แตงกวา


 
            แตงขี้ไก่ แตงขี้ควาย แตงชั้ง แตงร้าน (ภาคเหนือ) แตงปี แตงยวง แตงเห็น แตงฮัม ตาเสาะ (เขมร) (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 218)
 
            เป็นพืชเถาเลื้อย มีอายุปีเดียว ใบทรงสามเหลี่ยม มีรอยเว้าเข้า แบ่งออกเป็นแกใหญ่ ๆ 3-5 แฉก แต่ละแฉกมีปลายแหลม ดอกแยกเพศ แต่อยู่ต้นเดียวกัน เป็นดอกเดี่ยว หรือช่อตามง่ามใบ ดอกสีเหลือง กลีบดอกเป็นหลอดแล้ว ปลายบานออกเป็น 5 กลีบ ขนาดของใบ ดอก และผลจะแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละชนิด โดยทั่วไปแล้ว ผลอ่อน เป็นสีเขียวปนขาว และมีหนามสั้นๆ ผลแก่มีสีเหลือง เมล็ดมีมากมาย รูปแบนรี สีขาว แตงกลุ่มนี้ มีชื่อเรียกต่างๆ กัน คือ แตงขี้ไก่ เป็นแตงกวาชนิดผลเล็ก ขึ้นได้ดีในดินที่ใส่ปุ๋ยคอกขี้ไก่ แตงขี้ควาย เป็นแตงกวาชนิดผลใหญ่กว่าแตงขี้ไก่ เลื้อยไปตามพื้นดินอย่างแตงขี้ไก่ และไม่เลื้อยขึ้นร้าน ขึ้นได้ดีในดินที่ใส่ปุ๋ยคอกขี้ควาย แตงชั้ง เป็นแตงร้าน เป็นแตงกวาชนิดผลใหญ่ ทอดเลื้อยขึ้นร้าน แตงยาง เป็นแตงกวาที่มีผลขนาดใหญ่และปุ้ม เดิมนิยมปลูกในหมู่ชาวกะเหรี่ยง บ้างเรียก แตงไร่ (อ่านว่า แต๋งไฮ๋) แตงอ้ม เป็นแตงกวาชนิดผลใหญ่ และปุ้มอย่างแตงยาง มีกลิ่นหอมกว่า (รังสรรค์ จันต๊ะ และรัตนา พรหมพิชัย, 2542, 2577-2578)
 
        
            วิตามินซี ธาตุเหล็ก แคลเซียม แต่มีอยู่จำนวนน้อย (ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์, 2547, 99) การบริโภคแตงกวา นิยมรับประทานสดๆ เช่น หั่นเป็นแว่น จิ้มกับน้ำพริก ยำ หรืออาหารที่มีรสเผ็ด ใช้ผักกับเนื้อหมู และใช้ส้า เรียกว่า ส้าบ่าแตง (ส้าแตงกวา) นิยมใช้แตงผลใหญ่ เช่น แตงขี้ควาย แตงซั้ง
        
ใบ รสเฝื่อน ทำให้เอาเจียน แก้ท้องเฟ้อ ผล รสเย็น ระบาย บำรุงธาตุ ขับปัสสาวะ ตำพอกแก้อักเสบ ทำให้ผิวอ่อนนุ่ม นำคั้นจากผล ใช้ลอกฝ้า แก้นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ผลแก่ คว้านเอาเมล็ดออก ใส่สารส้มแทน ย่างไฟให้สุก คั้นเอาน้ำกิน ขับนิ่ว แก้ขัดเบา เมล็ด รสมันเย็น ขับปัสสาวะ บำรุงร่างกาย แต่แสลงกับโรคปวดตามข้อ ราก รสเย็น ขับปัสสาวะ ป้องกันการขาดวิตามินบี 1 (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 218)
 
 
 
            

ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์. (2547). สารานุกรมผัก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: แสง
แดด
.

รังสรรค์ จันต๊ะ และรัตนา พรหมพิชัย. (2542). แตง, บ่า. ใน สารานุกรม
วัฒนธรรมไทยภาคเหนือ
(เล่ม
5, หน้า 2577-2578). กรุงเทพฯ:
มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์
.

วุฒิ วุฒิธรรมเวช. (2540). สารานุกรมสมุนไพร: รวมหลักเภสัชกรรมไทย.
กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์
.