กานพลู


 
            จันจี่ (ภาคเหนือ) (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 102; กรมส่งเสริมการเกษตร. กองส่งเสริมพืชสวน. กลุ่มพืชสมุนไพรและเครื่องเทศ, 2550)
 
            ไม้ยืนต้นขนาดกลาง อาจพบสูงถึง 12 เมตร รูปหอกปลายและโคนเรียวแหลม สีเขียวจัดแข็งหนาเป็นมัน กลิ่นหอมเผ็ดร้อนคล้ายใบแก้วแต่โตกว่า ดอกเป็นช่อสีเขียวอมแดง ผลเล็กลมยาว 1 เซนติเมตร สีน้ำตาลเข้ม นิยมเก็บดอกตูมมาใช้ทำยา เป็นพืชพื้นเมืองของหมู่เกาะ Molucca ปัจจุบัน Madagascar Brazil Penang เป็นแหล่งป,กกานพลูที่ใหญ่ที่สุด กานพลูชอบอากาศร้อนชื้น ฝนตกชุก เช่น ตามชายฝั่งทะเล ปลูกได้จนถึงระดับความสูง 900 เมตร ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ต้องเพาะทันที ถ้านานเกิน 1 สัปดาห์ อัตราการงอกจะลดลงอย่างรวดเร็ว กานพลูจะเริ่มออกดอก เมื่ออายุประมาณ 8 ปี ปริมาณของดอกจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมากที่สุดเมื่ออายุ 15-20 ปี และมีอายุถึง 60 ปี ต้นหนึ่งๆ ให้ดอกกานพลูแห้ง 4-8 กิโลกรัมต่อปี (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 102)
 
        
            ดอกกานพลู มีสารอาหารที่มีประโยชน์ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงฟันและกระดูกให้แข็งแรง (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 102)
        
ดอก รสเผ็ดร้อนปร่า กระจายเสมหะ แก้เสมหะเหนียว แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้หืด ทำอาหารให้งวด แก้ปวดฟัน แก้รำมะนาด แก้ปวดท้อง แก้ลม แก้เหน็บชา แก้พิษโลหิต พิษน้ำเหลือง ขับน้ำคาวปลา ทำอุจจาระให้ปกติ ดับกลิ่นกล้า แก้ธาตุทั้ง 4 พิการ แก้ท้องขึ้น กดลมให้ลงสู่เบื้องต่ำ น้ำมันกานพลู เป็นยาชาเฉพาะที่ ระงับการกระตุก ขับผายลม แก้ปวดท้อง แก้ท้องขึ้น แก้ปวดฟัน ผสมยากลั้วคอ แต่งกลิ่นอาหาร ขนม เครื่องดื่ม สบู่ยาสีฟัน ยาดับกลิ่น ไล่ยุงได้ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อรคได้หลายชนิด เช่น แบคทีเรีย E.coli ที่ทำให้เกิดโรคไทฟอยด์ ทำให้เกิดบิดชนิดไม่มีตัว ที่ทำให้เป็นหนอง และฆ่าพยาธิ Trichomonas vaginalis ที่เป็นสาเหตุของตกขาว ต้านอาการโลหิตจางจากการเสียเลือด ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา 6 ชนิด รวมทั้งกลาก พบว่าไม่มีการดื้อยา ไม่อาการระคายเคือง มีฤทธิ์เร่งการขับน้ำดี เติมในน้ำมันหรือไขมัน กันเหม็นหืน นอกจากนี้ ยังสามารถสกัดน้ำมันจากส่วนต่างๆ ของต้นกานพลู เช่น น้ำมันก้านกานพลู น้ำมันใบกานพลู น้ำมันลูกกานพลู ในทางเภสัชกรรม ใช้น้ำมันจากดอกตูมของกานพลูเท่านั้น น้ำมันดอกกานพลูที่ดี จะไม่มีสี หรือมีสีเหลืองอ่อน (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 102)

 
 
 
            

กรมส่งเสริมการเกษตร. กองส่งเสริมพืชสวน. กลุ่มพืชสมุนไพรและเครื่องเทศ.
(2550). เครื่องเทศ. ค้นวันที่ 15 กรกฎาคม 2550
จาก
http://www2.doae.go.th/www/work/web/vachira/page2.htm

วุฒิ วุฒิธรรมเวช. (2540). สารานุกรมสมุนไพร: รวมหลักเภสัชกรรมไทย.
กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์
.