Find Picture of      By     
Thai Version English Version
หน้าแรก
       
 
ดูภาพตามหมวดหมู่ ความเป็นมา บุญเสริม สาตราภัย อดีตล้านนาจากภาพถ่าย ผู้มีอุปการะคุณ เพิ่มรูปของคุณ ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
  
  ขบวนพาเหรดในการแข่งขันกีฬานักเรียนบริเวณประตูช้างเผือก เมื่อพ.ศ. 2508
กลับไปหน้าแสดงรายการภาพ  

คลิกที่รูปด้านบนเพื่อดูรูปขนาดใหญ่



ขบวนพาเหรดในการแข่งขันกีฬานักเรียนบริเวณประตูช้างเผือก เมื่อพ.ศ. 2508
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ เชียงใหม่
ขบวนพาเรด; ประตูช้างเผือก
ประตูช้างเผือก; ประตูเมือง--เชียงใหม่

             ย่านช้างเผือกหมายถึงบริเวณประตูช้างเผือก ตั้งอยู่บริเวณถนนช้างเผือกต่อกับถนนโชตนา ชื่อย่านช้างเผือกน่าจะมาจากรูปปั้นช้างเผือก 2 ตัว คือ ปราบจักรวาลและปราบเมืองมารเมืองยักษ์ ซึ่งพระเจ้ากาวิละโปรดให้สร้างไว้ที่ประตูหัวเวียง ปัจจุบันช้างเผือกทั้งสองนี้ตั้งอยู่ด้านหน้าของประตูขนส่งช้างเผือก ส่วนที่บริเวณด้านหน้าประตูช้างเผือกได้สร้างน้ำพุรูปช้างเผือก (ช้างทาสีขาว) ตั้งอยู่เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของประตูช้างเผือก ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวว่าเคยมีการสร้างช้างเผือกมาแล้วตั้งแต่สมัยพระเจ้าแสนเมืองมา หลังจากที่พระองค์เสด็จกลับจากการทำศึกกับสุโขทัย
             แต่เดิมย่านช้างเผือกเป็นที่รวมของชุมชนหลากหลายเชื้อชาติเช่นเดียวกับย่านอื่นๆ คือมีทั้งชาวจีน คนเมือง คนไทยใหญ่ และมุสลิม ความหลากหลายของผู้คนเหล่านี้เห็นได้จากศาสนสถานซึ่งเป็นสถานที่ทำบุญของแต่ละชุมชนที่ยังคงอาศัยอยู่จนถึงทุกวันนี้ เช่น กลุ่มคนเมืองและคนจีนไปวัดเชียงยืน คนไทยใหญ่ไปวัดป่าเป้า ส่วนคนมุสลิมก็มีมัสยิดเป็นศูนย์รวมจิตใจอยู่ในชุมชน ชุมชนมุสลิมแห่งนี้เพิ่งจะมาตั้งอยู่ที่นี่ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นี้เอง
             อาชีพหนึ่งที่เคยเป็นอาชีพหลักของชาวไทยใหญ่ในแถบนี้คือ การทำหนังพอง ที่นิยมรับประทานแกล้มกับขนมจีนน้ำเงี้ยว หนังพองมีลักษณะคล้ายแคบหมูทำจากหนังวัว ในขณะที่แคบหมูทำจากหนังหมู ปัจจุบันอาชีพนี้หายไปจากชุมชนหมดแล้ว
             ใกล้ๆ กับประตูช้างเผือก เป็นที่ตั้งของตลาดช้างเผือก แต่เดิมเป็นย่านการค้าที่มีกลุ่มพ่อค้าจากทางเหนือของเมืองนำของมาวางขายร่วมกับคนในย่านชุมชนนี้ ปัจจุบันพ่อค้ากลุ่มนี้ยังมีอยู่บ้างแต่ไม่มากนัก ตลาดช้างเผือกเป็นตลาดสด เริ่มติดตลาดตั้งแต่ตี 3 ตี 4 พอสายสัก 9 โมงเช้าตลาดก็เริ่มวายแล้ว ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นพ่อค้าขายปลีกและกลุ่มที่ทำอาหารขาย ฉะนั้นของที่ขายที่นี่จะมีทั้งอาหารสดและอาหารสำเร็จรูป ส่วนหนึ่งขายกันแบบยกโหล เช่นแคบหมู โจ๊ก บะหมี่ และก๋วยจั๊บ รวมทั้งอาหารสดเช่น หมู ไก่ และเนื้อ แม่ค้าจะทำเป็นห่อเล็กๆ ใส่ถุงๆ ละ 12 ห่อ ผู้ซื้อจะนำไปขายให้กลุ่มคนงานที่เข้าทำงานซึ่งมีทั้งคนงานก่อสร้างและคนงานเก็บลำไยเป็นต้น ตลาดช้างเผือกเริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้งในตอนเย็น เพราะลานด้านหน้าตลาดจะเป็นที่ตั้งของตลาดโต้รุ่งที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของเชียงใหม่
รายการอ้างอิง
สงวน โชติสุขรัตน์. (2516). ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. .
             พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์
             สำนักนายกรัฐมนตรี.
อนุ เนินหาด, พ.ต.ท. (2544). สังคมเมืองเชียงใหม่  รุ่น ๓”.
             เชียงใหม่. นพบุรีการพิมพ์.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักหอสมุด
เชียงใหม่
ntic@lib.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
เชียงใหม่
itsc@itsc.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , ผู้ให้ทุนสนับสนุน
อุษณีย์ ธงไชย, ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญประจำโครงการ
2508
image/jpeg(.jpeg .jpe .jpg)
1 ภาพ; ขาวดำ; 8x10 นิ้ว
BS-CM-RD007
ท่านอาจจะบันทึกหรือพิมพ์รูปภาพเพื่อการวิจัยและการศึกษาค้นคว้า ถ้าท่านต้องการใช้สำหรับวัตถุประสงค์อื่น ท่านต้องติดต่อสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อขออนุญาตใช้
 
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
เว็บไซต์และฐานข้อมูลภาพล้านนาในอดีต โดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง

     
     
  Copyright © 2008 Northern Thai Information Center (NTIC), Chiang Mai University. All Rights Reserved.
239 Huay Kaew Rd., Mueang District , Chiang Mai, Thailand 50200
Tel. 0 5394 4514, 0 5394 4517
ntic@lib.cmu.ac.th
 
/* */