พริกขี้หนู


 
            พริกขี้หนู พริกนก พริกแจว พริกแต้ (ภาคเหนือ) (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2542, 163; วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 313) พริกแด้ พริกน้ำเมี่ยง พริกก้นปิ้น (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 313)
 
            ต้น เป็นไม้พุ่มเล็กอายุ 1-3 ปี แตกกิ่งก้านสาขามาก ลำต้นตั้งตรงสูง 50-120 เซนติเมตร กิ่งอ่อนสีเขียวเมื่อแก่เป็นสีน้ำตาลอ่อน ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับรูปร่างกลมรีหรือรูปไข่ โคนใบสอบปลายใบแหลม ขอบใบและแผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมันวาว ใบกว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร ดอก ออกเป็นกลุ่ม 2-3 ดอก ตามง่ามกิ่งหรือที่ซอกใบ ดอกชี้ขึ้น ก้านดอกตรงหรือโค้งกลีบดอกสีขาวหรือสีเขียวอ่อนและสีม่วง จำนวน 5 กลีบ อับเกสรตัวผู้สีเทามี 1-10 อัน ล้อมรอบเกสรตัวตัวเมียรังไข่มี 1-2 ช่อง ผล เป็นฝักกว้าง 0.3-0.5 เซนติเมตร ยาว 2-3 เซนติเมตร ชี้ขึ้นฟ้าภายในมีเมล็ดเป็น 2-3 พู ผลอ่อนสีเขียวอ่อนเมื่อแก่มีสีส้มแดงหรือสีแดง เมล็ด กลมแบน ขนาดประมาณ 0.3 เซนติเมตร สีเหลืองอ่อน (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2542, 163)
 
        
            คาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินซี (ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง, 2550, 63)
        
ผล ช่วยเจริญอาหาร ขับลม แก้ตานซางในเด็ก กลากเกลื้อน แก้การบวม เคล็ด และปวดเมื่อย เพิ่มการไหลเวียนของเลือด ช่วยเร่งระบบสลายลิ่มเลือด ทำให้ทางเดินหายใจโล่ง สลายเมือกในปอด ป้องกันหลอดลมอักเสบและถุงลมโป่งพอง มีสารต้านแบคทีเรียและอนุมูลอิสระ ช่วงเร่งการสันดาป เร่งเมตาโบลิซึ่ม ช่วยใช้แคลอรี่ให้หมดไป ทำให้ลดน้ำหนัก ลดระดับไตรกลีเซอไรด์ คอเสลเตอรอล (ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง, 2550, 63)
 
            ฤดูฝน (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2542, 163)
 
 
            

กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม. (2542). ผักพื้นบ้านภาคกลาง. กัญจนา ดีวิเศษ บรรณาธิการ. นนทบุรี: โครงการพัฒนาตำรา สถาบันการแพทย์แผนไทย.

ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง. (2550). กรุงเทพฯ: บริษัท ฟ้าอภัย จำกัด.

วุฒิ วุฒิธรรมเวช. (2540). สารานุกรมสมุนไพร: รวมหลักเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.