Find Picture of      By     
Thai Version English Version
หน้าแรก
       
 
ดูภาพตามหมวดหมู่ ความเป็นมา บุญเสริม สาตราภัย อดีตล้านนาจากภาพถ่าย ผู้มีอุปการะคุณ เพิ่มรูปของคุณ ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
  
  รถสามล้อ รถสี่ล้อ และรถเมล์(เบนซ์) บนถนนท่าแพ เมื่อพ.ศ. 2508
กลับไปหน้าแสดงรายการภาพ  

คลิกที่รูปด้านบนเพื่อดูรูปขนาดใหญ่



เปรียบเทียบภาพถ่ายในปัจจุบัน
รถสามล้อ รถสี่ล้อ และรถเมล์(เบนซ์) บนถนนท่าแพ เมื่อพ.ศ. 2508
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ เชียงใหม่
รถสามล้อ; รถสี่ล้อ; รถเมล์; ถนนท่าแพ
การจราจร--เชียงใหม่; ถนนท่าแพ; ถนน--เชียงใหม่

             ย่านท่าแพ หมายถึงพื้นที่จากบริเวณประตูท่าแพ เลียบถนนท่าแพจนถึงริมน้ำปิง มีหลักฐานกล่าวถึงย่านท่าแพมาตั้งแต่สมัยพระเมืองแก้ว ( พ.ศ. 2039-2068) ในปี พ.ศ. 2040 เมื่อพระองค์โปรดให้สร้างวัดบุพพารามในบริเวณย่านท่าแพ ในปี พ.ศ. 2042โปรดให้ฉลองพระไตรปิฎกและหอมณเฑียรธรรม และในปี พ.ศ. 2065 โปรดให้ประดิษฐานพระพุทธแก่นจันทน์แดง ไว้ ณ วัดแห่งนี้ เข้าใจว่าในสมัยนั้น แถบนี้น่าจะเป็นชุมชนขนาดใหญ่และมีบ้านเรือนอยู่ไม่น้อย เพราะเมื่อเกิดไฟไหม้ย่านท่าแพในสมัยพระเมืองเกศเกล้า (พ.ศ. 2068-2081) พระองค์ได้โปรดให้พระราชทานเงินให้กับประชาชนในชุมชนที่ถูกไฟไหม้ถึง 20,000 เงิน
             เมื่อการค้าทางเรือและทางรถไฟเติบโตมากขึ้น ส่งผลให้ท่าแพมีความคึกคักอย่างมาก เพราะมีพ่อค้าหลากหลายเชื้อชาติเข้ามาตั้งถิ่นฐานอย่างต่อเนื่องและยิ่งทวีจำนวนมากขึ้น เมื่อทางรถไฟสายเหนือขึ้นมาถึงเชียงใหม่ในปี พ.ศ.2464
             กลุ่มพ่อค้าที่สำคัญคือ กลุ่มพ่อค้าจีนซึ่งเป็นพ่อค้ากลุ่มเดียวที่ทำการค้าติดต่อกับทางกรุงเทพฯ เพราะมีความชำนาญ และคุ้นเคยกับการค้าทางเรือ รวมทั้งมีความสัมพันธ์กับพ่อค้าทางกรุงเทพฯอีกด้วย พ่อค้าจีนกลุ่มนี้ส่วนหนึ่งย้ายมาจากย่านวัดเกตุ เช่น เถ้าแก่อุยทำการค้าโดยการส่งสินค้าการเกษตรไปขายที่กรุงเทพฯ เปิดร้านค้าอยู่ที่ย่านวัดเกตุ แต่พอการค้าที่วัดเกตุซบเซาก็ย้ายมาเปิดร้าน เหลียวหย่งง้วนขายฝ้ายและผ้าอยู่ที่ถนนท่าแพ เป็นต้น
             นอกจากพ่อค้าชาวจีนจากกรุงเทพฯ แล้ว ยังมีพ่อค้ากลุ่มอื่น เช่น ชาวจีนฮ่อจากยูนนาน ชาว ไทยใหญ่ และชาวพม่า พ่อค้ากลุ่มนี้ทำการค้าระหว่างเชียงใหม่กับเขตตอนบน การตั้งถิ่นฐานของ ชาวพม่า และไทยใหญ่ในย่านนี้ ส่งผลที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ ชาวบ้านในย่านนี้ ได้แบ่งรายได้ส่วนหนึ่งมาทำบุญด้วยการดูแลและบูรณะวัดต่างๆ ซึ่งจะเห็นได้จากวัดบุพพาราม วัดเชตวัน วัดมหาวัน วัดแสนฝาง และวัดอุปคุต ซึ่งส่วนหนึ่งสร้างมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์มังราย แต่ได้รับการบูรณะและสร้างใหม่ในยุคนี้ ฉะนั้นรูปแบบของศิลปะที่ปรากฏอยู่จึง มีรูปแบบศิลปะแบบพม่าที่กำลังนิยมอยู่ในยุคนั้น
             ความเก่าแก่และความงดงามของอาคารและวัดวาอารามในย่านนี้ กลายเป็นสิ่งดึงดูดให้นักท่องเที่ยวโดยเฉพาะชาวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวย่านนี้เป็นจำนวนมาก ปัจจุบันย่านท่าแพเป็นแหล่งบริการการท่องเที่ยวที่ครบวงจร โดยเฉพาะการบริการให้กับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ บ้านเก่าหลายแห่งได้รับการดัดแปลงเป็นที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว เป็นร้านอาหารและร้านกาแฟ มีทั้งราคาถูกและราคาแพง นอกจากนี้ยังมีการเปิดบริการรถเช่า บริษัททัวร์ซึ่งมีทั้งทัวร์ในเมืองและทัวร์ป่าซึ่งเป็นที่นิยมของลูกค้าแถบประเทศยุโรป
รายการอ้างอิง
แสง มนวิทูร, ร.ต.ท. (2518). ชินกาลมาลีปกรณ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์นุกูลกิจ.
ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. (2516). พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทาง
             ประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักหอสมุด
เชียงใหม่
ntic@lib.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
เชียงใหม่
itsc@itsc.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , ผู้ให้ทุนสนับสนุน
อุษณีย์ ธงไชย, ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญประจำโครงการ
2508
image/jpeg(.jpeg .jpe .jpg)
1 ภาพ; ขาวดำ; 8x10 นิ้ว
BS-CM-RD028
ท่านอาจจะบันทึกหรือพิมพ์รูปภาพเพื่อการวิจัยและการศึกษาค้นคว้า ถ้าท่านต้องการใช้สำหรับวัตถุประสงค์อื่น ท่านต้องติดต่อสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อขออนุญาตใช้
 
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
เว็บไซต์และฐานข้อมูลภาพล้านนาในอดีต โดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง

     
     
  Copyright © 2008 Northern Thai Information Center (NTIC), Chiang Mai University. All Rights Reserved.
239 Huay Kaew Rd., Mueang District , Chiang Mai, Thailand 50200
Tel. 0 5394 4514, 0 5394 4517
ntic@lib.cmu.ac.th
 
/* */