มะแว้ง


 
            บ่าแคว้งขม (ภาคเหนือ) (บุญชื่น ชัยรัตน์, 2542, 1345) (มะแว้งต้น มะแว้ง (ภาคกลาง) แว้งคม (สุราษฎร์ธานี, สงขลา) หมักแข้งขม หมากแข้งขม (อุดรธานี, ร้อยเอ็ด, ภาคอีสาน) สะกั้งแค (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) หมากแฮ้งคง (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) (เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ และกัญจนา ดีวิเศษ, บรรณาธิการ, 2542, 178)
 
            ต้น เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก คล้ายมะเขือพวง สูงประมาณ 1-2 ฟุต ลำต้นแข็ง มีขนและหนามแหลมกระจายอยู่ทั่วต้น ใบค่อนข้างเป็นรูปใข่ มีขอบหยักเว้าหยาบๆ ผิวใบทั้งสองด้านมีขนอยู่ทั่วไป ใบมีขนาดยาว 5-15 เซนติเมตร และปลายกิ่ง แต่ละดอกกว้างประมาณ ครึ่งนิ้ว ผลค่อนข้างกลม ผิวเรียบ เมื่ออ่นมีลายสีขาวเล็กน้อย เมื่อสุกมีสีเหลืองอมส้ม (เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ และกัญจนา ดีวิเศษ, บรรณาธิการ, 2542, 178) การขยายพันธุ์ ใช้เมล็ด
 
        
            ไม่มีข้อมูลสารอาหาร สำหรับข้อมูลทางอาหาร ผลอ่อน รับประทานเป็นผักสดหรือลวก หรือเผาไฟอ่อนๆ จิ้มกับน้ำพริก (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2542, 219) ชาวล้านนา นิยมเอาผลอ่อนมาเป็นส่วนผสมของยำเตา (เทา คือสาหร่ายน้ำจืด)
        
ลำต้น กินแก้เมา ทำให้รสเหล้าจืดลง กินเรื่อย ๆ แก้โรคเบาหวาน ขับปัสสาวะ แก้ปวดฟกช้ำ ทำให้เลือดลมหมุนเวียนดี ใบสด ตำพอกบริเวณแผล ห้ามเลือด แก้ฝีบวมมีหนอง เมล็ดนำมาเผาไฟ เอาควันสูดดม แก้ปวดฟันได้ รากสด นำมาตำพอกเที่แตกเป็นแผล ผลสด ต้มกินเป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ (บุญชื่น ชัยรัตน์, 2542, 1345) นอกจากนี้ ราก แก้ไขสันนิบาต แก้น้ำลายเหนียว กัดเสมหะ ขับปัสสาวะ ขับลม แก้ไอ แก้คัน (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 368)
 
            ตลอดปี
 
 
            

กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม. (2542). ผักพื้นบ้านภาคกลาง. กัญจนา ดีวิเศษ บรรณาธิการ. นนทบุรี: โครงการพัฒนาตำรา สถาบันการแพทย์แผนไทย.

บุญชื่น ชัยรัตน์. (2542). แคว้งขม, บ่า. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาดเหนือ (เล่ม 3, หน้า 1345). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์

เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ และกัญจนา ดีวิเศษ, บรรณาธิการ. (2542). ไม้ริมรั้ว: สมุนไพรกับวัฒนธรรมไทย ตอนที่ 2. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์แผนไทย.

วุฒิ วุฒิธรรมเวช. (2540). สารานุกรมสมุนไพร: รวมหลักเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.