Find Picture of      By     
Thai Version English Version
หน้าแรก
       
 
ดูภาพตามหมวดหมู่ ความเป็นมา บุญเสริม สาตราภัย อดีตล้านนาจากภาพถ่าย ผู้มีอุปการะคุณ เพิ่มรูปของคุณ ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
  
  ขบวนรถสกูตเตอร์ (แลมเบร็ตต้า) ในขบวนแห่พิธีเปิดงานฤดูหนาว เชียงไหม่ เมื่อพ.ศ. 2504
กลับไปหน้าแสดงรายการภาพ  

คลิกที่รูปด้านบนเพื่อดูรูปขนาดใหญ่



ขบวนรถสกูตเตอร์ (แลมเบร็ตต้า) ในขบวนแห่พิธีเปิดงานฤดูหนาว เชียงไหม่ เมื่อพ.ศ. 2504
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ เชียงใหม่
งานฤดูหนาวเชียงใหม่
งานฤดูหนาว; งานรื่นเริง-เชียงใหม่

������ ������งานฤดูหนาวเป็นงานรื่นเริงประจำปีของเมืองเชียงใหม่ จัดขึ้นในราวปลายเดือนธันวาคมถึงต้นเดือนมกราคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาวที่เชียงใหม่มีความสวยงามมากที่สุด อากาศเย็นสบาย ธรรมชาติสวยงาม ดอกไม้กำลังบานสะพรั่ง พืชผักผลไม้อุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะพืชเมืองหนาวเช่น ส้ม สตรอเบอรี่ เป็นต้น ปัจจุบันงานฤดูหนาวเชียงใหม่จัดในบริเวณที่ว่างของส่วนราชการด้านหลังศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่หลังใหม่
������ ������งานฤดูหนาวเป็นงานที่สืบเนื่องมาจาก  งานแสดงพืชผล” ซึ่งเป็นงานแสดงผลผลิตของนักเรียน โรงเรียนฝึกหัดครูช้างเผือก (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่) ในปีพ.ศ. 2474 การจัดงานดังกล่าวได้ชะงักไป ต่อมาพระยาอนุบาลพายัพกิจ (ปุ่น อาสนจินดา) ซึ่งเป็นปลัดมณฑลพายัพได้จัดงานขึ้นใหม่และเปลี่ยนมาเป็นงานฤดูหนาว จัดเป็นงานรื่นเริงประจำปีของชาวเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดงาน 3 ประการด้วยกัน คือ ประการที่ 1 เพื่อหาเงินบำรุงด้านการศึกษา ประการที่ 2 เพื่อหาเงินช่วยเหลือด้านการสาธารณสุขโดยเฉพาะเด็กกำพร้า และประการที่ 3 เพื่อหาเงินสนับสนุนการเพาะปลูก สัตว์ พาหนะและปศุสัตว์
������ ������เงินดังกล่าวได้จากค่าเช่าร้านและค่าบัตรผ่านประตู บัตรผ่านประตูจะมีหมายเลขบัตรกำกับเพื่อใช้ในการออกรางวัล ซึ่งเป็นรางวัลใหญ่และมีมูลค่ามาก จนกลายเป็นสิ่งที่ดึงดูดให้คนซื้อบัตรเที่ยวงานเป็นจำนวนมาก แม้แต่กรรมการซึ่งสามารถเข้าฟรีได้ก็ยังนิยมซื้อบัตรผ่านประตูเพื่อเสี่ยงโชครับรางวัลเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ทำให้การจัดงานฤดูหนาวในแต่ละครั้งทำรายได้ให้กับผู้จัดไม่น้อยทีเดียว
������ ������จากงานแสดงพืชผลพัฒนามาสู่งานฤดูหนาว มีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปหลายประการ ทั้ง สถานที่จัดงาน และเนื้อหาในการจัดงานมีความหลากหลายมากขึ้น
������ ������สถานที่จัดงานมีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้งคือ พ.ศ. 2491 จัดที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย พ.ศ. 2497 จัดที่สนามกีฬาเทศบาล และต่อมาย้ายไปจัดในบริเวณที่ว่างของส่วนราชการด้านหลังศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่หลังใหม่ บนถนนสายเชียงใหม่-แม่ริม ซึ่งเป็นสถานที่จัดงานฤดูหนาวมาจนถึงทุกวันนี้
������ ������ความหลากหลายในเนื้อหาการจัดงาน งานฤดูหนาวเป็นงานออกร้านของหน่วยงานต่างๆ ทั้งหน่วยงานราชการ และร้านค้าเอกชน เช่น การออกร้านของกาชาดเชียงใหม่ การอธิบายกิจกรรมต่างๆ ของกรมชลประทาน การจัดแสดงผลิตภัณฑ์ของกระทรวงเศรษฐการ การแสดงกฏจราจรของตำรวจ การเล่นทิ้งระเบิดปลอมๆ ของฝูงบินผสมที่ 21 และการแสดงกิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตัวอย่างร้านเอกชน เช่น ร้านเชียงใหม่สามิต ร้านนิยมพานิช ร้านซิงเกอร์ ปั๊มเอสโซ่ และร้านของบริษัทไทยสงวน เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีการออกร้านของหน่วยงานต่างประเทศในเชียงใหม่อีกด้วย เช่น ร้านของสหภาพพม่า และร้านของสำนักงานแถลงข่าว (B.I.S) เป็นต้น
������ ������แม่เหล็กที่ดึงดูดผู้คนเข้าชมงานฤดูหนาวอย่างคับคั่งคือ เวทีประกวดสาวงามซึ่งมีถึง 2 เวที คือเวทีประกวดนางสาวเชียงใหม่ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ. 2476 เวทีนี้คัดเลือกสาวงามจากอำเภอต่างๆ ในเชียงใหม่ เฉพาะที่เป็นสาวเชียงใหม่ตั้งแต่กำเนิดเท่านั้น เวทีที่ 2 คือ เวทีประกวดนางสาวถิ่นไทยงามซึ่งคัดเลือกสาวงามจาก 17 จังหวัดภาคเหนือ สาวงามที่ได้รับตำแหน่งส่วนใหญ่มาจาก อ.ป่าซาง จ.ลำพูน และอ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ จนเป็นที่เล่าลือกันว่าอำเภอทั้งสองเป็นอำเภอของสาวงาม และสาวงามเหล่านี้มักจะทำงานเป็นพนักงานต้อนรับของร้านขายของพื้นเมือง เช่น ร้านขายผ้าไหมและร้านผ้าฝ้าย เป็นต้น ทำให้ร้านค้าเหล่านี้ขายสินค้าดีมาก เพราะมักจะมีคนแวะเวียนมาที่ร้านเหล่านี้มิได้ขาดสาย
������ ������การประกวดนางงามดังกล่าวเป็นที่สนใจของหญิงสาวในภาคเหนือมาก เพราะการได้รับชัยชนะบนเวทีนี้จะเป็นใบเบิกทางไปสู่เวทีประกวดระดับชาติ คือเวทีนางสาวไทย ซึ่งก็มีสาวงามจากเวทีนี้ได้รับรางวัลจากเวทีระดับชาติหลายคน เช่น นวลสวาท ลังกาพินธุ์ รุ่งทิพย์ ภิญโญ ดวงจันทร์ บุญศรี เนตรทราย ชลาธาร และอรอนงค์ ปัญญาวงศ์ เป็นต้น
������ ������การจัดประกวดนางงามทั้ง 2 เวทีในสมัยก่อนนั้น นับเป็นงานใหญ่และเป็นที่สนใจแก่ผู้คนทั่วไป ตอนบ่ายๆ จะมีขบวนแห่สาวงามนั่งรถเปิดประทุนจากโรงแรมรถไฟไปจนถึงเวทีประกวด บางปีมีขบวนม้าและขบวนรถเวสป้านำหน้า สองข้างทางมีผู้คนรอชมเป็นจำนวนมาก ในบางปีมีนางสาวไทยจากกรุงเทพฯ มาช่วยทำให้งานน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เช่นในปีพ.ศ. 2508 อาภัสรา หงสกุล นางสาวไทยเดินทางมาร่วมงานและเป็นผู้สวมมงกุฎกับสายสะพายให้นางสาวเชียงใหม่
������ ������มีเรื่องเล่าสนุกๆ ของสาวงามในสมัยก่อนคือ สาวงามกับเตาอั้งโล่ ทั้งนี้เพราะในช่วงการประกวดเป็นช่วงที่อากาศในเชียงใหม่หนาวมาก สาวงามที่ใส่ชุดว่ายน้ำค่อยๆ เดินบนเวทีโปรยยิ้มอย่างสวยงามให้ฝูงชน แต่พอเข้าไปหลังเวทีต้องวิ่งอย่างเร็วไปผิงไฟจากเตาอั้งโล่ที่ตั้งเรียงรายเป็นแถวยาวอยู่ด้านหลังเวที
������ ������ปัจจุบัน มีคนเชียงใหม่น้อยมากที่ไปเที่ยวงานฤดูหนาว เนื่องจากมีงานรื่นเริงอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งงานฤดูหนาวยังถูกมองว่ามีลักษณะคล้ายงานวัด ร้านค้าส่วนใหญ่ก็เป็นสินค้าที่ขายอยู่ทั่วไปในตลาดและเวทีประกวดนางงามซึ่งเคยเป็นที่ดึงดูดผู้คนก็คลายมนต์เสน่ห์ลงไป เพราะความนิยมในการดูสาวงามบนเวทีนั้นมีเฉพาะในกลุ่มคนบางกลุ่มเท่านั้น

