Find Picture of      By     
Thai Version English Version
หน้าแรก
       
 
ดูภาพตามหมวดหมู่ ความเป็นมา บุญเสริม สาตราภัย อดีตล้านนาจากภาพถ่าย ผู้มีอุปการะคุณ เพิ่มรูปของคุณ ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
  
  ยุคขัวเหล็ก ห้องแถวไม้ชั้นเดียว ซ้ายสุดของภาพ เป็นห้องแถวของนางสุกัณธา ไชยวัณณ์ คุณยายของนายบุญเสริม เมื่อพ.ศ. 2507
กลับไปหน้าแสดงรายการภาพ  

คลิกที่รูปด้านบนเพื่อดูรูปขนาดใหญ่



ยุคขัวเหล็ก ห้องแถวไม้ชั้นเดียว ซ้ายสุดของภาพ เป็นห้องแถวของนางสุกัณธา ไชยวัณณ์ คุณยายของนายบุญเสริม เมื่อพ.ศ. 2507
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ เชียงใหม่
สะพานนวรัฐ
สะพานนวรัฐ; สะพาน -- เชียงใหม่

������ ������สะพานนวรัฐเป็นสะพานข้ามแม่น้ำปิงแห่งที่ 2 ของเมืองเชียงใหม่ เป็นสะพานที่สร้างเชื่อมถนนเจริญเมืองจากสถานีรถไฟกับถนนท่าแพซึ่งเป็นถนนสายเศรษฐกิจหลักในช่วงนั้น ก่อนหน้านี้ชาวบ้านเดินทางไปมาระหว่างสองฝั่งโดยใช้เรือข้ามฟาก หรือใช้ขัวกุลาซึ่งสร้างเชื่อมระหว่างฝั่งวัดเกตการามกับกาดต้นลำไย
������ ������สะพานแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อการตั้งถิ่นฐานทำมาหากินของผู้คนทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิงมีมากขึ้น การเดินทางและการขนถ่ายสินค้าระหว่างสองฝั่งแม่น้ำเพิ่มความถี่ในแต่ละวันมากขึ้น ทำให้การเดินทางโดยใช้ขัวกุลาเพียงแห่งเดียวดูจะไม่เพียงพอ จึงได้มีการสร้างสะพานนวรัฐขึ้นมาอีกแห่ง และเมื่อสะพานนวรัฐสร้างเสร็จชาวบ้านเรียกว่าขัวใหม่ เรียกขัวกุลาว่าขัวเก่า
������ ������เมื่อสะพานนวรัฐสร้างเสร็จทำให้การเดินทางและการขนส่งสินค้าจากฝั่งตะวันออกสู่ฝั่งตะวันตกสะดวกสบายมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงที่รถไฟมาถึงเชียงใหม่แล้ว สินค้าที่ส่งขายไปมาระหว่างกรุงเทพฯ และเชียงใหม่ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าการเกษตรจากเชียงใหม่ที่ส่งลงไปขายที่กรุงเทพฯ หรือสินค้าที่ส่งขึ้นมาจากกรุงเทพฯ เช่น เครื่องจักรที่ใช้ในโรงงาน และยวดยานพาหนะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน สินค้าเหล่านี้ล้วนต้องการพื้นที่และความสะดวกรวดเร็วในการขนส่งแทบทั้งสิ้น รวมถึงกลุ่มคนจีนจำนวนมากที่หลั่งไหลจากกรุงเทพฯ โดยทางรถไฟ ขึ้นมาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ในเชียงใหม่ เช่น กาดหลวง กาดลำไย และถนนท่าแพ
������ ������บริเวณพื้นที่ตั้งของสะพานนวรัฐนี้ได้มีการรื้อและสร้างสะพานใหม่มาแล้วถึง 3 ครั้ง สะพานแรกสร้างในปี พ.ศ. 2453 โดยช่างชาวอิตาลี เป็นสะพานไม้สักหลังคาโค้ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2464 ได้รื้อสะพานไม้สักลง เนื่องจากสะพานเก่าคับแคบและผุพัง สร้างสะพานใหม่เป็นสะพานเหล็ก หลังคาโค้ง ตอม่อทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ชาวบ้านเรียกว่า ขัวเหล็ก สะพานใหม่นี้มีชื่อเป็นทางการว่า ‘สะพานนวรัฐ’ เพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2454-2482) ในขณะนั้น
������ ������มีเรื่องเล่าว่าในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางราชการได้ใช้ทางมะพร้าวพรางสะพานไม่ให้ฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิด แต่ชาวบ้านเชื่อว่าพรางไม่ได้ เพราะตัวสะพานมีรูโบ๋จากรอยกระสุนของนักบินอเมริกันที่บินโฉบลงมายิงปืนกลเข้าใส่สะพาน
������ ������ในเวลาต่อมาเมื่อมียวดยานพาหนะมากขึ้น ทำให้การจราจรบนสะพานติดขัดมาก จนต้องมีการตั้งถังน้ำมันบรรจุทรายให้จราจรขึ้นไปยืนถือป้าย  ไป” และ  หยุด” เพื่อจัดระเบียบการเดินรถบนสะพาน ประกอบกับสะพานเหล็กเริ่มผุ ฉะนั้นในปี พ.ศ. 2509 จึงรื้อสะพานเหล็กออกและสร้างเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กดังที่เห็นในปัจจุบัน ในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2510 จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้เดินทางมาทำพิธีเปิดสะพานนวรัฐพร้อมกับสะพานเม็งรายอนุสรณ์ในคราวเดียวกัน

