Find Picture of      By     
Thai Version English Version
หน้าแรก
       
 
ดูภาพตามหมวดหมู่ ความเป็นมา บุญเสริม สาตราภัย อดีตล้านนาจากภาพถ่าย ผู้มีอุปการะคุณ เพิ่มรูปของคุณ ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
  
  เจ้าเศรษฐีคำฝั้น
กลับไปหน้าแสดงรายการภาพ  

คลิกที่รูปด้านบนเพื่อดูรูปขนาดใหญ่



เจ้าเศรษฐีคำฝั้น
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ เชียงใหม่
เจ้าเศรษฐีคำฝั้น; เจ้านายฝ่ายเหนือ
กษัตริย์และผู้ครองนคร--ลำพูน; กษัตริย์และผู้ครองนคร--เชียงใหม่

เจ้าเศรษฐีคำฝั้น

������������เจ้าคำฝั้น เป็นโอรสของเจ้าฟ้าชายแก้ว เจ้าผู้ครองนครลำปางองค์ที่ 2 กับเจ้าแม่จันทา ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2299 ท่านได้ร่วมกับเจ้าบิดา และเจ้าพี่ เจ้าน้อง ต่อสู้ขับไล่พม่าพ้นจากดินแดนล้านนาจนหมดสิ้น ท่านได้รับพระราชโองการโปรดเกล้าฯ จากพระเจ้ากรุงธนบุรี ให้ดำรงตำแหน่งเป็น “เจ้าเมืองแก้ว” (รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ทรงเปลี่ยนชื่อตำแหน่ง “เจ้าเมืองแก้ว” เป็น “เจ้าบุรีรัตน์”) ช่วยเจ้ากาวิละบริหารปกครองนครเชียงใหม่ ต่อมาท่านได้รับพระราชโองการโปรดเกล้าฯ จากรัชกาลที่ 2 ให้เป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2357
������������ เมืองลำพูนในช่วงเวลานั้น มีสภาพเป็นเมืองรกร้างว่างเปล่า ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ ในเมืองเต็มไปด้วยไม่ใหญ่ ไม้ป่า และสัตว์ป่าหลากหลายชนิด ท่านจึงต้องบุกเบิกแผ้วถางป่า สร้างเป็นบ้านเมืองขึ้นใหม่ โดยมีเจ้าอุปราชบุญมาเมือง เป็นผู้ช่วยสร้างบ้านเมืองและช่วยงานราชการเมืองลำพูน
������������ หลังจากท่านเป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูนได้ 1 ปี ก็ได้รับพระราชโองการโปรดเกล้าฯ จากรัชกาลที่ 2 ให้ย้ายไปช่วยงานราชการที่นครเชียงใหม่ ในตำแหน่งเจ้าอุปราชนครเชียงใหม่ และเมื่อเจ้าธรรมลังกาช้างเผือก เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 2 ถึงแก่พิราลัย ในปี พ.ศ. 2366 ท่านจึงได้รับราชโองการโปรดเกล้าฯ จากรัชกาลที่ 2 ให้เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ท่านถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. 2368 รวมเป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ 3 ปี
������������ การที่ชาวเมืองล้านนาขนานนามท่านว่า เจ้าเศรษฐีคำฝั้น ก็เนื่องจากท่านมีหม่อมคนหนึ่งเป็นธิดาทายาทของเศรษฐีป่าไม้ เมืองยวม ชาวพม่าที่มีฐานะร่ำรวย นามว่า หม่อมตาเวย ดังนั้นท่าจึงมีฐานะมั่งคั่ง ร่ำรวยด้วยทรัพย์สินมากกว่าเจ้าพี่เจ้าน้ององค์อื่นๆ ในตระกูลเจ้าเจ็ดตน
������������ เจ้าเศรษฐีคำฝั้น มีชายาและหม่อม เท่าที่มีการรวบรวมไว้นั้น รวม 16 องค์ มีราชบุตร 20 องค์ ราชธิดา 24 องค์ ราชบุตรที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป ได้แก่
������������ 1. เจ้าไชยลังกาพิศาลโสภาคคุณ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ 6 กำเนิดเจ้าหญิงคำแปง
������������2. เจ้าหนานธรรมลังกา หรือพระยารัตนอาณาเขต เข้าผู้ครองนครเชียงราย กำเนิดจากเจ้าหญิงคำแปง
������������3. เจ้าบุรีรัตน์ นครเชียงราย (เจ้าภูเกี๋ยง) กำเนิดจากหม่อมคำหล้า
������������4. เจ้าราชวงศ์ นครเชียงใหม่ (เจ้ามหาพรหมคำคง) กำเนิดจากหม่อมตาเวย
������������เจ้าเศรษฐีคำฝั้น ถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. 2368 รวมเป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูนได้ 1 ปี และเป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้ 3 ปี
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.สำนักหอสมุด
เชียงใหม่
ntic@lib.cmu.ac.th
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , ผู้ให้ทุนสนับสนุน
นเรนทร์ ปัญญาภู, ผู้รวบรวมข้อมูล
-
image/jpeg(.jpeg .jpe .jpg)
1 ภาพ; สี; 5x7 นิ้ว
HLP-LP-NR001
© ห้องฮูปลำพูน
ท่านอาจจะบันทึกหรือพิมพ์รูปภาพเพื่อการวิจัยและการศึกษาค้นคว้า ถ้าท่านต้องการใช้สำหรับวัตถุประสงค์อื่น ท่านต้องติดต่อสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อขออนุญาตใช้
 
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
เว็บไซต์และฐานข้อมูลภาพล้านนาในอดีต โดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง

     
     
  Copyright © 2008 Northern Thai Information Center (NTIC), Chiang Mai University. All Rights Reserved.
239 Huay Kaew Rd., Mueang District , Chiang Mai, Thailand 50200
Tel. 0 5394 4514, 0 5394 4517
ntic@lib.cmu.ac.th
 
/* */