ส้มโอ


 
            บ่าโอ มะโอ (ภาคเหนือ) ลีมาบาลี (มลายู-ยะลา) สังอู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) โกร้ยตะลอง (เขมร) อิ๋ว (จีน) (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2550)
 
            ต้น ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 10 เมตร ลำต้นแข็งแรงเปลือกสีน้ำตาลอมเหลือง เรือนยอดไม่แน่นอนแตกกิ่งมาก กิ่งของส้มโอมักจะไม่ตรง เนื่องจากจะแตกแขนงในช่วงสั้น ใบ ใบเดี่ยวมีค่อนข้างขนาดใหญ่รูปมนรี ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย พื้นใบสีเขียวและมัน ตรงก้านใบมีส่วนที่แผ่ออกเป็นปีกรูปคล้ายหัว ขนาดของใบกว้างประมาณ 2.5-10 เซนติเมตร ยาว 10-15 เซนติเมตร ดอก ดอกเดี่ยวหรือออกเป็นกลุ่ม ออกดอกตามบริเวณง่ามใบหรือบริเวณปลายยอด เป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกสีขาว 5 กลีบ ปลายกลีบมน มีเกสร 20-25 อัน ผล เป็นชนิดเบอร์รี่หรือลูกกลมๆ โตและตรงหัวของผลจะนูนขึ้นเป็นกระจุก เปลือกผลมีต่อมน้ำมันกระจายอยู่ทั่วไปตามผิวผล ผลยาวประมาณ 5-7 นิ้ว เนื้อในสีขาว สีชมพูและสีครีม มีรสหวานหรือเปรี้ยว เมล็ดมีจำนวนมากสีน้ำตาลออกเหลือง (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2550)
 
        
            มีคาร์โบไฮเดรตไขมัน โปรตีน เส้นใย แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินซี ไนอาซิน ส้มโอ 100 กรัม ให้พลังงานแก่ร่างกาย 41 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย ไขมัน 0.4 กรัม คาร์โบไฮเดรต 8.8 กรัม โปรตีน 0.5 กรัม เส้นใย 0.7 กรัม แคลเซียม 9 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 21 มิลลิกรัม เหล็กมีน้อยมาก วิตามินเอ 26 ไมโครกรัม วิตามินบี 1 0.07 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.02 มิลลิกรัม วิตามินซี 60 มิลลิกรัม ไนอาซิน 0.4 มิลลิกรัม (ปรียา ไตรรัตน์ณรงค์, 2547, 210) ข้อมูลทางอาหาร เนื้อส้มโอ นำมาทำนำผลไม้ ดื่มแก้กระหาย นำมาผสมกับน้เชื่อม ทำส้มโอลอยแก้ว ทำยำส้มโอ ชาวล้านนา นิยมนำส้มโอมาทำอาหารประเภท เรียกว่าตำส้มโอ หรือตำบ่าโอ
        
ใบ แก้ท้องอืดแน่เฟ้อ ตำพอกแก้ปวดศรีษะ
ดอก ขับเสมหะ ขับลม
เปลือกลูก ขับเสมหะ แก้แน่จุกเสียด แก้ไส้เลือน ต้มอาบแก้คัน
ผิวเปลือก ปรุงยาหอม แก้ลมวิงเวียน หน้ามืดตาลาย แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ
เมล็ด แก้ปวดท้อง
เนื้อลูก แก้เสมหะ บำรุงโลหิต ทำให้ชุ่มคอ (ผักพื้นบ้าน อาหารไทย, 2548, 248)
(วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 424)
 
 
 
            

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2550). ผักพื้นบ้าน. ค้นวันที่ 10 มิถุนายน 2550 จากhttp://singburi.doae.go.th/acri

ปรียา ไตรรัตน์ณรงค์. (2547). คัมภีร์ แพทย์สมุนไพร ผลไม้ สมุนไพรและพืชผักสวนครัว. กรุงเทพฯ: One World.

วุฒิ วุฒิธรรมเวช. (2540). สารานุกรมสมุนไพร: รวมหลักเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.