พริกชี้ฟ้า


 
            พริกเดือยไก่ พริกหนุ่ม พริกหลวง พริกมัน พริกแล้ง พริกใหญ่ (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2550)
 
            ต้น เป็นไม้พุ่มลำต้นเปราะหักง่าย อายุ 1-3 ปี สูง 50-100 ซม. ใบ เป็นใบเดี่ยวใบเรียวยาว ปลายใบแหลมฐานใบสอบ ขอบใบเรียบ ดอก เป็นดอกเดี่ยวชี้ขึ้นออกดอกตามตาใบส่วนยอด ออกดอกตลอดปี ผล ยาวขนาดเล็ก ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่สีแดงหนึ่งผลมีหลายเมล็ด เมล็ด กลมแบนไส้กลางสีเหลืองอ่อน (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2550)
 
        
            คาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินซี (ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง, 2550, 64)
        
ผล รสเผ็ดร้อน แก้ลมจุกเสียด แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้แน่น ขับผายลม เจริญอาหาร ดองสุรา บดผสมวาสลินใช้ทาถูนวด แก้เคล็ดขัดยอก ฟกช้ำดำเขียว แก้ปวดตามข้อ ทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 313; ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง, 2550, 64)
จึงสามารถแก้ปวดเมื่อยได้ แก้อาการตะคริว ยับยั้งจุลินทรีย์บางชนิดได้ พริกมีแคปไซซิน เป็นตัวจับสารก่อมะเร็ง (ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง, 2550, 64)
ต้น รสเผ็ด สุมเป็นถ่านแช่น้ำดื่ม รสเย็น ขับปัสสาวะ แก้กระษัย แก้เส้นเอ็นพิการ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 313)
 
 
 
            

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2550). ผักพื้นบ้าน. ค้นวันที่ 10 มิถุนายน 2550 จากhttp://singburi.doae.go.th/acri

ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง. (2550). กรุงเทพฯ: บริษัท ฟ้าอภัย จำกัด.

วุฒิ วุฒิธรรมเวช. (2540). สารานุกรมสมุนไพร: รวมหลักเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.