|
ต้นฉำฉาสองฝั่งถนนสายเชียงใหม่-สันกำแพง เมื่อ พ.ศ.2515 |
|
|
|
|
|
|
|
|
������ ������หลังจากสงครามครั้งที่ 2 เป็นต้นมา มีปัจจัยอย่างน้อย 2 ประการที่ทำให้รัฐบาลเร่งพัฒนาการคมนาคมทั่วประเทศ ปัจจัยประการที่ 1 เป็นปัจจัยทางด้านยุทธศาสตร์คือ ป้องกันการแทรกแซงของลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งมีความเข้มแข็งและกำลังคุกคามประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แทบทุกประเทศในขณะนั้น จะเห็นได้ว่าในช่วงเวลาดังกล่าวประเทศต่างๆ ในแถบนี้ล้วนมีปัญหาการต่อสู้ระหว่างลัทธิคอมมิวนิสต์กับลัทธิประชาธิปไตยกันอย่างหนัก
������ ������ปัจจัยประการที่ 2 : เป็นปัจจัยทางด้านการเกษตรเพื่อส่งออก ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาประเทศภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1-4 (พ.ศ. 2504-2524) ที่เปลี่ยนนโยบายในการผลิตทางด้านการเกษตรจากการเกษตรเพื่อยังชีพมาเป็นการผลิตเพื่อขายเพื่อ ตอบสนองความต้องการของตลาด รวมทั้งเพื่อรองรับการขยายตัวของระบบอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นอีกกลไกหนึ่งที่รัฐบาลสนับสนุนให้มีการขยายตัวมากขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปผลผลิตทางด้านการเกษตร เช่น โรงสีข้าว และโรงงานน้ำตาล เป็นต้น จากปัจจัยดังกล่าวทำให้รัฐบาลหันมาเร่งพัฒนาโครงสร้างเศรษฐกิจพื้นฐาน เพื่อช่วยให้การผลิตในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมขยายตัวมากขึ้น โดยเฉพาะการสร้างถนน เพื่อเชื่อมโยงชนบทเข้ากับเมือง และเชื่อมโยงภูมิภาคเข้ากับเมืองหลวง
������ ������การสร้างถนนนอกจากเพื่ออำนวยความสะดวกในการขยายอำนาจรัฐเข้าไปถึงภูมิภาคที่มีปัญหาจากการคุกคามของกองกำลังติดอาวุธของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยหรือประเทศเพื่อนบ้านแล้ว ยังเป็นเส้นทางของการระบายสินค้าเกษตรที่ผลิตขึ้นในเชิงพาณิชย์เข้าสู่ส่วนกลางเพื่อส่งไปยังต่างประเทศอีกต่อหนึ่ง
������ ������สำหรับพื้นที่ในเขตภาคเหนือซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของประเทศนั้น ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1-4 (พ.ศ.2504-2524) ได้กำหนดให้จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง และลำพูน เป็นศูนย์กลางความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ พร้อมกับกำหนดแนวทางการพัฒนาภาคเหนือไว้ดังนี้คือ การกระจายรายได้และปรับปรุงโครงสร้างการผลิต โดยให้ความสำคัญแก่เขตชนบทที่ยากจนและเขตเมืองที่มีปัญหาด้านเศรษฐกิจและการว่างงานสูง โดยการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรและใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพ สำรวจหาแหล่งทรัพยากรใหม่ การพัฒนาการเกษตรกับอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตการเกษตร
จากการกำหนดแผนพัฒนาดังกล่าว นำมาสู่การเร่งพัฒนาเขตพื้นที่ภาคเหนือในหลายๆ ด้าน เช่น การนำเทคโนโลยีทางด้านการเกษตรเข้ามาใช้ในการพัฒนาเพื่อเพิ่มผลผลิต เช่น ปลูกพืชพันธุ์ใหม่ การใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ยาฆ่าแมลง และใช้เครื่องจักรในระบบการผลิต รวมทั้งการสร้างคลองชลประทาน การพัฒนาถนนและทางหลวงเพื่ออำนวยความสะดวกและรวดเร็วในการขนส่งสินค้าระหว่างแหล่งเพาะปลูกกับแหล่งแปรรูปและแหล่งส่งออก
������ ������การขยายตัวทางด้านการคมนาคมในเขตภาคเหนือหลังจากที่ทางรถไฟมาถึงเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2464 รัฐบาลได้มีนโยบายสร้างถนนอย่างต่อเนื่อง จะหยุดชะงักไปบ้างระหว่างในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ถนนที่สร้างในช่วงแรกๆ มีทั้งทางต่าง ซึ่งหมายถึงเส้นทางของวัวต่างในเมืองที่อยู่ในเขตภูเขาสูง ทางเกวียนในพื้นที่ราบ และถนนในเขตเมือง จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อความต้องการผลผลิตทางด้านการเกษตรสูงขึ้นและรถยนต์เข้ามามีบทบาทในการขนส่งมากขึ้น ทำให้รัฐบาลได้เร่งพัฒนาเส้นทางคมนาคมอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วขึ้น รวมทั้งมีการสร้างสำนักงานแขวงการทางเชียงใหม่ ที่หน้าโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เพื่อดูแลการสร้างถนนในเชียงใหม่
