Find Picture of      By     
Thai Version English Version
หน้าแรก
       
 
ดูภาพตามหมวดหมู่ ความเป็นมา บุญเสริม สาตราภัย อดีตล้านนาจากภาพถ่าย ผู้มีอุปการะคุณ เพิ่มรูปของคุณ ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
  
  การจราจรคับคั่ง หน้าวัดมหาวัน เมื่อพ.ศ. 2522
กลับไปหน้าแสดงรายการภาพ  

คลิกที่รูปด้านบนเพื่อดูรูปขนาดใหญ่



การจราจรคับคั่ง หน้าวัดมหาวัน เมื่อพ.ศ. 2522
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ เชียงใหม่
วัดมหาวัน; ถนนท่าแพ
ถนนท่าแพ; ถนน--เชียงใหม่

             ย่านท่าแพ หมายถึงพื้นที่จากบริเวณประตูท่าแพ เลียบถนนท่าแพจนถึงริมน้ำปิง มีหลักฐานกล่าวถึงย่านท่าแพมาตั้งแต่สมัยพระเมืองแก้ว ( พ.ศ. 2039-2068) ในปี พ.ศ. 2040 เมื่อพระองค์โปรดให้สร้างวัดบุพพารามในบริเวณย่านท่าแพ ในปี พ.ศ. 2042โปรดให้ฉลองพระไตรปิฎกและหอมณเฑียรธรรม และในปี พ.ศ. 2065 โปรดให้ประดิษฐานพระพุทธแก่นจันทน์แดง ไว้ ณ วัดแห่งนี้ เข้าใจว่าในสมัยนั้น แถบนี้น่าจะเป็นชุมชนขนาดใหญ่และมีบ้านเรือนอยู่ไม่น้อย เพราะเมื่อเกิดไฟไหม้ย่านท่าแพในสมัยพระเมืองเกศเกล้า (พ.ศ. 2068-2081) พระองค์ได้โปรดให้พระราชทานเงินให้กับประชาชนในชุมชนที่ถูกไฟไหม้ถึง 20,000 เงิน
             เมื่อการค้าทางเรือและทางรถไฟเติบโตมากขึ้น ส่งผลให้ท่าแพมีความคึกคักอย่างมาก เพราะมีพ่อค้าหลากหลายเชื้อชาติเข้ามาตั้งถิ่นฐานอย่างต่อเนื่องและยิ่งทวีจำนวนมากขึ้น เมื่อทางรถไฟสายเหนือขึ้นมาถึงเชียงใหม่ในปี พ.ศ.2464
             กลุ่มพ่อค้าที่สำคัญคือ กลุ่มพ่อค้าจีนซึ่งเป็นพ่อค้ากลุ่มเดียวที่ทำการค้าติดต่อกับทางกรุงเทพฯ เพราะมีความชำนาญ และคุ้นเคยกับการค้าทางเรือ รวมทั้งมีความสัมพันธ์กับพ่อค้าทางกรุงเทพฯอีกด้วย พ่อค้าจีนกลุ่มนี้ส่วนหนึ่งย้ายมาจากย่านวัดเกตุ เช่น เถ้าแก่อุยทำการค้าโดยการส่งสินค้าการเกษตรไปขายที่กรุงเทพฯ เปิดร้านค้าอยู่ที่ย่านวัดเกตุ แต่พอการค้าที่วัดเกตุซบเซาก็ย้ายมาเปิดร้าน เหลียวหย่งง้วนขายฝ้ายและผ้าอยู่ที่ถนนท่าแพ เป็นต้น
             นอกจากพ่อค้าชาวจีนจากกรุงเทพฯ แล้ว ยังมีพ่อค้ากลุ่มอื่น เช่น ชาวจีนฮ่อจากยูนนาน ชาว ไทยใหญ่ และชาวพม่า พ่อค้ากลุ่มนี้ทำการค้าระหว่างเชียงใหม่กับเขตตอนบน การตั้งถิ่นฐานของ ชาวพม่า และไทยใหญ่ในย่านนี้ ส่งผลที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ ชาวบ้านในย่านนี้ ได้แบ่งรายได้ส่วนหนึ่งมาทำบุญด้วยการดูแลและบูรณะวัดต่างๆ ซึ่งจะเห็นได้จากวัดบุพพาราม วัดเชตวัน วัดมหาวัน วัดแสนฝาง และวัดอุปคุต ซึ่งส่วนหนึ่งสร้างมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์มังราย แต่ได้รับการบูรณะและสร้างใหม่ในยุคนี้ ฉะนั้นรูปแบบของศิลปะที่ปรากฏอยู่จึง มีรูปแบบศิลปะแบบพม่าที่กำลังนิยมอยู่ในยุคนั้น
             ความเก่าแก่และความงดงามของอาคารและวัดวาอารามในย่านนี้ กลายเป็นสิ่งดึงดูดให้นักท่องเที่ยวโดยเฉพาะชาวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวย่านนี้เป็นจำนวนมาก ปัจจุบันย่านท่าแพเป็นแหล่งบริการการท่องเที่ยวที่ครบวงจร โดยเฉพาะการบริการให้กับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ บ้านเก่าหลายแห่งได้รับการดัดแปลงเป็นที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว เป็นร้านอาหารและร้านกาแฟ มีทั้งราคาถูกและราคาแพง นอกจากนี้ยังมีการเปิดบริการรถเช่า บริษัททัวร์ซึ่งมีทั้งทัวร์ในเมืองและทัวร์ป่าซึ่งเป็นที่นิยมของลูกค้าแถบประเทศยุโรป
รายการอ้างอิง
แสง มนวิทูร, ร.ต.ท. (2518). ชินกาลมาลีปกรณ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์นุกูลกิจ.
ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. (2516). พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทาง
             ประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักหอสมุด
เชียงใหม่
ntic@lib.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
เชียงใหม่
itsc@itsc.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , ผู้ให้ทุนสนับสนุน
อุษณีย์ ธงไชย, ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญประจำโครงการ
2522
image/jpeg(.jpeg .jpe .jpg)
1 ภาพ; ขาวดำ; 8x10 นิ้ว
BS-CM-RD032
ท่านอาจจะบันทึกหรือพิมพ์รูปภาพเพื่อการวิจัยและการศึกษาค้นคว้า ถ้าท่านต้องการใช้สำหรับวัตถุประสงค์อื่น ท่านต้องติดต่อสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อขออนุญาตใช้
 
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
เว็บไซต์และฐานข้อมูลภาพล้านนาในอดีต โดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง

     
     
  Copyright © 2008 Northern Thai Information Center (NTIC), Chiang Mai University. All Rights Reserved.
239 Huay Kaew Rd., Mueang District , Chiang Mai, Thailand 50200
Tel. 0 5394 4514, 0 5394 4517
ntic@lib.cmu.ac.th
 
/* */