Find Picture of      By     
Thai Version English Version
หน้าแรก
       
 
ดูภาพตามหมวดหมู่ ความเป็นมา บุญเสริม สาตราภัย อดีตล้านนาจากภาพถ่าย ผู้มีอุปการะคุณ เพิ่มรูปของคุณ ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
  
  สี่แยกกลางเวียง เมื่อพ.ศ. 2509
กลับไปหน้าแสดงรายการภาพ  

คลิกที่รูปด้านบนเพื่อดูรูปขนาดใหญ่



เปรียบเทียบภาพถ่ายในปัจจุบัน
สี่แยกกลางเวียง เมื่อพ.ศ. 2509
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ เชียงใหม่
สี่แยกกลางเวียง
สี่แยกกลางเวียง

������ ������ เจ้ามังราย...ตายฟ้าผ่าที่กาดเชียงใหม่กลางเวียง...” ข้อความดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าสี่แยกกลางเวียงเป็นพื้นที่สำคัญมาตั้งแต่สมัยพญามังรายแล้ว (พ.ศ. 1839-1860) อาจกล่าวได้ว่าพื้นที่นี้ เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเมืองเชียงใหม่จากพื้นที่ว่างเปล่าจนกลายเป็นเมืองใหญ่ จากการที่เคยเป็นศูนย์กลางสำคัญในอดีตทำให้บริเวณนี้เป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญหลายแห่ง ทั้งที่ยังปรากฏร่องรอยของสิ่งก่อสร้างและที่เหลือเพียงความทรงจำ ที่เล่าต่อๆ กันมาจากปากต่อปากจนถึงปัจจุบัน เช่น เป็นที่ตั้งของวัดต่าง ๆ อาทิ วัดอินทขิล วัดเจดีย์หลวง วัดพันเตา และวัดดวงดี เป็นต้น หอคำพญามังราย ซึ่งพระองค์สร้างขึ้นพร้อมกับวัดเชียงมั่น ถูกเปลี่ยนเป็นคุกกลางเวียง และปรับมาเป็น ทัณฑสถานหญิงในปัจจุบันตลอดจน
������ ������ในช่วงที่เชียงใหม่ตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า และกรุงเทพฯ บริเวณนี้กลายเป็นที่ตั้งของคุ้มเจ้า ศูนย์ราชการและสถานศึกษา เช่น หอคำของเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ซึ่งเป็นมรดกตกทอดมาถึงสมัยพระราชชายา เจ้าดารารัศมี เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบบเทศาภิบาล พระองค์ได้ยกคุ้มหลังนี้ให้เป็นศาลาว่าการมณฑลพายัพ และเมื่อเชียงใหม่เปลี่ยนสถานะมาเป็นจังหวัด คุ้มหลังนี้ได้เปลี่ยนมาเป็นศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาในปีพ.ศ. 2539 ทางจังหวัดเชียงใหม่ได้ย้ายศาลากลางจังหวัดและหน่วยราชการไปรวมกันอยู่ ณ ศูนย์ราชการแห่งใหม่บนถนนโชตนา ในปีพ.ศ. 2540 ทางเทศบาลนครเชียงใหม่ได้ขอปรับปรุงอาคารหลังนี้เพื่อใช้เป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ มาจนทุกวันนี้
������ ������นอกจากหอคำแล้ว ในบริเวณนี้ยังมีคุ้มเจ้าอีกหลายแห่ง เช่น คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (เจ้าแก้วมุงเมือง) ปัจจุบันเป็นสำนักงานยาสูบเชียงใหม่ คุ้มเจ้าราชวงศ์ ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของคุ้มแก้วพาเลซ และคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์) ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตรงข้ามหอศิลปวัฒนธรรมเป็นที่ตั้งของศาลแขวงเชียงใหม่ อาคารนี้เดิมเป็นที่ตั้งของคุ้มเจ้าเลาแก้ว ใกล้ๆ กับศาลแขวงเป็นที่ตั้งของโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย เดิมเป็นโรงเรียนประจำมณฑลพายัพ ซึ่งเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 8 (พ.ศ. 2444-2452) ได้บริจาคพื้นที่ๆ เป็นโรงละครให้สร้างโรงเรียน ต่อมาในปีพ.ศ. 2464 เจ้าราชวงศ์ (เจ้าเลาแก้ว) โอรสเจ้าอินทวโรรสได้ยกที่ดินซึ่งเคยเป็นคุ้มหลวงให้กับโรงเรียนเพื่อเชื่อมกับพื้นที่เดิมให้มีความกว้างขวางขึ้น
������ ������ปัจจุบันย่านนี้ กลายเป็นย่านท่องเที่ยวที่สำคัญ มีศูนย์กลางอยู่ที่อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ บ้านเรือนหลายแห่งถูกปรับเป็นร้านค้า ร้านอาหาร หากเป็นวันอาทิตย์ตั้งแต่ช่วงบ่ายจนถึงดึก จะมีการจัดงานถนนคนเดิน (walking street) ให้คนนำของต่างๆ มาวางขาย มีทั้งของที่เป็นงานศิลปหัตถกรรม และสินค้าจากโรงงาน ทั้งของใช้และอาหารการกิน ถนนคนเดินเป็นแหล่งช้อปปิ้งที่มีชื่อเสียงมาก เป็นสถานที่ๆ ทุกคนต้องไปเที่ยวเมื่อเดินทางมาถึงเชียงใหม่

รายการอ้างอิง
สงวน โชติรัตน์ . (2516). ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่.
������ ������พระนคร: คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์
������ ������สำนักนายกรัฐมนตรี.
วงศ์สัก ณ เชียงใหม่, เจ้า และคณะทายาทสายสกุล ณ เชียงใหม่. (2539).
������ ������เจ้าหลวงเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักหอสมุด
เชียงใหม่
ntic@lib.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
เชียงใหม่
itsc@itsc.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , ผู้ให้ทุนสนับสนุน
อุษณีย์ ธงไชย, ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญประจำโครงการ
2509
image/jpeg(.jpeg .jpe .jpg)
1 ภาพ; ขาวดำ; 8x10 นิ้ว
BS-CM-RD002
ท่านอาจจะบันทึกหรือพิมพ์รูปภาพเพื่อการวิจัยและการศึกษาค้นคว้า ถ้าท่านต้องการใช้สำหรับวัตถุประสงค์อื่น ท่านต้องติดต่อสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อขออนุญาตใช้
 
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
เว็บไซต์และฐานข้อมูลภาพล้านนาในอดีต โดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง

     
     
  Copyright © 2008 Northern Thai Information Center (NTIC), Chiang Mai University. All Rights Reserved.
239 Huay Kaew Rd., Mueang District , Chiang Mai, Thailand 50200
Tel. 0 5394 4514, 0 5394 4517
ntic@lib.cmu.ac.th
 
/* */