������ ������ในปี พ.ศ. 2495 รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน โดยมีสาระสำคัญคือให้กรมทางหลวงแผ่นดินสร้างทางให้เสร็จ 88 สาย ภายใน 4 ปี (2495-2498) เฉพาะในภาคเหนือมีถึง 18 สาย เช่น จากชัยนาท ถึงเกาะคา จ.ลำปาง เถิน ลี้ ลำพูน ร้องกวาง งาว ฝาง เชียงราย ลำพูน ลำปาง แม่แจ่ม แม่ฮ่องสอน
������ ������นอกจากนั้น ยังได้มีการซ่อมแซมและขยายถนนสายต่างๆ เช่น เชียงใหม่ ฮอด เชียงใหม่ สันกำแพง เชียงใหม่ สันทราย เชียงใหม่ เชียงดาว ฝาง เชียงใหม่ ลำพูน
������ ������ระหว่างปี พ.ศ. 2510-2530 มีถนนสายสำคัญๆ ในภาคเหนือสร้างเสร็จ และมีการปรับปรุงถนนสายต่างๆ ดังนี้
1. ถนนที่สร้างเสร็จ เช่น
พ.ศ.2512 ถนนสายเชียงใหม่ ลำปาง (สาย 11) และสายเชียงใหม่ ฮอด
พ.ศ.2513 ถนนสายนครสวรรค์ เชียงราย
พ.ศ.2519 ถนนสายเชียงใหม่ เชียงราย
2. พ.ศ. 2523 ได้เริ่มปรับปรุงถนนดินลูกรังระหว่างอำเภอต่างๆ ดังนี้
ถนนสายอำเภอแม่ริม กับอำเภอสะเมิง
ถนนจากบ้านแม่มาลัย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ไปยังอำเภอปาย จังหวัด
แม่ฮ่องสอน
3. พ.ศ. 2529-2531 สร้างถนนเชื่อมต่อระหว่างอำเภอปายกับอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
4. พ.ศ.2521-2530 ปรับปรุงถนนเชื่อมระหว่างถนนสายหลักของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งติดต่อกับอำเภอรอบนอก เช่น อมก๋อย แม่แจ่ม แม่วาง พร้าว และสะเมิง รวมทั้งได้มีการสร้างถนนจากอำเภอเข้าสู่หมู่บ้านในชนบทหรือหมู่บ้านในเขตภูเขา เป็นต้น
������ ������การพัฒนาเส้นทางคมนาคมที่สะดวก มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ ทั้งในด้านการค้าและการผลิต การแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างหมู่บ้านกับเมือง และเมืองกับกรุงเทพฯ ทำได้สะดวกและรวดเร็วขึ้นโดยอาศัยถนนที่เชื่อมต่อกันเป็นใยแมงมุมทั่วประเทศดังกล่าว
������ ������ผลพวงอย่างหนึ่งในการสร้างถนนระหว่างเมืองคือการสร้างสถานีรถขนส่งรอบเมืองเชียงใหม่ เพื่อเป็นสถานที่ขนส่งระหว่างเมือง เช่นการสร้างสถานีขนส่งช้างเผือกบนถนนโชตนาเป็นสถานีขนส่งแห่งแรกของเมืองเชียงใหม่ สถานีรถแห่งนี้ทำหน้าที่ขนส่งระหว่างเชียงใหม่กับชุมชนทางเหนือคือ แม่ริม แม่แตง เชียงดาว ฝาง และท่าตอน
รายการอ้างอิง
ชูสิทธิ์ ชูชาติ. (2538). กาดงัว (ตลาดวัว) : มิติหนึ่งของการสะท้อน
������ ������ ความเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของสังคมชาวนาในภาคเหนือของประเทศไทย.
������ ������เชียงใหม่: สถาบันราชภัฏเชียงใหม่.
ปลายอ้อ ชนะนนท์. (2529). บทบาทนายทุนพ่อค้าที่มีต่อการก่อ
������ ������และขยายตัวของทุนนิยมภาคเหนือของประเทศไทย
������ ������พ.ศ.2464-2523. วิทยานิพนธ์หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
������ ������จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนุ เนินหาด, พ.ต.ท. (2548). ประวัติชุมชนในเมืองเชียงใหม่.
������ ������เชียงใหม่: นพบุรีการพิมพ์. (สังคมเชียงใหม่เล่ม 10).
อนุ เนินหาด, พ.ต.ท. (2546). สังคมเมืองเชียงใหม่ เล่ม 5.
������ ������เชียงใหม่: นพบุรีการพิมพ์. |
|
|
|
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักหอสมุด |
|
เชียงใหม่ |
|
ntic@lib.cmu.ac.th |
|
|
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ |
|
เชียงใหม่ |
|
itsc@itsc.cmu.ac.th |
|
|
|
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , ผู้ให้ทุนสนับสนุน
อุษณีย์ ธงไชย, ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญประจำโครงการ |
|
|
|
2515 |
|
|
|
image/jpeg(.jpeg .jpe .jpg) |
|
|
|
1 ภาพ; ขาวดำ; 8x10 นิ้ว |
|
|
|
BS-CM-RD095 |
|
|
|
ท่านอาจจะบันทึกหรือพิมพ์รูปภาพเพื่อการวิจัยและการศึกษาค้นคว้า ถ้าท่านต้องการใช้สำหรับวัตถุประสงค์อื่น ท่านต้องติดต่อสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อขออนุญาตใช้ |
|
|
|