เห็ดตับเต่า


 
            เห็ดห้า (ภาคเหนือ) เพราะมักขึ้นบริเวณพุ่มต้นหว้า ซึ่งชาวเหนือเรียกว่า ต้นห้า (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2548, 241) เห็ดผึ้ง เห็ดน้ำผึ้ง (ภาคอีสาน) (ผักพื้นบ้าน อาหารไทย, 2548, 174) เห็ดกลางดง (ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์, 2547, 202)
 
            หมวกเห็ด เป็นรูปกระทะคว่ำ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12-30 เซนติเมตร ดอกอ่อน มีขนละเอียดคล้ายกำมะหยี่สีน้ำตาล เมื่อบานเต็มที่ ตรงกลางหมวกเว้าเล็กน้อย ผิวสีน้ำตาลเข้มอมเหลืองอ่อน ปริแตกเป็นแห่งๆ สีเหลือง ปากรูเชื่อมติดเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อบานเต็มที่ รูจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมเขียวหม่นและเขียวหม่นอมน้ำตาล เนื้อในเห็ด เมื่อถูกตัดหรือถูกอากาศ จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินอมเขียว โดยเฉพาะบริเวณเหนือรูขึ้นไป จนเกือบถึงผิวหมวก และบริเวณก้านตอนบน ก้าน อวบใหญ่สีน้ำตาลอมเหลืองยาว 4-8 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 3-4 เซนติเมตร โคนก้านโป่งเป็นกระเปาะ บางส่วนนูนและเว้าเป็นร่องล฿ก ผิวมันละเอียดคล้ายกำมะหยี่สีน้ำตาลเช่นเดียวกับหมวก สปอร์ ค่นอข้างกลม มีสีน้ำตาลอมเขียวอ่อน ขนาด 5.2-6.2 x 6.6-9.4 ไมโครเมตร ผิวเรียบ ผนังบาง การขยายพันธุ์ ใช้สปอร์ ขึ้นเองตามธรรมชาติ ชอบขึ้นตามพื้นที่ที่มีความชื้นเหมาะสมตามป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง (ป่าแพะ) (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2548, 241)
 
        
            เห็ดตับเต่า 100 กรัม มีเหล็ก 19.9 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 399 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 15 มิลลิกรัม (ผักพื้นบ้าน อาหารไทย, 2548, 174) ข้อมูลทางอาหาร ชาวล้านนานิยมนำมาปรุงเป็นแกงเห็ดตับเต่า หรือแกงเห็ดห้า นิยมใส่ยอดมะขามอ่อน หรือยอดมะม่าด้วย (ดีกิจ กัณทะกาลังค์, 2550, สัมภาษณ์)
        
ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง กระจายโลหิต ดับพิษร้อนภายใน (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 493; กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2548, 241)
 
            ช่วงฤดูฝน เดือนมิถุนายนจนถึงสิ้นฤดูฝน (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2548, 241)
 
 
            

กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม. (2548). ผักพื้นบ้านภาคเหนือ. เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ บรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: ศูนย์พัฒนาตำราการแพทย์แผนไทย.

ดีกิจ กัณทะกาลังค์. (2550). สัมภาษณ์. 20 มิถุนายน.

ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์. (2547). สารานุกรมผัก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: แสงแดด.

ผักพื้นบ้าน อาหารไทย. (2548). กรุงเทพฯ: แสงแดด.

วุฒิ วุฒิธรรมเวช. (2540). สารานุกรมสมุนไพร: รวมหลักเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.