มะแขว่น


 
            กำจัด กำจัดต้น หมากแคน ลูกระมาศ หมากมาด (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 115) มะแขว่น บ่าแขว่น มะแข่น บ่าแข่น (ภาคเหนือ) พริกหอม (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2548, 185)
 
            ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้น ขนาดสูง 10-15 เมตร มีกิ่งก้านสาขา ใบ ใบเดี่ยวรูปไข่ ดอก ออกเป็นช่อ ผล กลมเท่าเม็ดพริกไทย เปลือกสีแดง ออกเป็นช่อ เมื่อแก่แตกออก มีเมล็ดเล็กลมขนาดเล็ก สีดำ ผิวมัน ขยายพันธุ์ โดยใช้เมล็ด (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2548, 185)
 
        
            ไม่มีข้อมูลสารอาหาร ข้อมูลทางอาหารสำหรับชาวล้านนา ใบอ่อน รับประทานเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริกปลาร้า ลาบ หลู้ ผลแห้ง เป็นเครื่องปรุงพริกลาบ หลู้ ยำต่างๆ เช่น ยำจิ๊นไก่ ยำกบ ยำเห็ดฟาง ผลดิบ หรือผลแห้ง ใช้ทุบ หรือตำละเอียดพอประมาณ ใส่ปรุงรสแกงผักกาด ผลสด ใส่แกงผักกาดจะหอมกว่าผลแห้ง (ประธาน นันไชยศิลป์, 2550, สัมภาษณ์; สิรวิชญ์ จำรัส, 2550, สัมภาษณ์)
        
ใบ รสเผ็ด แก้รำมะนาด แก้ปวดฟัน
เมล็ด รสเผ็ดสุขุมหอม แก้ลมวิงเวียน บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ ขับลมในลำไส้ ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ถอนพิษฟกบวม แก้หนองใน
ราก, เนื้อไม้ รสร้อนขื่น ขับลมในลำไส้ แก้ลมเบื้องบน หน้ามือ ตาลาย วิงเวียน ขับระดู (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 115)
 
            ช่วงปลายฤดูฝน
 
ผลมะแขว่น จะคล้ายกับผลมะขวงมาก แต่มะแขว่น จะมีกลิ่นหอมกว่ามะขวง
 
            

กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม. (2548). ผักพื้นบ้านภาคเหนือ. เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ บรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: ศูนย์พัฒนาตำราการแพทย์แผนไทย.

ประธาน นันไชยศิลป์. (2550). สัมภาษณ์. 3 กรกฎาคม.

วุฒิ วุฒิธรรมเวช. (2540). สารานุกรมสมุนไพร: รวมหลักเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สิรวิชญ์ จำรัส. (2550). สัมภาษณ์. 18 มิถุนายน.