วัฒนธรรมการรับประทานอาหารของชาวล้านนา

             ในการจัดสำรับอาหาร นอกจากจะใช้ขันโตกเป็นภาชนะสำหรับจัดตั้งสำรับกับข้าวไว้รับประทานกันตามปกติในชีวิตประจำวันแล้ว  ยังนิยมใช้รับแขกอีกด้วย และกลายมาเป็นประเพณีนิยมในการเลี้ยงขันโตกในปัจจุบัน ที่เรียกว่า ขันโตกดินเนอร์  ซึ่งอาจารย์ไกรศรีนิมมานเหมินท์ คหบดีที่ได้รับการยกย่องเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมของภาคเหนือ (ปัจจุบันถึงแก่กรรมแล้ว)  เป็นผู้ริเริ่มการจัดขันโตกดินเนอร์  โดยรือฟื้นการจัดอาหารแบบขันโตก มาเลี้ยงรับรองแขกในตอนเย็น  โดยเริ่มจัดเมื่อ พ.ศ. 2449  เพื่อเลี้ยงส่ง ฯพณฯ สัญญา ธรรมศักดิ์ หัวหน้าผู้พิพากษาภาค 5 ในสมัยนั้น ณ บ้านพักของอาจารย์ไกรศรี ที่ถนนฟ้าฮ่าม จังหวัดเชียงใหม่ นับแต่นั้นยเป็นต้นมา งานเลี้ยงขันโตกดินเนอร์ จึงกลายมาเป็นประเพณีนิยมแพร่หลายมาจนปัจจุบัน (เสาวภา ศักยพันธ์ และยุพยง วิจิตรศิลป์, 2538, 5)          

             อาหารที่เป็นสำรับสำหรับการจัดขันโตก  ทิ่นิยมกัน เช่น  ลาบ แกงอ่อม ไส้อั่ว แคบหมู แกงฮังเล น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง พร้อมผักจิ้ม อาหารหวาน  เช่น ข้าวแต๋น ขนมจ็อก






มณี พยอมยงค์.  (2548).  ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย.  พิมพ์ครั้งที่ 5.  เชียงใหม่: ส. ทรัพย์การพิมพ์.
ประหยัด  สายวิเชียร.  (2547).  อาหาร วัฒนธรรม และสุขภาพ.  เชียงใหม่: นพบุรีการพิมพ์.
เสาวภา ศักยพันธ์ และยุพยง วิจิตรศิลป์.  (2538).  อาหารพื้นบ้านภาคเหนือ.  เชียงใหม่: ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม
           สถาบันราชภัฏเชียงใหม่.