|
การทำบุญเมือง เมื่อ พ.ศ. 2505 |
|
|
|
|
|
|
|
|
������ ������...เจ้าพญาสามประยาสามฝั่งแกน หื้อชุมนุมหมอโหรานักปราชญ์ทั้งหลาย... กล่าวว่าเคราะห์เมืองมีมากนัก... เราควรพร้อมกันปูชาชาตาเมือง ถัดนั้น ควรปูชา สรี เตชะ อายุเมือง แล้วปูชาอารักษ์เมืองชุแห่ง เป็นต้นว่า ปูชาเจ้าพญามังราย ถัดนั้นหื้อปูชาท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 และอินทธิราช(พระอินทร์) ... มหาเถรเจ้า สูตรมันตรัตนสูตรเมตตาอาสนาฏิยสูตร แล้วอยาดน้ำอุทิศบุญ หื้อแก่อารักษ์เทพยดาอันรักสาเมืองชุแห่ง...
������ ������ข้อความด้านบนกล่าวถึง การทำพิธีบูชาและสืบชะตาเมืองในครั้งที่กองทัพฮ่อยกทัพเข้ามาตีเชียงใหม่และเชียงแสน เมื่อปีพ.ศ. 1945-46 การทำบุญเมืองเช่นนี้เป็นสิ่งที่ทำขึ้นทุกครั้งที่บ้านเมืองมีภัยร้าย เช่น เมื่อพ.ศ. 2368 ในสมัยพระเจ้ากาวิละ (พ.ศ. 2317-2325) ได้เกิดอาเพศ คางคกรวมกันเป็นหมู่เดินเข้าประตูช้างม่อย นกยางจิกตีกันที่แจ่งศรีภูมิ นกแร้งและกาบินร่อนวนอยู่กลางเวียง คนท้องเสียกันทั้งเมือง อาเพศดังกล่าวถือว่าเมืองกำลังมีเคราะห์ พระเจ้ากาวิละจึงโปรดให้บูชาอินทร อุบาทว์ และบูชาเคราะห์ของเมือง นิมนต์พระสงฆ์ 108 รูป กระทำพระปริตรมงคลสูตรทั่วเมือง 7 วัน
������ ������จากการทำบุญเมืองทั้งสองครั้งที่กล่าวมาแล้วในข้างต้น อาจจะอธิบายได้ว่าการทำบุญเมืองหรือสืบชะตาเมือง เป็นกิจกรรมที่ทำขึ้นเพื่อไหว้ผีหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเมือง เพื่อให้บ้านเมืองพ้นเคราะห์ ไม่ล่มสลาย และทำให้ผู้คนมีความสุขความเจริญ
������ ������ในปัจจุบันเทศบาลเมืองเชียงใหม่จัดให้มีประเพณีทำบุญและสืบชะตาเมืองทุกปี ในช่วงประมาณเดือน 8 หรือเดือน 9 เหนือ หรือประมาณปลายเดือนพฤษภาคมและต้นเดือนมิถุนายน สถานที่ทำพิธีประกอบด้วยบริเวณกลางเมือง ประตูเมืองและแจ่งหรือมุมเมืองทุกแห่ง รวม 10 แห่ง ในการทำพิธีมีการบูชาท้าวจตุโลกบาล และผีหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเมือง พร้อมกับนิมนต์พระสงฆ์ 108 รูป ร่วมทำพิธี
������ ������จากพิธีทำบุญและสืบชะตาเมือง ทำให้เห็นว่าแนวความเชื่อเรื่องผีและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองมีความเข้มแข็งอยู่มาก เชื่อว่าผีและสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะสิงสู่อยู่ทุกหนทุกแห่ง คอยดูแลปกป้องผู้คนให้อยู่กันอย่างปกติสุข ผีที่ใหญ่ที่สุด คือ เสื้อเมือง หรืออารักษ์เมือง หรือที่บางคนเรียกว่าผีเจ้านาย เป็นผีที่มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์มากที่สุด คนเมืองเชื่อว่า ผีเจ้านายมาจากผู้ปกครององค์สำคัญที่สิ้นพระชนม์ไปแล้ว เช่นพระยามังรายปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์มังรายเป็นต้น บรรพบุรุษเหล่านี้ทำหน้าที่คุ้มครองบ้านเมือง ดูแลความสงบสุขและปกปักรักษาทุกๆ อย่างในเมือง ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์เลี้ยง ไร่นา ป่าเขา หรือลำน้ำ ผีเจ้านายองค์สูงสุดของเชียงใหม่ คือ เจ้าหลวงคำแดง ซึ่งสิงสถิตอยู่ ณ ดอยเชียงดาว แต่เวลาเซ่นหรือเลี้ยงจะทำกันที่หอตรงแจ่งศรีภูมิหรือมุมกำแพงเมืองเชียงใหม่ ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
รายการอ้างอิง
มณี พยอมยงค์. (2533). ประเพณีสิบสองเดือน ล้านนาไทย.
(พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: ส.ทรัพย์การพิมพ์.
สงวน โชติรัตน์. (2516). ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่.
������ ������พระนคร: คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์
������ ������สำนักนายกรัฐมนตรี. |
|
|
|
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักหอสมุด |
|
เชียงใหม่ |
|
ntic@lib.cmu.ac.th |
|
|
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ |
|
เชียงใหม่ |
|
itsc@itsc.cmu.ac.th |
|
|
|
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , ผู้ให้ทุนสนับสนุน
อุษณีย์ ธงไชย, ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญประจำโครงการ |
|
|
|
2505 |
|
|
|
image/jpeg(.jpeg .jpe .jpg) |
|
|
|
1 ภาพ; ขาวดำ; 8x10 นิ้ว |
|
|
|
BS-CM-PC001 |
|
|
|
ท่านอาจจะบันทึกหรือพิมพ์รูปภาพเพื่อการวิจัยและการศึกษาค้นคว้า ถ้าท่านต้องการใช้สำหรับวัตถุประสงค์อื่น ท่านต้องติดต่อสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อขออนุญาตใช้ |
|
|
|