กุยช่าย


 
            กูไฉ่ กู๋ฉ้าย หอมแป้น, ผักแป้น (ภาคอีสาน) หัวชู (ภาคเหนือ) (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 108)
 
            ต้น พืชล้มลุกอายุยืน สูง 10 – 30 ซม. เหง้าอยู่ใต้ดิน ส่วนเหนือดินเจริญเป็นกอแน่น ใบ ใบเรียวยาวแบนมีกลิ่นฉุนรูปขอบขนาน ยาว 10 – 20 ซม. โคนใบเป็นกาบบางซ้อนกัน ดอก ดอกเป็นกระจุกสีขาว ก้านช่อดอกยาว 40 – 50 ซม. กลีบดอกมี 6 กลีบ สีขาวยาว 5 มม. เกสรตัวผู้ 6 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน ผล ภายในผลมี 3 ช่อง มีช่องละ 1 – 2 เมล็ด สีน้ำตาล (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2542)
 
        
            ใบมีฟอสฟอรัสสูง (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2542) ชาวล้านนา นิยมรับประทานเป็นเครื่องเคียงก๋วยเตี๋วผัด
        
ใบ รสร้อนฉุน แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้ฟกบวม แก้ปวดแน่นหน้าอก แก้อ หรืออาเจียนเป็นเลือด แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้น้ำกามเคลื่อนเอง ขับลม คั้นเอาน้ำหยอดหูขับแมลงที่เข้าหู ฆ่าเชื้อโรคในแผลสด แก้แผลหนองเรื้อรัง แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้บิด รมหัวริดสีดวงรัดหัวริดสีดวงให้หด แก้หูน้ำหนวก แก้ผดผื่นคันตามตัว แก้อ่อนเพลีย แก้มดลูกหย่อน แก้เลือดกำเดาไหล ตำผสมเหล้าเติมสารส้มเล็กน้อยคั้นเอาแต่น้ำรับประทาน ขับนิ่ว แก้หนองใน เมล็ด รสเค็มร้อน ขับพยาธิเส้นด้าย แก้ปวดเอว บำรุงไต แก้ระดูขาว แก้หนองใน แก้ปัสสาวะกะปริบกะปรอย แก้ปัสสาวะรดที่นอน ขับพยาธิแส้ม้า (สาเหตุโรคเท้าช้าง) ขับนิ่ว บดผสมเหล้ารับประทาน ขับระดู เหง้า รสร้อนฉุน แก้เจ็บหน้าอก แก้ระดูขาว ขับประจำเดือน ขับสิ่งตกค้างในร่างกาย แก้ไอเป็นเลือด แก้ฟกบวม แก้กลาก ทำให้ร่างกายอบอุ่น (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 108) ลดความดันโลหิต ป้องกันมะเร็ง (ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์, 2547, 185)
 
            ตลอดปี
 
 
            

กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม. (2542). ผักพื้นบ้านภาคกลาง. เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ: โครงการพัฒนาตำรา สถาบันการแพทย์แผนไทย.

เต็ม สมิตินันทน์. (2523). ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (ชื่อพฤกษศาสตร์-ชื่อพื้นเมือง). กรุงเทพฯ: กรมป่าไม้.

ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์. (2547). สารานุกรมผัก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: แสงแดด.

วุฒิ วุฒิธรรมเวช. (2540). สารานุกรมสมุนไพร: รวมหลักเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.