กระวาน


 
            กระวานขาว กระวานดำ กระวานแดง(ภาคกลาง ภาคตะวันออก) ข่าโคก (อีสาน) กระวานโพธิสัตว์ กระวานจันทร์ กระวานไทย (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 90)
 
            ต้น เป็นไม้ล้มลุก สูง 3 เมตร มีเหง้าใต้ดินอายุหลายปีหัวสีขาวอมเหลือง รสเผ็ดขื่น ใบ ใบเป็นกาบหุ้มลำต้น ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปขอบขนาน กว้าง 8-15 ซม. ยาว 40-50 ซม. แผ่นใบเรียบเป็นมันวาว ดอก ดอกช่อออกที่ส่วนยอด กลีบดอกสีขาวแกมเขียวและพองเป็นกระเปาะ ออกดอกเมื่อต้นมีอายุ 2-3 ปี ผล มีลักษณะเป็นรูปรีผลกลมเกลี้ยง และเป็นกลีบที่ประกบติดกันแน่นอยู่ 3 กลีบ มีขนาด 6-15 มม. ในผลนั้นจะมีเมล็ดซึ่งจะเป็นสีน้ำตาลมีเนื้อเยื่อใสหุ้มอยู่ มีกิล่นหอม รสชาติเผ็ดร้อน และในแต่ละผลจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 20 เมล็ด และเมื่อแก่เปลือกผลจะแห้งและแข็ง (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2550)
 
        
            ไม่มีข้อมูลทางโภชนาการ ดอกอ่อน ยอดอ่อน หน่ออ่อน และผลอ่อน นำมาเผาไฟกินกับน้ำพริก ยอดแกงกินได้ ผลแก่นำไปตากแห้งใช้เป็นเครื่องเทศ ชาวล้านนา นิยมนำลูกกระวานมาเป็นส่วนผสมของพริกลาบ หรือน้ำพริกลาบ ซึ่งใช้เป็นเครื่องปรุงในการทำลาบ และยำ เช่น ยำจิ๊นไก ยำจิ๊นแห้ง ยำกบ (ประธาน นันไชยศิลป์, 2550, สัมภาษณ์; สิรวิชญ์ จำรัส, 2550, สัมภาษณ์)
        
หัว ต้มน้ำดื่ม เป็นยาแก้ท้องอื่ดท้องเฟ้อขับปัสสาวะ ฝนทางแก้งูสวัด ผล เมล็ด ในเมล็ดมีน้ำมันหอมระเหย ประมาณ 3-7% ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ กระจายโลหิต กระจายเสมหะ ขับลม ใบ เป็นยากระตุ้น หรือขับลมให้ลงสู่เบื้องล่าง แก้ไข้เซื่องซึม ลดไข้ หัวหน่อ ใช้เป็นยาขับพยาธิ ในเนื้อเยื่อให้ออกมาทางด้านผิวหนัง ราก ขับเลือด ที่เน่าเสียให้ลงสู่เบื้องล่าง (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2550)

ในผลกระวานไทยมีพิมเสน (Borneol or Borneo Camphor) 22.5 % ในน้ำมันประกอบด้วย d-borneol & d-camphor (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 90)

 
            หน่ออ่อนจะเก็บกินในช่วงฤดูแล้ง ออกดอกเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ผลสุก เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม
 
 
            

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2550). ผักพื้นบ้าน. ค้นวันที่ 10 มิถุนายน 2550 จากhttp://singburi.doae.go.th/acri

ประธาน นันไชยศิลป์. (2550). สัมภาษณ์. 3 กรกฎาคม.

วุฒิ วุฒิธรรมเวช. (2540). สารานุกรมสมุนไพร: รวมหลักเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2540.

สิรวิชญ์ จำรัส. (2550). สัมภาษณ์. 25 เมษายน.