Find Picture of      By     
Thai Version English Version
หน้าแรก
       
 
ดูภาพตามหมวดหมู่ ความเป็นมา บุญเสริม สาตราภัย อดีตล้านนาจากภาพถ่าย ผู้มีอุปการะคุณ เพิ่มรูปของคุณ ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
               นอกจากเป็นผู้เก็บประวัติศาสตร์ล้านนาด้วยภาพถ่าย นายบุญเสริม สาตราภัย ยังได้ถ่ายทอดเรื่องราวจากภาพถ่ายออกมาเป็นข้อเขียนในรูปหนังสือและบทความอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
      
บุญเสริม สาตราภัย. (2520). อดีตลานนา. กรุงเทพฯ: เรืองศิลป์.

               อดีตลานนา เป็นหนังสือสารคดีภาพอิงด้านประวัติศาสตร์ เล่าโดยบุญเสริม สาตราภัย และสังคีต จันทนะโพธิ สำหรับภาพถ่ายในอดีตที่นำมาเสนอนั้นเป็นผลงานของหลวงอนุสารสุนทร
มร.เอ็ม ทานาคา มร.ฮาตาโน และคนอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุนาม ซึ่งชาวเชียงใหม่ถือว่าเป็น “ปู่กล้อง” ผู้บุกเบิกศิลปะการถ่ายภาพในเชียงใหม่ เนื้อหาแบ่งออกเป็น 6 เรื่อง ได้แก่ เจ้านาย คมนาคม สถานที่ ประเพณี ศิลปะ และเบ็ดเตล็ด
บุญเสริม สาตราภัย. (2522). ลานนาไทยในอดีต. เชียงใหม่:
              ช้างเผือกการพิมพ์.


               ลานนาไทยในอดีต เป็นหนึ่งในหนังสือสารคดีภาพของนายบุญเสริม สาตราภัย ให้ข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์ของล้านนาในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง และลำพูน เนื้อหาประกอบด้วย ศิลปกรรมที่เกี่ยวกับโบราณสถาน โบราณวัตถุ ที่สำคัญ ด้านบุคคล ได้แก่ การเสด็จประพาสเมืองเชียงใหม่ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี รวมถึงเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระราชชายา เจ้าดารารัศมี และด้านสถานที่ ได้แก่ ถ้ำขุนตาล สะพานนวรัฐ สถานที่ราชการ ประตูเมือง ถนนต่างๆ เป็นต้น
บุญเสริม สาตราภัย. (2523). ศรีโหม้ คนเชียงใหม่คนแรกที่ไป
              อเมริกา. เชียงใหม่: โรงพิมพ์ปอง


               ศรีโหม้ คนเชียงใหม่คนแรกที่ไปอเมริกา รวบรวมจดหมายของอาจารย์ศรีโหม้ วิชัยเขียนถึงบิดามารดา จำนวน 24 ฉบับ จดหมายเล่าเหตุการณ์ในขณะที่เดินทางไปศึกษาและใช้ชีวิตที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2432 ซึ่งขณะนั้นอาจารย์ศรีโหม้ มีอายุได้ 21 ปี โดยภาษาที่ใช้ในจดหมายใช้ภาษาพื้นเมืองซึ่งคำบางคำไม่ได้ใช้แล้วในสมัยปัจจุบัน และเป็นภาษาที่ใช้มีความงดงามเขียนตามจินตนาการ เล่าถึงการเดินทางและบรรยายสถานที่ต่างๆ ที่ได้
พบเห็น รวมทั้งได้สอดแทรกเกร็ดความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับสถานที่นั้นๆ ตลอดจนความเป็นอยู่ สภาพเศรษฐกิจ
และสังคมในสมัยนั้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อชนรุ่นหลัง ที่จะได้ศึกษาค้นคว้าโดยเฉพาะทางด้านภาษาศาสตร์ ภูมิศาสตร์
และประวัติศาสตร์
บุญเสริม สาตราภัย. (2532). เสด็จลานนา เล่ม 1 และ
              เล่ม 2. กรุงเทพฯ: อักษราพิพัฒน์.