รายการอ้างอิง
ปลายอ้อ ชนะนนท์. (2529). บทบาทนายทุนพ่อค้าที่มีต่อการก่อ
������ ������และขยายตัวของทุนนิยมภาคเหนือของประเทศไทย
������ ������พ.ศ.2464-2523. วิทยานิพนธ์หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
������ ������จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญเสริม สาตราภัย. (2546). เชียงใหม่กับภัยทางอากาศ. กรุงเทพฯ:
������ ������สายธาร.
บุญเสริม สาตราภัย. (2522). ลานนาไทยในอดีต.
������ ������เชียงใหม่: ช้างเผือกการพิมพ์.
บุญเสริม สาตราภัย. (2550). ล้านนา...เมื่อตะวา.
������ ������เชียงใหม่: Bookworm.
บุญเสริม สาตราภัย และสังคีต จันทนะโพธิ. (2520). อดีตลานนา.
������ ������กรุงเทพฯ: เรืองศิลป์.
อนุ เนินหาด, พ.ต.ท. (2543). เชียงใหม่สะปะเรื่องตะวา.
������������เชียงใหม่: นพบุรีการพิมพ์.
อนุ เนินหาด, พ.ต.ท. (2548). ย่านถนนราชดำเนิน.
������������เชียงใหม่: นพบุรีการพิมพ์. (สังคมเชียงใหม่ เล่ม 11).
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักหอสมุด
เชียงใหม่
ntic@lib.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
เชียงใหม่
itsc@itsc.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , ผู้ให้ทุนสนับสนุน
อุษณีย์ ธงไชย, ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญประจำโครงการ
2507
image/jpeg(.jpeg .jpe .jpg)
1 ภาพ; ขาวดำ; 8x10 นิ้ว
BS-CM-BR002
ท่านอาจจะบันทึกหรือพิมพ์รูปภาพเพื่อการวิจัยและการศึกษาค้นคว้า ถ้าท่านต้องการใช้สำหรับวัตถุประสงค์อื่น ท่านต้องติดต่อสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อขออนุญาตใช้
 
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
เว็บไซต์และฐานข้อมูลภาพล้านนาในอดีต โดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง

     
     
  Copyright © 2008 Northern Thai Information Center (NTIC), Chiang Mai University. All Rights Reserved.
239 Huay Kaew Rd., Mueang District , Chiang Mai, Thailand 50200
Tel. 0 5394 4514, 0 5394 4517
ntic@lib.cmu.ac.th
 
/* */