ขมิ้น


 
            ขมิ้นแกง ขมิ้นหยวก ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้มิ้น หมิ้น (ภาคใต้) ตายอ (กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร) สะยอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) (จีรเดช มโนสร้อย และอรัญญา มโนสร้อย, 2537, 69) พญาว่าน ขมิ้นทอง ขมิ้นดี ขมิ้นป่า ขมิ้นไข (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 124)
 
            ขมิ้น หรือขมิ้นชัน เป็นพืชจำพวกเหง้า สูง 50-70 เซนติเมตร ใบรูปหอกปลายแหลม กาบใบแคบมีร่องเล็กๆ สีเขียวอมน้ำตาล ดอกช่อใหญ่ พุ่งมาจากเหง้าใต้ดิน สีเขียวแกมขาว ปลายช่อสีชมพูอ่อน ยอดเกสรตัวเมียสีเหลือง เนื้อในเหง้ามีสีส้ม กลิ่นฉุน เมื่อถึงฤดูฝนใบจะงอกงาม แล้วแห้งไปในหน้าแล้ง เกิดในภูมิภาคเขตร้อนทั่วไป ใช้แต่งสีในแกงกะหรี่ เนย เนยแข็ง ผักดอง มัสตาร์ด เป็นต้น ทำสีย้อมผ้า เครื่องสำอาง ใช้เป็นยากันบูดได้เพราะมี curcumin (วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 124)
 
        
            คาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินบี วิตามินบี 2 และไนอาซิน (ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง, 2550, 35) ชาวล้านนา นิยมใช้เหง้าของขมิ้นสดเป็นส่วนผสมของเครื่องแกง เพื่อดับกลิ่นคาว โดยเฉพาะอาหารจพวกปลา ใช้ใบในการห่ออาหารประเภทแอ็บ
        
แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ รักษาโรคกระเพาะอาหาร รักษา อาการนิ่วในถุงน้ำดี มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส บรรเทาอาการแพ้ ช่วยสมานแผลและบำรุงผิว มีสารต้านอนุมูลอิสระ
(ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง, 2550, 35)

ข้อบ่งใช้ทางเภสัชกรรมล้านนา เป็นองค์ประกอบในยารักษาโรคผิวหนังกลากเกลื้อน (จีรเดช มโนสร้อย และอรัญญา มโนสร้อย, 2537, 69) เมื่อยุงหรือแมลงสัตว์กัดต่อยเด็กเล็ก มักใช้ขมิ้นสดทาที่ผิวหนังบริเวณที่ถูกกัด ช่วยลดการอักเสบบวมแดง และใช้เป็นส่วนประกอบของยาลูกอ่อนบวมผู้แก่บวม เกี่ยวขึ้นหัว ยานิ่วทั้งมวล ยาจาม ยาลมเกี่ยว ยาฝีย่ำ เป็นต้น (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 857)

ข้อบ่งใช้ทางการแพทย์แผนปัจจุบัน-แผนไทย เหง้าขมิ้นมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ลดการอักเสบ มีฤทธิ์ในการขับน้ำดี น้ำมันหอมระเหยในขมิ้น มีสรรพคุณรักษาอาการปวดท้อง ท้องอืด แน่น จุกเสียด (จีรเดช มโนสร้อย และอรัญญา มโนสร้อย, 2537, 69)

 
            ตลอดปี
 
 
            

จีรเดช มโนสร้อย และอรัญญา มโนสร้อย. (2537). เภสัชกรรมล้านนา: ตำรับยาสมุนไพรล้านนา. กรุงเทพฯ : สถาบันการแพทย์แผนไทย.

ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง.(2550). กรุงเทพฯ: บริษัท ฟ้าอภัย จำกัด.

รัตนา พรหมพิชัย. (2542). เข้าหมิ้นหัว. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ (เล่ม 2, หน้า 856-857). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

วุฒิ วุฒิธรรมเวช. (2540). สารานุกรมสมุนไพร: รวมหลักเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.