               เสด็จลานนา เล่ม 1 เป็นหนังสือที่ได้ประมวลภาพการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมมณฑลพายัพของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร (รัชกาลที่ 6) พ.ศ. 2448 และมีข้อความบางตอนที่อัญเชิญจากหนังสือ “ลิลิตพายัพ” ซึ่งเป็นบทพระราชนิพนธ์ของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 มาประกอบการบรรยายภาพ ซึ่งได้เสด็จพระราชดำเนินในจังหวัดแพร่ ลำปาง พะเยา เชียงราย และเชียงใหม่ ตามลำดับ และยังได้นำเสนอภาพและเรื่องราวของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี และการเสด็จฯ กลับมาเยี่ยมนครเชียงใหม่เป็นครั้งแรก พ.ศ. 2451 ซึ่งอยู่ในยุคสมัยเดียวกัน
               เสด็จลานนา เล่ม 2 เป็นหนังสือที่ได้ประมวลภาพการเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพ ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เมื่อ
พ.ศ. 2769 และการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรในจังหวัดต่างๆ ในภาคเหนือเป็นครั้งแรกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึง วันที่ 18 มีนาคม 2501 ซึ่งบุญเสริม สาตราภัย ได้ติดตามถ่ายภาพตลอด ตั้งแต่เสด็จพระราชดำเนินโดย
ขบวนรถไฟพระที่นั่งถึงจังหวัดพิษณุโลก และเป็นชาวเหนือเพียงคนเดียวที่ได้ติดตามไปถ่ายภาพ
การเสด็จพระราชดำเนินเยือนภาคเหนือ
บุญเสริม สาตราภัย. (2546). เชียงใหม่กับภัยทางอากาศ .
              กรุงเทพฯ: สายธาร.


               เชียงใหม่กับภัยทางอากาศ รวบรวมภาพถ่ายเกี่ยวกับ
เครื่องบินในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝูงแรกที่บินลงสนามบินเชียงใหม่ และเครื่องบินอื่นๆ ที่มาลงที่สนามบินเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน
และอำเภอแม่สะเรียง ในช่วงนั้น พร้อมให้เรื่องประกอบภาพ และเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งภาพและข้อมูลเหตุการณ์สมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา และภาพอื่นๆ ที่แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของกิจการบินในสมัยนั้น
บุญเสริม สาตราภัย. (2550). ล้านนา ... เมื่อตะวา. เชียงใหม่:
              บุ๊คเวิร์ม.


               ล้านนา ... เมื่อตะวา รวบรวมและคัดเลือกภาพแห่งประวัติศาสตร์ของจังหวัดเชียงใหม่และบางจังหวัดในภาคเหนือ พร้อมให้เนื้อหาประกอบ ภาพถ่ายที่นำเสนอเป็นภาพผลงานของบุญเสริม สาตราภัย มร.เอ็ม. ทานาคา และท่านอื่นๆ ผู้เขียนร้อยเรียงเรื่องประกอบภาพได้อย่างน่าสนใจ ทำให้หนังสือภาพเล่มนี้น่าอ่านมากยิ่งขึ้น และยังให้ประวัติของบุญเสริม สาตราภัย อย่างละเอียด
 
เชียงใหม่เมื่อวันวาน. (2535). เชียงใหม่: จังหวัดเชียงใหม่
              ร่วมกับสำนักหอสมุดและศูนย์ส่งเสริมศิลป
              วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.