รายการอ้างอิง
สุดารา สุจฉายา (บรรณาธิการ). (2540). เชียงใหม่ แดนแห่งต้นธาร
������ ������ศูนย์กลางของอาณาจักรและศิลปวัฒนธรรมล้านนา.
������ ������กรุงเทพฯ: สารคดี.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักหอสมุด
เชียงใหม่
ntic@lib.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
เชียงใหม่
itsc@itsc.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , ผู้ให้ทุนสนับสนุน
อุษณีย์ ธงไชย, ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญประจำโครงการ
2504
image/jpeg(.jpeg .jpe .jpg)
1 ภาพ; ขาวดำ; 8x10 นิ้ว
BS-CM-WF002
ท่านอาจจะบันทึกหรือพิมพ์รูปภาพเพื่อการวิจัยและการศึกษาค้นคว้า ถ้าท่านต้องการใช้สำหรับวัตถุประสงค์อื่น ท่านต้องติดต่อสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อขออนุญาตใช้
 
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
เว็บไซต์และฐานข้อมูลภาพล้านนาในอดีต โดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง

     
     
  Copyright © 2008 Northern Thai Information Center (NTIC), Chiang Mai University. All Rights Reserved.
239 Huay Kaew Rd., Mueang District , Chiang Mai, Thailand 50200
Tel. 0 5394 4514, 0 5394 4517
ntic@lib.cmu.ac.th
 
/* */