Find Picture of      By     
Thai Version English Version
หน้าแรก
       
 
ดูภาพตามหมวดหมู่ ความเป็นมา บุญเสริม สาตราภัย อดีตล้านนาจากภาพถ่าย ผู้มีอุปการะคุณ เพิ่มรูปของคุณ ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
  
  คลองแม่ข่า น้ำแม่ข่าในยุคที่เทศบาลทำผนังซีเมนต์ปิดทึบทั้ง 2 ฝั่ง เมื่อพ.ศ. 2510
กลับไปหน้าแสดงรายการภาพ  

คลิกที่รูปด้านบนเพื่อดูรูปขนาดใหญ่



เปรียบเทียบภาพถ่ายในปัจจุบัน
คลองแม่ข่า น้ำแม่ข่าในยุคที่เทศบาลทำผนังซีเมนต์ปิดทึบทั้ง 2 ฝั่ง เมื่อพ.ศ. 2510
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ เชียงใหม่
คลองแม่ข่า; คลอง
คลองแม่ข่า; คลอง-เชียงใหม่

             เมื่อแรกตั้งเมืองเชียงใหม่พระยามังรายโปรดให้เลือกพื้นบริเวณเชิงดอยสุเทพซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแหล่งน้ำที่สามารถใช้หล่อเลี้ยงชุมชนขนาดใหญ่ได้ เป็นทั้งเส้นทางคมนาคมและใช้สำหรับการเพาะปลูก แม่น้ำสายสำคัญคือ แม่น้ำปิงและแม่น้ำแม่ข่า
             แม่น้ำปิงเป็นแม่น้ำสายใหญ่ใช้เป็นเส้นทางคมนาคมระหว่างเมืองเชียงใหม่กับเมืองภายนอกคือเมืองในเขตตอนบนกับหัวเมืองท่าตอนล่างอยุธยาและกรุงเทพฯ ตามลำดับ
             แม่น้ำแม่ข่าเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลหล่อเลี้ยงเมืองเชียงใหม่ เป็นแม่น้ำที่ให้ทั้งความอุดมสมบูรณ์ในการเพาะปลูกและเป็นเส้นทางคมนาคมสายหลักของผู้คนในเมืองเชียงใหม่ ดังจะเห็นได้จากเส้นทางการไหลของแม่น้ำสายนี้ที่ปรากฏอยู่ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่... อยู่ที่นี่หัน (เห็น) น้ำตกแต่อุชุปัตตาดอยสุเทพ มาเป็นแม่น้ำไหลขึ้นไปหนเหนือ แล้วไหลดะไปหนวันออก แล้วไหลไปใต้ แล้วไหลไปวันตกเกี้ยวเวียงกุมกาม แม่น้ำนี้เป็นนครคุณเกี้ยวเมืองอันนี้ ...
             จากการสำรวจเส้นทางแม่น้ำแม่ข่า ในปี พ.ศ. 2520 และได้พูดคุยกับคนเก่าแก่ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำทำให้ทราบว่าเมื่อย้อนหลังไปสัก 100 ปี แม่น้ำแม่ข่ายังเป็นแม่น้ำที่ใสสะอาด ชาวบ้านได้อาศัยแม่น้ำสายนี้ในการใช้ซักล้างและเป็นเส้นทางคมนาคมภายในเมืองได้เป็นอย่างดี
             จากการเติบโตของเมืองเชียงใหม่ทำให้มีผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินมากขึ้น ส่วนหนึ่งเข้าไปตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณริมคลองแม่ข่า เป็นบ้านเรือนอยู่อาศัยบ้าง เป็นร้านค้าบ้าง และเป็นโรงงานขนาดเล็กบ้าง เมื่อมีระบบน้ำประปาและการใช้รถแทนเรือ ซึ่งถือกันว่าเป็นการพัฒนาที่ทันสมัยแต่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คลองแม่ข่าหมดประโยชน์ในฐานะเป็นแม่น้ำสายหลักของคนในเชียงใหม่อีกต่อไป แต่กลับมีประโยชน์ในการเป็นแหล่งถ่ายเทของเสีย จนทำให้ปัจจุบันแม่น้ำสายนี้เน่าเสียจนยากฟื้นคืน นอกจากนั้นยังมีการก่อซีเมนต์ปิดทับทั้งสองฝั่งจนแม่น้ำกลายสภาพเป็นคูน้ำแห่งหนึ่ง ไม่เหลือร่องรอยการเป็นสายน้ำสายชีวิตของคนเชียงใหม่อีกเลย

รายการอ้างอิง
สงวน โชติสุขรัตน์. (2516). ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. พระนคร:
             คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักหอสมุด
เชียงใหม่
ntic@lib.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
เชียงใหม่
itsc@itsc.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , ผู้ให้ทุนสนับสนุน
อุษณีย์ ธงไชย, ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญประจำโครงการ
2510
image/jpeg(.jpeg .jpe .jpg)
1 ภาพ; ขาวดำ; 8x10 นิ้ว
BS-CM-CN002
ท่านอาจจะบันทึกหรือพิมพ์รูปภาพเพื่อการวิจัยและการศึกษาค้นคว้า ถ้าท่านต้องการใช้สำหรับวัตถุประสงค์อื่น ท่านต้องติดต่อสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อขออนุญาตใช้
 
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
เว็บไซต์และฐานข้อมูลภาพล้านนาในอดีต โดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง

     
     
  Copyright © 2008 Northern Thai Information Center (NTIC), Chiang Mai University. All Rights Reserved.
239 Huay Kaew Rd., Mueang District , Chiang Mai, Thailand 50200
Tel. 0 5394 4514, 0 5394 4517
ntic@lib.cmu.ac.th
 
/* */