               เชียงใหม่เมื่อวันวาน จัดทำขึ้นเนื่องในโอกาสการจัดแสดงนิทรรศการ “เชียงใหม่เมื่อวันวาน” นำเสนอภาพในอดีตของจังหวัดเชียงใหม่และเปรียบเทียบกับภาพในปัจจุบัน ซึ่งทำให้เห็นภาพการเปลี่ยนแปลงของเมืองเชียงใหม่ ภาพที่นำเสนอ เช่น ย่านการค้าต่างๆ วัดและโบราณสถาน ประตูเมือง สะพาน
และเรื่องราวของริมฝั่งแม่น้ำปิง ภาพในอดีตเหล่านี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีอันเก่าแก่ เหตุการณ์ที่สำคัญที่เกิดขึ้นในอดีต รวมถึงวิวัฒนาการของเศรษฐกิจสังคม
และความเจริญทางด้านวัตถุ
   พ.ศ. 2503-2513 หนังสือพิมพ์คนเมือง
   พ.ศ. 2514-2525 หนังสือพิมพ์ไทยนิวส์
   พ.ศ. 2536 หนังสือพิมพ์ไทยนิวส์ได้นำคอลัมน์เล่าเรื่องเชียงใหม่จากภาพถ่าย มาเผยแพร่อีกครั้งหนึ่ง ชื่อคอลัมน์
“ภาพชุดเชียงใหม่เก่า”
               ปัจจุบันถึงแม้ท่านจะอายุ 80 ปีแล้ว ก็ยังคงถ่ายทอดเรื่องราวในอดีตของล้านนา ในรูปบทความลงในหนังสือพิมพ์พลเมืองเหนืออยู่เป็นระยะ
               จากผลงานดังที่กล่าวมา ทำให้มีผู้เรียกขานนายบุญเสริม สาตราภัย ว่า เป็น “ผู้บันทึกภาพประวัติศาสตร์ของล้านนา” “คนเก็บอดีตล้านนา” “หนึ่งในคณะบุกเบิกชนเผ่าที่ลี้ลับในแดนล้านนา(ผีตองเหลือง)”
“ผู้เก็บประวัติศาสตร์ล้านนาด้วยภาพถ่าย” “นักเล่าเรื่องอดีตล้านนาจากภาพถ่าย”
               ถือได้ว่าท่านเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งของเชียงใหม่และล้านนาที่มีสายตาอันยาวไกล ในการใช้ความรู้ความสามารถและเพียรพยายามในการถ่ายภาพล้านนา รวบรวม และเก็บรักษาภาพที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ล้านนา นอกจากนี้ ยังได้ถ่ายทอดเรื่องราวจากภาพถ่ายออกมาเป็นข้อเขียนในรูปหนังสือและบทความอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ผลงานของท่านเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา ค้นคว้า และวิจัยเกี่ยวล้านนา
และภาคเหนือ ตลอดจนทำให้อนุชนรุ่นหลังได้เห็นภาพและเรื่องราวของท้องถิ่นในอดีต อันก่อให้เกิดความรัก
ชื่นชม และหวงแหนความเป็นท้องถิ่นล้านนาต่อไป
บุญเสริม สาตราภัย : ไม่เคยลืม.  มราบรีหรือชนเผ่าตองเหลือง. (2551). ค้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2551
              จาก http://gotoknow.org/blog/mrabri/79586
บุญเสริม สาตราภัย คนเก็บอดีตล้านนา. (2551). ค้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2551
              จาก http://www.geocities.com/naijen2001
บุญเสริม สาตราภัย.  (2550).  ล้านนา ... เมื่อตะวา.   เชียงใหม่: บุ๊คเวิร์ม.

บุญเสริม สาตราภัย.  (2551). ค้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2551
              จาก http://lib.payap.ac.th/ntic/Homepage/webdocument/person/a000031.pdf

บุญเสริม สาตราภัย.  (2551). สัมภาษณ์.  11 กรกฎาคม.

ลุงบุญเสริม สาตราภัย คนเก็บอดีตล้านนา. (2551). ค้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2551
              จาก http://paparasta.multiply.com/journal/item/5

โลกล้านนา. (2551). บุญเสริม สาตราภัย.  บุคคลทางวัฒนธรรม.  ค้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2551
              จาก http://www.lannaworld.com/person/bunserm.htm
ไอเดียล้านนา. (2551). บุญเสริม สาตราภัย ผู้บันทึกภาพประวัติศาสตร์ล้านนา. (2551).
              ค้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2551
              จาก http://idealanna.igetweb.com/index.php?mo=3&art=56148
 
  คณะทำงานโครงการห้องสมุดที่มีชีวิต (Living Library)
  เพื่อพัฒนาสังคมการเรียนรู้ ส่วนกิจกรรมจัดทำและเผยแพร่ข้อมูลภาคเหนือ
  กรกฎาคม 2551
หน้า: ก่อนหน้า หน้า 1 หน้า 2 หน้าปัจจุบัน
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
เว็บไซต์และฐานข้อมูลภาพล้านนาในอดีต โดย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง

     
     
  Copyright © 2008 Northern Thai Information Center (NTIC), Chiang Mai University. All Rights Reserved.
239 Huay Kaew Rd., Mueang District , Chiang Mai, Thailand 50200
Tel. 0 5394 4514, 0 5394 4517
ntic@lib.cmu.ac.th
 
/* */