Find Picture of      By     
Thai Version English Version
หน้าแรก
       
 
ดูภาพตามหมวดหมู่ ความเป็นมา บุญเสริม สาตราภัย อดีตล้านนาจากภาพถ่าย ผู้มีอุปการะคุณ เพิ่มรูปของคุณ ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
  
  ย่านวัวลาย ภาพถ่ายทางอากาศ เมื่อพ.ศ. 2512
กลับไปหน้าแสดงรายการภาพ  

คลิกที่รูปด้านบนเพื่อดูรูปขนาดใหญ่



ย่านวัวลาย ภาพถ่ายทางอากาศ เมื่อพ.ศ. 2512
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ เชียงใหม่
ย่านวัวลาย; ภาพถ่ายทางอากาศ
ถนนวัวลาย; ถนน--เชียงใหม่

������ ������ย่านวัวลาย ตั้งอยู่ระหว่างถนนวัวลายกับถนนนันทาราม จากหลักฐานกล่าวว่า ชุมชนเหล่านี้ส่วนหนึ่งอพยพมาตั้งถิ่นฐานในเชียงใหม่ตั้งแต่สมัยพระยากาวิละ อพยพมาจากบ้านวัวลาย เมืองปุ ซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน และเมืองเขิน เชียงตุง
������ ������ชาววัวลายส่วนใหญ่มีความสามารถในการทำคัวเงิน ซึ่งหมายถึงเครื่องมือ เครื่องใช้ และเครื่องประดับที่ทำด้วยเงิน มีการถ่ายทอดทักษะการทำเครื่องเงินสืบทอดต่อมายังรุ่นลูกหลาน ซึ่งหากเราเดินเข้าไปในชุมชนแห่งนี้เมื่อสัก 50-60 ปีก่อน จะเห็นว่าแทบทุกครัวเรือนมีอาชีพทำคัวเงินเลี้ยงชีพ แต่ปัจจุบัน เหลือคนทำอาชีพนี้อีกไม่กี่หลังคาเรือนเท่านั้น เนื่องจากความนิยมใช้เครื่องเงินลดลง โลหะเงินหายากและแพง รวมทั้งช่างฝีมือเริ่มลดน้อยลง จากปัญหาเหล่านี้ทำให้คัวเงินมีราคาแพงและใช้กันเฉพาะกลุ่มที่ชอบจริงๆ เท่านั้น
������ ������ปัจจุบันผู้คนในชุมชนพยายามรื้อฟื้นทักษะการทำเครื่องเงินใหม่อีกครั้ง เพื่ออนุรักษ์และรวมกลุ่มช่าง แต่เนื่องจากโลหะเงินมีราคาแพง จึงหันมาใช้อลูมิเนียมแทน ช่างส่วนใหญ่บอกว่าเป็นอลูมิเนียมเป็นโลหะอ่อน ขึ้นรูปง่าย ศูนย์กลางการรื้อฟื้นการทำเครื่องเงินอยู่ที่วัดหมื่นสาร ที่นี่นิยมใช้แผ่นอลูมิเนียมดุนเป็นลวดลายต่างๆ มีตั้งแต่ขนาดใหญ่มากจนถึงขนาดเล็ก ใช้สำหรับประดับตกแต่งอาคาร แผ่นประดับซุ้มประตูทั่วเชียงใหม่ที่เราเห็นในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งเป็นฝีมือของช่างที่นี่
������ ������ศูนย์กลางอีกแห่งคือ กลุ่มหัตถศิลป์ล้านนาวัดศรีสุพรรณ ที่นี่เป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนวัดศรีสุพรรณด้วย ชิ้นงานของช่างกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กกว่าที่วัดหมื่นสาร ปัจจุบันกลุ่มช่างวัดศรีสุพรรณร่วมกันสร้างอุโบสถเงินภายในวัดศรีสุพรรณ เพื่อแสดงถึงความรู้และความสามารถในเชิงช่างของชุมชน อาคารแห่งนี้ประดับตกแต่งด้วยแผ่นเงินและอลูมิเนียมที่มีลวดลายละเอียดและประณีตมาก อันเป็นงานช่างฝีมือของคนภายในกลุ่มนี้เอง
รายการอ้างอิง
สงวน โชติสุขรัตน์. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. (2516). พระนคร : คณะกรรมการจัด
             พิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี.
สงวน โชติสุขรัตน์. (2515). ประชุมตำนานลานนาไทย เล่ม 1- 2 . กรุงเทพฯ :
             โอเดียนสโตร์.
อุษณีย์ ธงไชย. (2550). แวดเวียงเชียงใหม่. เชียงใหม่ : ภาควิชาประวัติศาสตร์
             คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2550
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักหอสมุด
เชียงใหม่
ntic@lib.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
เชียงใหม่
itsc@itsc.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , ผู้ให้ทุนสนับสนุน
อุษณีย์ ธงไชย, ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญประจำโครงการ
2512
image/jpeg(.jpeg .jpe .jpg)
1 ภาพ; ขาวดำ; 8x10 นิ้ว
BS-CM-RD081
ท่านอาจจะบันทึกหรือพิมพ์รูปภาพเพื่อการวิจัยและการศึกษาค้นคว้า ถ้าท่านต้องการใช้สำหรับวัตถุประสงค์อื่น ท่านต้องติดต่อสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อขออนุญาตใช้
 
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
เว็บไซต์และฐานข้อมูลภาพล้านนาในอดีต โดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง

     
     
  Copyright © 2008 Northern Thai Information Center (NTIC), Chiang Mai University. All Rights Reserved.
239 Huay Kaew Rd., Mueang District , Chiang Mai, Thailand 50200
Tel. 0 5394 4514, 0 5394 4517
ntic@lib.cmu.ac.th
 
/* */