ผักเฮือด


 
            ผักฮี้ (ภาคเหนือ) ผักเลือด ผักเลียบ (ภาคกลาง,ใต้) (ผักพื้นบ้าน อาหารไทย, 2548, 106) ผักเฮือด ผักฮี้ ผักเฮือก (เอกสารโบราณล้านนา) (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 5746)
 
            ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางและเป็นไม้ผลัดใบ ลำต้นสูง 8-15 เมตร ใบ เป็นใบเดี่ยวออกแบบสลับสีเขียว รูปรีหรือรูปไข่ปนขอบขนาน ปลายใบมนทู่ ขอบใบเรียบ ผิวใบมันกว้าง 6-7 ซม. ยาว 7-18 ซม. มีหูใบขนาดเล็ก ใบอ่อนสีชมพูหรือชมพูอมเขียว ใบอ่อนแลดูใสแวววาวไปทั้งต้นและมีปลอกหุ้มใบในระยะเริ่มแรก พอเจริญเต็มที่ใบอ่อนกลายเป็นใบแก่ ดอก เป็นช่อเส้นผ่าศูนย์กลางของดอก 4-6 มม. ก้านใบสั้นออกจากซอกใบ ผล ผลอ่อนสีเขียวและเปลี่ยนเป็นสีชมพูแดงม่วงหรือดำ เมื่อแก่เต็มที่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2550)
 
        
            แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ (ผักพื้นบ้าน อาหารไทย, 2548, 106) ข้อมูลทางอาหารสำหรับชาวล้านนา ใช้ใบและยอดอ่อนที่ยังไม่คลี่ใช้เป็นผักแกงกับเนื้อหมูหรือเนื้อไก่ มีรสฝาดอมเปรี้ยว หรือนำไปนึ่งจิ้มน้ำพริก หรือใช้ยำ เรียกว่า ยำผักเฮือด (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 5747; สิรวิชญ์ จำรัส, 2550, สัมภาษณ์)
        
เปลือกและลำต้นต้มกินแก้ปวดท้อง มีข้อห้ามสำหรับหญิงแม่ลูกอ่อนที่มีอาหารไอ ห้ามกินเพราะจะทำให้อาการกำเริบ (ผักพื้นบ้าน อาหารไทย, 2548, 106)

ข้อบ่งใช้ทางเภสัชกรรมล้านนา เป็นส่วนผสมของตำรับยาขางแกมสาน (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 5747)
 
 
 
            

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2550). ผักพื้นบ้าน. ค้นวันที่ 10 มิถุนายน 2550 จากhttp://singburi.doae.go.th/acri

ผักพื้นบ้าน อาหารไทย. (2548). กรุงเทพฯ: แสงแดด.

รัตนา พรหมพิชัย. (2542). เรือด, ผัก. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ (เล่ม 11, 5746-5747). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

สิรวิชญ์ จำรัส. (2550). สัมภาษณ์. 18 มิถุนายน.