Find Picture of      By     
Thai Version English Version
หน้าแรก
       
 
ดูภาพตามหมวดหมู่ ความเป็นมา บุญเสริม สาตราภัย อดีตล้านนาจากภาพถ่าย ผู้มีอุปการะคุณ เพิ่มรูปของคุณ ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
  
  เจ้าหญิงแห่งนครลำพูน
กลับไปหน้าแสดงรายการภาพ  

คลิกที่รูปด้านบนเพื่อดูรูปขนาดใหญ่



เจ้าหญิงแห่งนครลำพูน
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ เชียงใหม่
เจ้าหญิงแขกแก้ว; เจ้าหญิงลำเจียก; เจ้าหญิงขานแก้ว
แขกแก้ว ณ ลำพูน, เจ้า; ลำเจียก ณ ลำพูน, เจ้า; ขานแก้ว ณ ลำพูน, เจ้า

เจ้าหญิงแห่งนครลำพูน

������������ภาพถ่ายเจ้าหญิงแขกแก้ว เจ้าหญิงลำเจียก เจ้าหญิงขานแก้ว เจ้าหญิงแขกแก้ว เป็นชายาองค์ที่ 2 ของเจ้าจักรคำ เจ้าหญิงขานแก้วเป็นชายาองค์แรก ส่วนเจ้าหญิงลำเจียกเป็นบุตรีของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์กับเข้าขานแก้วชายาองค์แรก
������������เจ้าหญิงลำเจียก ณ ลำพูน เป็นธิดาองค์โตของพลตรีและมหาอำมาตย์โท เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ 10 (องค์สุดท้าย) กับเจ้าหญิงขานแก้ว ธิดาของเจ้าบุรีรัตน์ (เจ้าน้อยพรหมเทพ) กับ เจ้าสุนา ณ ลำพูน เจ้าหญิงลำเจียก สูติเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442 ที่คุ้มหลวงเก่า ถนนวังขวา จังหวัดลำพูน มีเจ้าพี่ เจ้าน้อง ดังนี้
������������1. เจ้าหญิงลำเจียก ณ ลำพูน
������������2. เจ้าหญิงวรรณรา ณ ลำพูน
������������3. เจ้าพงศ์ธาดา ณ ลำพูน
������������4. เจ้ารัฐธาทร ณ ลำพูน
������������5. เจ้าหญิงประกายคำ ทองใหญ่ ณ อยุธยา
������������6. เจ้าหญิงสุริยา ณ ลำพูน
������������7. เจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน
������������8. เจ้าพัฒนา ณ ลำพูน
������������เมื่อเยาว์วัยได้เข้าศึกษาในโรงเรียนวิทยานิคมในจังหวัดลำพูน เจ้าหญิงลำเจียกเป็นผู้ที่มีความสามารถอย่างยอดเยี่ยมในการทอผ้ายก ซึ่งแม้ในปัจจุบันนี้ก็ยังหาผู้ที่มีความสามารถทัดเทียมได้ยาก เพราะท่านมีพรพิเศษในการประดิษฐ์ลวดลายได้อย่างประณีตงดงาม และแปลกพิสดารกว่าผู้อื่น ลวดลายสวยงามอันเกิดจากสองของท่านนี้ได้ตกอยู่กับบรรดาญาติ และพรรคพวกของท่านที่ทำอาชีพแนวเดียวกันจนกระทั่งทุกวันนี้ ชื่อเสียงของท่านจึงเป็นที่เลื่องลือ และยอมรับนับถือกันเรื่อยมา
������������หลังจากที่ได้สมรสกับหม่อมเจ้าเกียรติประวัติ เกษมสันต์ โอรสของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ และเป็นพระนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อ พ.ศ. 2472 และมีธิดา 1 คน คือ ม.ร.ว. หญิง ภาณีพิจิตร ชุณหะมาน หลายปีต่อมาเจ้าหญิงลำเจียกได้กลับไปอยู่ยังจังหวัดลำพูนบ้านเกิด และได้ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมทอผ้าขึ้นอีกครั้งหนึ่ง และได้ประกอบอาชีพส่วนตัวนี้เรื่อยมาจนถึงบั้นปลายของชีวิต
������������เจ้าหญิงลำเจียกเป็นผู้ที่ฝักใฝ่ในพระบวรพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ได้มีศรัทธาอุปสมบทพระภิกษุ สามเณร และทำบุญกุศลเสมอเป็นเนืองนิตย์ มีใจเมตตากรุณา โอบอ้อมอารี จนปรากฏว่าเป็นที่เคารพรักใคร่ของบุคคลทั่วไป
������������เจ้าหญิงลำเจียกเริ่มป่วยด้วยโรคความดันสูงมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2495 ครั้นถึงปี พ.ศ. 2501 เส้นโลหิตฝอยแตกจนกลายเป็นอัมพาต ตลอดเวลาได้รับการรักษาจากแพทยือย่างใกล้ชิด แต่อาการยังคงทรงอยู่เรื่อยมา จนในที่สุดได้ถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2503 สิริรวมอายุได้ 61 ปี
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักหอสมุด
เชียงใหม่
ntic@lib.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , ผู้ให้ทุนสนับสนุน
นเรนทร์ ปัญญาภู, ผู้รวบรวมข้อมูล
-
image/jpeg(.jpeg .jpe .jpg)
1 ภาพ; ขาวดำ; 5x7 นิ้ว
HLP-LP-NR019
© ห้องฮูปลำพูน
ท่านอาจจะบันทึกหรือพิมพ์รูปภาพเพื่อการวิจัยและการศึกษาค้นคว้า ถ้าท่านต้องการใช้สำหรับวัตถุประสงค์อื่น ท่านต้องติดต่อสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อขออนุญาตใช้
 
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
เว็บไซต์และฐานข้อมูลภาพล้านนาในอดีต โดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง

     
     
  Copyright © 2008 Northern Thai Information Center (NTIC), Chiang Mai University. All Rights Reserved.
239 Huay Kaew Rd., Mueang District , Chiang Mai, Thailand 50200
Tel. 0 5394 4514, 0 5394 4517
ntic@lib.cmu.ac.th
 
/* */