ถั่วงอก


 
            ถั่วเงาะ ถั่วเพาะ เงาะบ่าถิม (ทรงพันธ์ วรรณมาศ, 2542, 2634)
 
            ถั่วงอก ทางภาคเหนือ นิยมเพาะจากการนำเมล็ดถั่วเขียวไปแช่น้ำประมาณ ๓ – ๔ ชั่วโมง เมื่อแช่เสร็จแล้วนำเอาไปเพาะในปี๊บ ซึ่งเจาะฝาหัวท้ายออกแล้วนำเอาทราย หรือขี้เถ้าแกลบ (ไม่นิยมแกลบเพราะทำให้สีของถั่วเพาะออกมาไม่สวย) ใส่ในปี๊บ ใส่ทรายเป็นชั้นๆ ชั้นแรกใส่ทรายมากหน่อย คือใส่สูงขึ้นมาประมาณ ๕ เซนติเมตร โรยเมล็ดถั่วที่แช่แล้วให้ทั่ว แล้วเอาทรายใส่อีกชั้นหนึ่งหนาประมาณ ๑ เซนติเมตร แล้วนำเอาเมล็ดโรยอีก ทำเป็นชั้นๆ เช่นนี้ไปเรื่อยๆ ให้เหลือปากปี๊บไว้ประมาณ ๕ เซนติเมตร รดน้ำให้เปียก ปิดผาด้วยกระสอบเก่าๆ หรืออะไรก็ได้ รดน้ำทุกวัน วันละครั้งตอนเช้า ในฤดูร้อนก็ทิ้งไว้ประมาณ ๒ – ๓ วันก็เอาออกมาล้างได้ แต่ถ้าฤดูหนาวอาจประมาณ ๖ – ๗ วันถึงจะเอาออกมาล้างได้ เป็นถั่วงอก นำไปปรุงอาหาร หรือรับประทานสดๆ ได้ (ทรงพันธ์ วรรณมาศ, 2542, 2634)
 
        
            เป็นแหล่งโปรตีนชั้นดีที่ย่อยแล้ว มีวิตามินซีสูง และวิตามินบี 12 (ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์, 2547, 121)
        
มีแคลอรีต่ำ มีวิตามินสูง และเส้นใยทำให้ช่วยป้องกันมะเร็งโรคหัวใจและโรคติดเชื้อ และป้องกันการเกิดมะเร็งที่ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
 
            ตลอดปี
 
 
            

ทรงพันธ์ วรรณมาศ. ถั่วงอก. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ (เล่ม5, หน้า 2635). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์. (2547). สารานุกรมผัก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:แสงแดด.