|
จากถนนลาดยาง มาเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก งานสร้างถนนเจริญเมือง เมื่อพ.ศ. 2508 |
|
|
|
|
|
|
|
|
ย่านสันป่าข่อยเป็นพื้นที่ๆตั้งอยู่ตรงกันข้ามย่านวัดเกตุ มีถนนเจริญเมืองคั่นกลาง ก่อนที่ทางรถไฟจะขึ้นมาถึงเชียงใหม่ ย่านสันป่าข่อยเป็นย่านเล็กๆ มีผู้คนอยู่อาศัยไม่หนาแน่นมากนัก ชุมชนแรก ๆ ที่ตั้งอยู่ในเขตนี้ คือ ชุมชนบ้านท่าสะต๋อย (ดูรายละเอียดในเรื่องชุมชนท่าสะต๋อย) ด้านหลังตลาดสันป่าข่อยในปัจจุบัน
เมื่อรถไฟมาถึงเชียงใหม่ พร้อมกับนำชาวจีนจากกรุงเทพฯ เข้ามาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินในพื้นที่นี้เป็นจำนวนมากทำให้ย่านนี้กลายเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญของเชียงใหม่ มีร้านค้าตั้งเรียงรายอยู่ 2 ฝั่งถนนเจริญเมือง ทำหน้าที่เป็นแหล่งรวมสินค้าที่จะส่งลงไปขายที่กรุงเทพฯ โดยเฉพาะพืชผลทางการเกษตรจากอำเภอรอบนอก เช่น ข้าว สุกร ยาสูบและครั่ง รวมทั้งทำหน้าที่กระจายสินค้าจากรุงเทพฯ ส่งไปยังตลาดต่าง ๆ ทั้งในเชียงใหม่และเมืองอื่น ๆ ในเขตตอนบน คนเชียงใหม่เล่าให้ฟังว่า ในยุคนั้นบริเวณย่านสันป่าข่อยเต็มไปด้วยโกดังสินค้าสำหรับพักรอสินค้าก่อนส่งต่อไปยังที่ต่าง ๆ คึกคักไปด้วยผู้คนที่มาซื้อขายสินค้า มีวัวล้อเป็นจำนวนมากบนสองฝั่งถนนรอรับจ้างขนของ กิจการค้าเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วเป็นการดำเนินธุรกิจของกลุ่มพ่อค้าจีนแทบทั้งสิ้น ตัวอย่างเช่น นายทรง แซ่อั้ง (อังคไพโรจน์) เล่าว่า เขานั่งรถไฟไปซื้อของ เช่น เกลือ น้ำตาล และกะปิ จากกรุงเทพฯ มาขายที่ร้าน และจากที่นี่มีพ่อค้าจากกาดลำไยและกาดรอบนอกมาซื้อไปขาย ขุนอนุกรบุรี(ต้นตระกูลนิมากร) เปิดร้านเหลี่ยวชุ่นหลี สั่งรถจักรยานบรรทุกรถไฟจากกรุงเทพฯ ขึ้นมาขาย เป็นต้น
ศูนย์กลางที่สำคัญของพื้นที่ตรงนี้คือ กาด(ตลาด) สันป่าข่อย ไม่มีหลักฐานกล่าวว่ากาดแห่งนี้ตั้งขึ้นเมื่อใดแน่ แต่เข้าใจว่าคงตั้งขึ้นก่อนปีพ.ศ. 2469 เนื่องจากเมื่อรัชกาลที่ 7 เสด็จประพาสเชียงใหม่ กาดแห่งนี้มีอยู่แล้ว มีหลักฐานว่ากาดแห่งนี้สร้างจากการร่วมทุนระหว่างพระพิจิตรโอสถ ขุนอนุพลนคร และพลตรี พระยาอนิรุทธเทวา (ม.ล.ฟื้น พึ่งบุญ) ปัจจุบันตลาดสันป่าข่อยเป็นตลาดที่คนเก่าแก่ในเชียงใหม่รู้จักกันดีว่ามีของกินอร่อย โดยเฉพาะอาหารของชาวจีน ซึ่งมีทั้งที่วางแผงขายในตลาด และเปิดร้านขายอยู่ริมสองฝั่งถนนเจริญเมือง ร้านที่ยังเป็นที่รู้จักกันดี คือ ร้านซาลาเปาวิกุล และร้านอาหารเจริญเมือง เป็นต้น
ศูนย์กลางความเชื่อของชาวพุทธในย่านสันป่าข่อย คือ วัดสันป่าข่อย วัดแห่งนี้ตั้งอยู่ด้านข้างของกาดสันป่าข่อย เดิมวัดนี้ชื่อวัดนางเหลียว ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง แต่บริเวณวัดถูกน้ำท่วม จึงได้ย้ายมาอยู่ในบริเวณพื้นที่ปัจจุบัน เรียกชื่อวัดตามชื่อพื้นที่ตั้งว่าวัดสันป่าข่อย มีหลักฐานว่า เจดีย์ของวัดนี้สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ และมีการทำบุญฉลองพระเจดีย์ในปี พ.ศ. 2411 จากการเข้าไปสำรวจวัดนี้ พบว่าวิหารหลังปัจจุบันสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2472
แม้ว่าเขตนี้จะมีศาลเจ้าจีนซึ่งเป็นสถานที่ทำบุญของพ่อค้าชาวจีนแล้วก็ตาม แต่เข้าใจว่าวัดนี้คงเป็นศูนย์กลางการทำบุญของชาวจีนพุทธในแถบนี้ด้วยเช่นกัน
ย่านสันป่าข่อยเริ่มซบเซาลงเมื่อถนนระหว่างกรุงเทพฯ กับเชียงใหม่สร้างเสร็จ การเดินทางและการขนส่งด้วยรถยนต์จึงเข้ามาแทนที่รถไฟ เพราะสะดวกรวดเร็วกว่า ประกอบกับในสมัยนั้นรถไฟระหว่างเชียงใหม่กับกรุงเทพฯ เดินทางอาทิตย์ละ 2 วันเท่านั้น นอกจากนั้นรถยังสามารถเดินทางเข้าไปรับซื้อสินค้าจากแหล่งผลิตได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลางที่ตลาดสันป่าข่อยอีกต่อไป
รายการอ้างอิง
ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่. วัดสำคัญของนครเชียงใหม่ เล่ม 2. เชียงใหม่ :
ส. ทรัพย์การพิมพ์, 2535.
อนุ เนินหาด, พ.ต.ท. (2543). เชียงใหม่สะปะเรื่องตะวา. เชียงใหม่ : นพบุรีการพิมพ์.
|
|
|
|
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักหอสมุด |
|
เชียงใหม่ |
|
ntic@lib.cmu.ac.th |
|
|
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ |
|
เชียงใหม่ |
|
itsc@itsc.cmu.ac.th |
|
|
|
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , ผู้ให้ทุนสนับสนุน
อุษณีย์ ธงไชย, ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญประจำโครงการ |
|
|
|
2508 |
|
|
|
image/jpeg(.jpeg .jpe .jpg) |
|
|
|
1 ภาพ; ขาวดำ; 8x10 นิ้ว |
|
|
|
BS-CM-RD051 |
|
|
|
ท่านอาจจะบันทึกหรือพิมพ์รูปภาพเพื่อการวิจัยและการศึกษาค้นคว้า ถ้าท่านต้องการใช้สำหรับวัตถุประสงค์อื่น ท่านต้องติดต่อสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อขออนุญาตใช้ |
|
|
|