Find Picture of      By     
Thai Version English Version
หน้าแรก
       
 
ดูภาพตามหมวดหมู่ ความเป็นมา บุญเสริม สาตราภัย อดีตล้านนาจากภาพถ่าย ผู้มีอุปการะคุณ เพิ่มรูปของคุณ ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
  
  พิธีวางศิลาฤกษ์อาคารคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยศาสตราจารย์นายแพทย์บุญสม มาร์ติน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๑๕
กลับไปหน้าแสดงรายการภาพ  

คลิกที่รูปด้านบนเพื่อดูรูปขนาดใหญ่



พิธีวางศิลาฤกษ์อาคารคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยศาสตราจารย์นายแพทย์บุญสม มาร์ติน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๑๕
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ เชียงใหม่
บุญสม มาร์ติน; อธิการบดี; พิธีวางศิลาฤกษ์; คณะวิศวกรรมศาสตร์; มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-

ประวัติคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
            ประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษาอันเกิดจากการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นภายในประเทศ การพัฒนาดังกล่าวทำให้สังคมเพิ่มจำนวนความต้องการวิศวกรที่จะมาปฏิบัติงานในด้านงานรากฐาน งานสำรวจ งานก่อสร้างต่างๆ อีกทั้งงานทางด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ ไฟฟ้า การอุตสาหกรรม และการเหมืองแร่ ด้วยเหตุผลดังกล่าว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จึงได้กำหนดให้มีการจัดและอำนวยการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ขึ้น ตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๐๗ โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลให้กำหนดแผนการดำเนินงานไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๒ (พ.ศ.๒๕๑๐-๒๕๑๔) และในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ครั้งที่ ๑/๒๕๑๑ เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๑ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการจัดตั้ง โครงการคณะวิศวกรรมศาสตร์เพื่อเปิดสอนในปีการศึกษา ๒๕๑๒ ทั้งนี้ ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะผลิตวิศวกรรมให้เพียงพอกับความต้องการของประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ และด้วยหลักการที่มีประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้
            ๑.เพื่อให้มีการพัฒนาและปรับปรุงการขยายตัวตามความเจริญของเมืองในภาคเหนือ จึงควรให้มีการกระจายการศึกษาในสาขาวิชานี้สู่ภูมิภาค เพื่อมิให้แออัดเฉพาะกรุงเทพมหานคร
            ๒.เพื่อให้ผู้มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคเหนือ มีโอกาสได้พัฒนาบ้านเมืองให้มีระดับและมาตรฐานเดียวกันกับภาคกลาง และภาคอื่นๆ ในประเทศ
            ๓.เพื่อให้ผู้มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคเหนือ ได้มีโอกาสศึกษาในสาขาวิชานี้ โดยเสียค่าใช้จ่ายต่ำกว่าที่จะต้องไปศึกษาในกรุงเทพมหานคร
            ๔.การศึกษาในระดับมัธยมศึกษาของภาคเหนือ อยู่ในระดับสูงพอสำหรับการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยได้
            ๕.ได้มีการจัดการศึกษาช่างระดับฝีมือและช่างเทคนิคในภาคเหนือเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว การพัฒนาและเพิ่มจำนวนวิศวกรให้สมดุลกันกับช่างฝีมือ และช่างเทคนิคเพื่อให้การพัฒนาการศึกษาภาคเหนือประสานในทุกระดับ จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
            ๖.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาฟิสิกส์ เคมี คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ อันเป็นวิชาพื้นฐานของสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์แล้ว ดังนั้น การเปิดสอนสาขาวิศวกรรมศาสตร์ จึงเป็นการประหยัดและมีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง
            ๗.ประสบการณ์ต่างๆ ที่นักศึกษาได้รับจากการเรียนในสถาบันอุดมศึกษาในภาคเหนือ สามารถสร้างความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาภาคเหนือได้ดีกว่า
            มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ดำเนินการเพื่อการจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นการภายในตั้งแต่สมัยที่ศาสตราจารย์ ดร.บัวเรศ คำทอง เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยได้รับความร่วมมือและประสานงานโดยใกล้ชิดกับ ศาสตราจารย์ ดร.อรุณ สรเทศน์ (คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในขณะนั้น แต่ต่อมาท่านได้ดำรงตำแหน่งเป็นอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) พร้อมทีมงาน ได้เข้ามาช่วยดำเนินการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งแต่เริ่มต้นในหลายๆ ด้าน
            ในการจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศาสตราจารย์ ดร.อรุณ สรเทศน์มีส่วนเป็นอย่างมากในการวางแผน ก่อสร้างอาคารต่างๆ ซึ่งเป็นงานทางธุรการ ส่วนทางด้านวิชาการท่านได้ช่วยในการร่างหลักสูตร จัดหาอุปกรณ์ละตำรา และที่สำคัญอย่างยิ่งคือการจัดหาอาจารย์ และผู้ทรงคุณวุฒิในการเรียนการสอนของนักศึกษา
            เมื่อเริ่มเปิดดำเนินการ ในวันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๓ ได้เปิดสอนในสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ขณะนั้นยังไม่ได้เรียกว่าภาควิชาวิศวกรรมโยธาและเพิ่งได้รับการอนุมัติให้เปลี่ยนเป็นสถานะภาพมาเป็นดังกล่าวในภายหลัง ดังนั้น วันถือกำเนิดของภาควิชาวิศวกรรมโยธา เป็นวันเดียวกับวันถือกำเนิดของคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยใช้อาคารหอพักชายอาคาร ๑ เดิม ชั้นล่างจำนวน ๓ ห้อง ทางด้านทิศเหนือติดต่อกับธนาคารไทยพานิชย์ เป็นอาคารธุรการ และอาคารเรียนชั่วคราว อาจารย์ผู้สอน เริ่มแรกมีเพียง ๓ ท่านคือ รศ.ดร. สุพจน์ ตียาภรณ์ เป็นอาจารย์ทางด้านวิศวกรรมโยธา ผศ.สุธรรม ยุตบุตร เป็นอาจารย์ทางด้านวิศวกรรมโยธา และรศ.ดร.ถวัลยวงค์ ไกรโรจนานันท์ โดยมี รศ.ดร.สุพจน์ ตียาภรณ์ เป็นคณบดีท่านแรก
            ปัจจุบัน คณะวิศวกรรมศาสตร์มีการเปิดสอนทั้งหมด ๗ ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ และภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
รายการอ้างอิง
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (๒๕๓๓). ครบรอบ ๒๕ ปี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
            เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะวิศวกรรมศาสตร์. (๒๕๕๕). คณะวิศวกรรมศาสตร์
            มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
. ค้นเมื่อ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๕,
            จาก eng.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักหอสมุด
เชียงใหม่
ntic@lib.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
เชียงใหม่
itsc@itsc.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ผู้ให้ทุนสนับสนุน
2515
image/jpeg(.jpeg .jpe .jpg)
CMU-CM-CMU159
© มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ท่านอาจจะบันทึกหรือพิมพ์รูปภาพเพื่อการวิจัยและการศึกษาค้นคว้า ถ้าท่านต้องการใช้สำหรับวัตถุประสงค์อื่น ท่านต้องติดต่อสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อขออนุญาตใช้
 
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
เว็บไซต์และฐานข้อมูลภาพล้านนาในอดีต โดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง

     
     
  Copyright © 2008 Northern Thai Information Center (NTIC), Chiang Mai University. All Rights Reserved.
239 Huay Kaew Rd., Mueang District , Chiang Mai, Thailand 50200
Tel. 0 5394 4514, 0 5394 4517
ntic@lib.cmu.ac.th
 
/* */