ผักชี


 
            หอมป้อม ผักป้อม (ภาคเหนือ) (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 7531) ผักหอมน้อย (ภาคอีสาน) ผักหอม (นครพนม) (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2550)
 
            เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก ออกดอกออกผลภายในหนึ่งปีแล้วต้นจะตาย ต้นสูงประมาณ 20-30 ซม. มีรากแก้วสั้น ๆ มีรากฝอยมาก ลำต้นตรงภายในกลวง สูง 20-60 ซม. ก้านเล็ก ใบเล็ก ๆ เป็นหยักลึก ต้นแก่จะออกดอก และใบจะเรียวเล็ก ออกดอกเป็นช่อคล้ายร่ม ออกที่ยอด ดอกย่อยสีขาว ก้านช่อดอกยาว ผลรูปกลมขนาด 2-3 มิลลิเมตร บ้างเรียกผักชีว่า “ลูกผักชี” ทางล้านนามักเรียก แก่นหอมป้อม หรือ แก่นผักป้อม เมล็ดแก่จะมีสีเหลืองอมน้ำตาล แตกเป็น 2 ซีกกได้ ทุกส่วนมีกลิ่นหอม มีหอมป้อมอีกชนิดหนึ่ง มีใบใหญ่กว่า ก้านอวบโต แต่กลิ่นไม่ฉุน บ้างเรียกว่า หอมป้อมเป้อ(รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 7531)
 
        
            ไม่มีข้อมูลสารอาหาร สำหรับข้อมูลทางอาหารนั้น ทั้งต้นใช้ประกอบอาการ แต่งกลิ่นอาหาร และใช้โรยหน้าอาหารให้สวยงาม เมล็ดใช้เป็นเครื่องเทศ เช่น ใช้เป็นส่วนผสมพริกลาบ หรือน้ำพริกลาบ
        
ช่วยขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ ต้นสดตำพอกขมับแก้ปวดศีรษะ แก้ผื่นคันแดง หรือใช้ต้มอาบแก้หัด เมล็ดต้มน้ำรับประทานแก้ปวดท้อง อมบ้วนปากแก้ปวดฟัน ในล้านนาพบว่ามีการใช้หอป้อมในตำรับยาสันนิบาตฝีเครือ และยาเหนียง ( ยาแก้โรคคอพอก ) (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 7531)

 
            ตลอดปี
 
 
            

กรมส่งเสริมการเกษตร. ผักชี ค้นวันที่ 12 กรกฎาคม 2550 จาก http://www.doae.go.th/Library/html/detail/pukchee/index.htm

รัตนา พรหมพิชัย. (2542). หอมป้อม. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ (เล่ม 14, หน้า 7531). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.