Find Picture of      By     
Thai Version English Version
หน้าแรก
       
 
ดูภาพตามหมวดหมู่ ความเป็นมา บุญเสริม สาตราภัย อดีตล้านนาจากภาพถ่าย ผู้มีอุปการะคุณ เพิ่มรูปของคุณ ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
  
  พิธีวางศิลาฤกษ์อาคารคณะวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๑๕
กลับไปหน้าแสดงรายการภาพ  

คลิกที่รูปด้านบนเพื่อดูรูปขนาดใหญ่



พิธีวางศิลาฤกษ์อาคารคณะวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๑๕
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ เชียงใหม่
พิธีวางศิลาฤกษ์; คณะวิศวกรรมศาสตร์; มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-

ประวัติคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
������������ประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษาอันเกิดจากการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นภายในประเทศ การพัฒนาดังกล่าวทำให้สังคมเพิ่มจำนวนความต้องการวิศวกรที่จะมาปฏิบัติงานในด้านงานรากฐาน งานสำรวจ งานก่อสร้างต่างๆ อีกทั้งงานทางด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ ไฟฟ้า การอุตสาหกรรม และการเหมืองแร่ ด้วยเหตุผลดังกล่าว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จึงได้กำหนดให้มีการจัดและอำนวยการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ขึ้น ตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๐๗ โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลให้กำหนดแผนการดำเนินงานไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๒ (พ.ศ.๒๕๑๐-๒๕๑๔) และในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ครั้งที่ ๑/๒๕๑๑ เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๑ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการจัดตั้ง โครงการคณะวิศวกรรมศาสตร์เพื่อเปิดสอนในปีการศึกษา ๒๕๑๒ ทั้งนี้ ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะผลิตวิศวกรรมให้เพียงพอกับความต้องการของประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ และด้วยหลักการที่มีประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้
������������๑.เพื่อให้มีการพัฒนาและปรับปรุงการขยายตัวตามความเจริญของเมืองในภาคเหนือ จึงควรให้มีการกระจายการศึกษาในสาขาวิชานี้สู่ภูมิภาค เพื่อมิให้แออัดเฉพาะกรุงเทพมหานคร
������������๒.เพื่อให้ผู้มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคเหนือ มีโอกาสได้พัฒนาบ้านเมืองให้มีระดับและมาตรฐานเดียวกันกับภาคกลาง และภาคอื่นๆ ในประเทศ
������������๓.เพื่อให้ผู้มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคเหนือ ได้มีโอกาสศึกษาในสาขาวิชานี้ โดยเสียค่าใช้จ่ายต่ำกว่าที่จะต้องไปศึกษาในกรุงเทพมหานคร
������������๔.การศึกษาในระดับมัธยมศึกษาของภาคเหนือ อยู่ในระดับสูงพอสำหรับการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยได้
������������๕.ได้มีการจัดการศึกษาช่างระดับฝีมือและช่างเทคนิคในภาคเหนือเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว การพัฒนาและเพิ่มจำนวนวิศวกรให้สมดุลกันกับช่างฝีมือ และช่างเทคนิคเพื่อให้การพัฒนาการศึกษาภาคเหนือประสานในทุกระดับ จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
������������๖.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาฟิสิกส์ เคมี คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ อันเป็นวิชาพื้นฐานของสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์แล้ว ดังนั้น การเปิดสอนสาขาวิศวกรรมศาสตร์ จึงเป็นการประหยัดและมีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง
������������๗.ประสบการณ์ต่างๆ ที่นักศึกษาได้รับจากการเรียนในสถาบันอุดมศึกษาในภาคเหนือ สามารถสร้างความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาภาคเหนือได้ดีกว่า
������������มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ดำเนินการเพื่อการจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นการภายในตั้งแต่สมัยที่ศาสตราจารย์ ดร.บัวเรศ คำทอง เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยได้รับความร่วมมือและประสานงานโดยใกล้ชิดกับ ศาสตราจารย์ ดร.อรุณ สรเทศน์ (คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในขณะนั้น แต่ต่อมาท่านได้ดำรงตำแหน่งเป็นอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) พร้อมทีมงาน ได้เข้ามาช่วยดำเนินการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งแต่เริ่มต้นในหลายๆ ด้าน
������������ในการจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศาสตราจารย์ ดร.อรุณ สรเทศน์มีส่วนเป็นอย่างมากในการวางแผน ก่อสร้างอาคารต่างๆ ซึ่งเป็นงานทางธุรการ ส่วนทางด้านวิชาการท่านได้ช่วยในการร่างหลักสูตร จัดหาอุปกรณ์ละตำรา และที่สำคัญอย่างยิ่งคือการจัดหาอาจารย์ และผู้ทรงคุณวุฒิในการเรียนการสอนของนักศึกษา
������������เมื่อเริ่มเปิดดำเนินการ ในวันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๓ ได้เปิดสอนในสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา ขณะนั้นยังไม่ได้เรียกว่าภาควิชาวิศวกรรมโยธาและเพิ่งได้รับการอนุมัติให้เปลี่ยนเป็นสถานะภาพมาเป็นดังกล่าวในภายหลัง ดังนั้น วันถือกำเนิดของภาควิชาวิศวกรรมโยธา เป็นวันเดียวกับวันถือกำเนิดของคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยใช้อาคารหอพักชายอาคาร ๑ เดิม ชั้นล่างจำนวน ๓ ห้อง ทางด้านทิศเหนือติดต่อกับธนาคารไทยพานิชย์ เป็นอาคารธุรการ และอาคารเรียนชั่วคราว อาจารย์ผู้สอน เริ่มแรกมีเพียง ๓ ท่านคือ รศ.ดร. สุพจน์ ตียาภรณ์ เป็นอาจารย์ทางด้านวิศวกรรมโยธา ผศ.สุธรรม ยุตบุตร เป็นอาจารย์ทางด้านวิศวกรรมโยธา และรศ.ดร.ถวัลยวงค์ ไกรโรจนานันท์ โดยมี รศ.ดร.สุพจน์ ตียาภรณ์ เป็นคณบดีท่านแรก
������������ปัจจุบัน คณะวิศวกรรมศาสตร์มีการเปิดสอนทั้งหมด ๗ ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ และภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
รายการอ้างอิง
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (๒๕๓๓). ครบรอบ ๒๕ ปี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
������������เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะวิศวกรรมศาสตร์. (๒๕๕๕). คณะวิศวกรรมศาสตร์
            มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
. ค้นเมื่อ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๕,
            จาก eng.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักหอสมุด
เชียงใหม่
ntic@lib.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
เชียงใหม่
itsc@itsc.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ผู้ให้ทุนสนับสนุน
2515
image/jpeg(.jpeg .jpe .jpg)
CMU-CM-CMU156
© มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ท่านอาจจะบันทึกหรือพิมพ์รูปภาพเพื่อการวิจัยและการศึกษาค้นคว้า ถ้าท่านต้องการใช้สำหรับวัตถุประสงค์อื่น ท่านต้องติดต่อสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อขออนุญาตใช้
 
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
เว็บไซต์และฐานข้อมูลภาพล้านนาในอดีต โดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง

     
     
  Copyright © 2008 Northern Thai Information Center (NTIC), Chiang Mai University. All Rights Reserved.
239 Huay Kaew Rd., Mueang District , Chiang Mai, Thailand 50200
Tel. 0 5394 4514, 0 5394 4517
ntic@lib.cmu.ac.th
 
/* */