มะเขือยาว


 
            มะเขือหำม้า (ภาคเหนือ)
 
            เป็นไม้เป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 0.5-1 เมตร ลำต้นแข็งแรง มีสีเขียวหรือสีม่วง มีขนนุ่มปกคลุม อาจมีหนามเล็กๆ ส่วนบนแตกกิ่งก้านสาขาหนาทึบ ใบออกสลับกันรูปร่างค่อนข้างกลม โคนใบเบี้ยว ปลายใบแหลม ริมขอบใบหยัก หรือเป็นคลื่นหลังใบ ใต้ท้องใบมีขนนุ่มปกคลุม ดอกออกเป็นช่อ หรือดอกเดี่ยว มีสีม่วง กลีบดอกมี 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ส่วนปลาย แยกจากกันเป็น 5 แฉก ปลายแหลม กลางดอกมีเกสรตัวผู้ 5 อัน และตัวเมีย 1 อัน อยู่ติดกับกลีบดอก ก้านเกสรและอับเกสรเป็นสีเหลือง ผลมีลักษณะกลมยาวมีสีเขียวอ่อน สีม่วงคล้ำ หรือเป็นสีขาว ผิวเปลือกจะเรียบเกลี้ยงเป็นมัน ตรงขั้วผลก็จะมีกลีบเลี้ยงสีเขียวติดอยู่ ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก ขนาดเล็กกลมแบน (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2542, 195) มะเขือยาวเขียว เป็นพันธุ์ที่แพร่หลายที่สุด มะเขือยาวม่วงมีมากในญี่ปุ่น (ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์, 2547, 53) ชาวล้านนาเรียกมะเขือยาวว่า บ่าเขือหำม้า เรียกมะเขือที่ผลสั้นเล็กกว่า บ่าเขือหำแพะ เรียกมะเขือที่มีผลสั้นปุ้ม ขนาดค่อนข้างกลมและใหญ่ว่า บ่าเขือปล้าว (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 866)
 
        
            มีวิตามินบี 1 โปรตีน แคลเซียม กรมอนามัยรายงานว่า มะเขือยาว 100 กรัม ให้พลังงานแก่ร่างกาย 26 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย ไขมัน 0.3 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4.9 กรัม โปรตีน 0.9 กรัม เส้นใย 0.9 กรัม แคลเซียม 19 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 44 มิลลิกรัม เหล็ก 2.6มิลลิกรัม วิตามินเอ 354 IU วิตามินบี 1 0.09 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 9.06 มิลลิกรัม และวิตามินซี 3 มิลลิกรัม ไม่มีไนอาซิน (มะปราง, 2548, 112) ข้อมูลทางอาหาร ผล ใช้ต้ม หรือเผาไฟ จิ้มน้ำพริก และยำมะเขือยาว ชุบไข่ทอด ผัดมะเขือยาว ผัดกับถั่วฝักยาว (ชาวล้านนาเรียก คั่วบ่าเขือบ่าถั่ว) เป็นส่วนผสมของแกงเขียวหวาน
        
รับประทานเป็นประจำ จะช่วยให้เส้นเลือดไม่เปราะ ป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคลักปิดลักเปิด มีสารต้านอนุมูลอิสระ (มะปราง, 2548, 112)
ลำต้นและราก แก้บิดเรื้อรัง อุจาระเป็นเลือด แผลเท้าเปื่อยอักเสบ ใบแก้ปัสสาวะขัด แก้โรคหนองใน พอกแผลบวมเป็นหนอง ผลแห้งทำเป็นยาเม็ดกินแก้ปวด แก้ตกเลือดในลำไส้ ขับเสมหะ ผลสด ใช้ตำแล้วพอกแผลอักเสบมีหนอง ขั้วผลแห้ง เผ้าเป็นเถ้าบดให้ละเอียด เป็นยาแก้ตกเลือดในลำไส้ (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2548, 183)
 
            ตลอดปี
 
 
            

กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม. (2542). ผักพื้นบ้านภาคกลาง. กัญจนา ดีวิเศษ บรรณาธิการ. นนทบุรี: โครงการพัฒนาตำรา สถาบันการแพทย์แผนไทย.

ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์. (2547). สารานุกรมผัก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: แสงแดด.

มะปราง. (2548). คุณค่าผักคืออาหารและยาอายุวัฒนะ. กรุงเทพฯ: ไพลิน.

รัตนา พรหมพิชัย. (2542). เขือ, บ่า. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ

(เล่ม 2, 866). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทย
พาณิชย์.