|
คนงานกำลังรื้ออาคารแผนกทะเบียนยานพาหนะของสถานีตำรวจภูธร อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ |
|
|
|
|
|
|
|
|
สถานีตำรวจภูธรหรือที่คนเมืองเรียกว่าโรงพักกองเมือง ตั้งอยู่บนถนนราชดำเนิน ระหว่างวัดเจดีย์หลวงและวัดศรีเกิด ที่ตั้งของโรงพักกองเมืองเป็นที่ดินของเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 8 (พ.ศ. 2444-2452) พระองค์ทรงบริจาคให้ทางราชการในสมัยที่เจ้าพระยาสุรสีห์วิศิษฐ์ศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) เป็นข้าหลวงมณฑลพายัพ(พ.ศ. 2446-2457) เข้าใจว่าโรงพักแห่งนี้สร้างในปีพ.ศ. 2447 อาคารสถานีตำรวจ ณ ที่แห่งนี้ได้รื้อและสร้างใหม่ถึงสามครั้ง อาคารที่เห็นทุกวันนี้เป็นอาคารหลังที่ 3
ฝั่งตรงข้ามทางทิศตะวันออกในบริเวณพื้นที่ด้านหลังวัดเจดีย์หลวง เป็นที่ตั้งของอาคารแผนกทะเบียนยานพาหนะ และบ้านพักตำรวจ ซึ่งต่อมารื้อสร้างเป็นอาคารแบบแฟลต ปัจจุบันทั้งสองส่วนนี้ถูกแบ่งออกจากกันด้วยถนนจ่าบ้าน มีเรื่องเล่ากันในหมู่ผู้คนละแวกนี้ว่า สมัยก่อนบริเวณบ้านพักตำรวจผีดุมาก ดังคำบอกเล่าของ พ.ต.ท. อนุ เนินหาด ที่กล่าวว่าได้เคยสนทนากับพระครูจิรานุวัฒนคุณ อายุ 76 พรรษา ทำให้ได้เกร็ดเกี่ยวกับผีดุมาเล่าสู่กันฟังว่า ...ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สมัยนั้นที่วัดเจดีย์หลวงมีพระประมาณ 25 รูป เณรประมาณ 20 รูป กองทหารไทยที่มาพักที่วัดเจดีย์หลวง ไม่แน่ใจว่าเป็น ร.พัน 13 หรือ ร.พัน 15 นายทหารที่คุมกำลังมาพักที่วัดเจดีย์หลวงคือ ผู้กองเสงี่ยม มาพักที่กุฏิเจ้าแก้วนวรัฐ ด้านทิศใต้ของวิหารวัดโดยนอนด้านนอกห้อง ส่วนอาตมาจำวัดอยู่ด้านในห้อง ทหารรับใช้ชื่อ พลทหารลอย เวลากลางคืน ผู้กองเสงี่ยมมักมาชวนอาตมาไปเดินตรวจทหารไม่ให้หนีเที่ยว ส่วนทหารทำเพิงหลังคาใบตองโดยรอบเจดีย์หลวง แต่ละคืนจะจัดยามเฝ้าประตูด้านหลังวัดที่ไปออกทางโรงพักกองเมืองเพื่อไม่ให้ทหารหนีเที่ยว ด้านในวัดสมัยนั้นเป็นป่ากล้วยค่อนข้างรก คืนหนึ่งประมาณเกือบ 5 ทุ่ม ทหารยามวิ่งเลิ่กลั่กมายกมือตะเบ๊ะรายงานว่า ไม่ไหวแล้วครับ ถูกผีหลอกครับ ผู้กองเสงี่ยมโมโห สั่งให้เพิ่มยามเป็น 2 คน สักพักใหญ่ทหารยามทั้งสองวิ่งมาบอกว่าถูกผีหลอกอีก ผู้กองเสงี่ยมโมโหเดินนำหน้าพลทหารไปทางหลังวัด หลังเที่ยงคืนเล็กน้อยกลับมาบอกว่า ผีหลอกจริงๆ ห้อยขาลงมาจากห้องส้วม และเอามือจับศีรษะผู้กองเสงี่ยมเข้าด้วย การอยู่เวรยามจำต้องเลิกไปด้วยประการฉะนี้ ผีลักษณะเช่นนี้แสดงว่าดุจริง แม้นายทหารก็ไม่เว้น...
รายการอ้างอิง
บุญเสริม สาตราภัย และสังคีต จันทนะโพธิ. (2520). อดีตลานนา.
กรุงเทพฯ : เรืองศิลป์.
อนุ เนินหาด, พ.ต.ท.. (2548). ย่านถนนราชดำเนิน.
เชียงใหม่ : นพบุรีการพิมพ์. (สังคมเชียงใหม่ เล่ม 11). |
|
|
|
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักหอสมุด |
|
เชียงใหม่ |
|
ntic@lib.cmu.ac.th |
|
|
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ |
|
เชียงใหม่ |
|
itsc@itsc.cmu.ac.th |
|
|
|
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , ผู้ให้ทุนสนับสนุน
อุษณีย์ ธงไชย, ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญประจำโครงการ |
|
|
|
[2512?] |
|
|
|
image/jpeg(.jpeg .jpe .jpg) |
|
|
|
1 ภาพ; ขาวดำ; 8x10 นิ้ว |
|
|
|
BS-CM-GB004 |
|
|
|
ท่านอาจจะบันทึกหรือพิมพ์รูปภาพเพื่อการวิจัยและการศึกษาค้นคว้า ถ้าท่านต้องการใช้สำหรับวัตถุประสงค์อื่น ท่านต้องติดต่อสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อขออนุญาตใช้ |
|
|
|