Find Picture of      By     
Thai Version English Version
หน้าแรก
       
 
ดูภาพตามหมวดหมู่ ความเป็นมา บุญเสริม สาตราภัย อดีตล้านนาจากภาพถ่าย ผู้มีอุปการะคุณ เพิ่มรูปของคุณ ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
  
  สถานีรถไฟเชียงใหม่ เมื่อพ.ศ. 2496 บริเวณนี้เป็นที่กลับหัวรถจักรไอน้ำ ในสมัยก่อนการรถไฟแห่งประเทศไทยใช้หัวรถจักรไอน้ำ ซึ่งเดินรถได้ทางเดียว ดังนั้นเมื่อหัวรถจักรมาสิ้นสุดที่สถานี จึงต้องกลับหัวรถจักรสำหรับการเดินทางขาล่อง
กลับไปหน้าแสดงรายการภาพ  

คลิกที่รูปด้านบนเพื่อดูรูปขนาดใหญ่



เปรียบเทียบภาพถ่ายในปัจจุบัน
สถานีรถไฟเชียงใหม่ เมื่อพ.ศ. 2496 บริเวณนี้เป็นที่กลับหัวรถจักรไอน้ำ ในสมัยก่อนการรถไฟแห่งประเทศไทยใช้หัวรถจักรไอน้ำ ซึ่งเดินรถได้ทางเดียว ดังนั้นเมื่อหัวรถจักรมาสิ้นสุดที่สถานี จึงต้องกลับหัวรถจักรสำหรับการเดินทางขาล่อง
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ เชียงใหม่
สถานีรถไฟเชียงใหม่
สถานีรถไฟเชียงใหม่

������ ������สถานีรถไฟเชียงใหม่เป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งที่แสดงถึงความเจริญเติบโตของการคมนาคมในเชียงใหม่ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2464 ได้มีการทำพิธีเปิดสถานีรถไฟแห่งนี้ นับเป็นวันสำคัญวันหนึ่งในประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ เพราะการมาของรถไฟเชียงใหม่มิได้หมายความแต่เพียงการเพิ่มความสะดวกในการเดินทางระหว่างเชียงใหม่และกรุงเทพฯ เท่านั้น แต่ยังนำมาสู่ความเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตด้านต่างๆ ของผู้คนในเขตภาคเหนืออย่างใหญ่หลวง
������ ������ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ การค้าทางเรือหมดบทบาทลงอย่างสิ้นเชิงทั้งนี้เพราะต้นทุนในการขนส่งทางรถไฟถูกกว่าทางเรือมาก เช่นสิ่งของน้ำหนัก 3 ตัน ขนส่งทางเรือเสียค่าใช้จ่าย 500 บาท แต่ถ้าขนส่งทางรถไฟเสียเงินเพียง 150 บาท นอกจากนั้นการค้าทางรถไฟยังทำได้ตลอดปีไม่ต้องขึ้นอยู่กับฤดูกาลเหมือนกับทางเรือ รวมทั้งยังสะดวกและรวดเร็วกว่ามาก เกวียนเป็นพาหนะอีกชนิดที่ค่อยๆ หายไปจากถนนในเมืองเชียงใหม่ เนื่องจากรถไฟบรรทุกรถยนต์ขึ้นมาใช้แทน
������ ������ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ความเปลี่ยนแปลงในวิถีการผลิตของชุมชนเชียงใหม่ กล่าวคือ ผู้คนเริ่มเพาะปลูกพืชไร่เพื่อส่งขายมากขึ้น แต่ผลที่ได้คือ ชาวนาชาวไร่ส่วนหนึ่งต้องสูญเสียที่ดิน เนื่องมาจากการกู้เงินมาทำไร่ทำนา รวมทั้งต้องพึ่งพิงสินค้าสำเร็จรูปและสินค้าฟุ่มเฟือยมากขึ้น ทั้งที่สินค้าบางชนิดเคยผลิตใช้เองได้ เช่น ผ้า และบุหรี่ เป็นต้น
วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2486 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เครื่องบินพันธมิตรทิ้งระเบิดที่สถานีรถไฟจนพังยับเยิน ทำให้ต้องสร้างสถานีรถไฟหลังใหม่อย่างที่เห็นในทุกวันนี้

รายการอ้างอิง
ปลายอ้อ ชนะนนท์. (2529). บทบาทนายทุนพ่อค้าที่มีต่อการก่อ
������ ������และขยายตัวของทุนนิยมภาคเหนือของประเทศไทย
������ ������พ.ศ.2464-2523. วิทยานิพนธ์หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
������ ������จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนุ เนินหาด, พ.ต.ท. (2543). เชียงใหม่สะปะเรื่องตะวา.
������������เชียงใหม่: นพบุรีการพิมพ์.
อนุ เนินหาด, พ.ต.ท. (2544). ประวัติชุมชนในเมืองเชียงใหม่.
������������เชียงใหม่: นพบุรีการพิมพ์. (สังคมเชียงใหม่เล่ม 10).
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักหอสมุด
เชียงใหม่
ntic@lib.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
เชียงใหม่
itsc@itsc.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , ผู้ให้ทุนสนับสนุน
อุษณีย์ ธงไชย, ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญประจำโครงการ
2496
image/jpeg(.jpeg .jpe .jpg)
1 ภาพ; ขาวดำ; 8x10 นิ้ว
BS-CM-RW007
ท่านอาจจะบันทึกหรือพิมพ์รูปภาพเพื่อการวิจัยและการศึกษาค้นคว้า ถ้าท่านต้องการใช้สำหรับวัตถุประสงค์อื่น ท่านต้องติดต่อสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อขออนุญาตใช้
 
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
เว็บไซต์และฐานข้อมูลภาพล้านนาในอดีต โดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง

     
     
  Copyright © 2008 Northern Thai Information Center (NTIC), Chiang Mai University. All Rights Reserved.
239 Huay Kaew Rd., Mueang District , Chiang Mai, Thailand 50200
Tel. 0 5394 4514, 0 5394 4517
ntic@lib.cmu.ac.th
 
/* */