัน แก้เถาดานในท้อง กัดฝ้าหนอง (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 262)
ราก นำไปต้มน้ำดื่ม แก้ท้องเสีย บรรเทาอาการเจ็บคอและเสียงแหบแห้ง
(ผักพื้นบ้าน อาหารไทย, 2548, 248)
 
            ตลอดปี
 
 
            

กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม. (2542). ผักพื้นบ้านภาคกลาง. กัญจนา ดีวิเศษ บรรณาธิการ. นนทบุรี: โครงการพัฒนาตำรา สถาบันการแพทย์แผนไทย.

ผักพื้นบ้าน อาหารไทย. (2548). กรุงเทพฯ: แสงแดด.

วุฒิ วุฒิธรรมเวช. (2540). สารานุกรมสมุนไพร: รวมหลักเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.