Tha Thai Version Eng Version Eng  
     
˹á лླբͧҹ ླҹ ҹླҹ 㹾Ըաҹ ػФس ԧǢͧ
 
 
 
 
แบบสอบถามความคิดเห็น
 
Last update: 07/19/2012
 
 
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
เว็บไซต์และฐานข้อมูลประเพณีล้านนา โดย
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
และ
สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อนุญาตให้ใช้ได้ตาม
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ
แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง
 
by
ประเพณีกินแขกแต่งงาน
พิธีกินแขกแต่งงาน
            พิธีแต่งงานแบบล้านนา หรือเรียกว่า กิ๋นแขกแต่งงาน เป็นงานมงคลของคู่บ่าวสาว ที่มียศถาบรรดาศักดิ์ เช่น ท้าวพญา เศรษฐี เป็นต้น
พิธีกินแขกแต่งงาน
            ซึ่งแตกต่างจากชาวบ้านธรรมดาทั่วไป พิธีค่อนข้างจะประณีต งดงาม มีขบวนแห่ขันหมาก ซึ่งเป็นขันหมากที่มี หมาก ใบพลู อยู่ในขันสำรับ เรียกว่าขันหมาก มีหีบผ้าใหม่ เป็นหีบผ้าที่ทำขึ้นมาใหม่ ใส่ผ้าใหม่ผืนงามที่ทอขึ้นมาเพื่องานนี้โดยเฉพาะ และขันสุมา เป็นขันสำหรับขอขมาลาโทษ ของเหล่านี้เป็นของไหว้พ่อตาแม่ยาย (พ่อแม่ฝ่ายภรรยา) เมื่อรักชอบพอกัน บ่าวสาวจะจัดให้มีพิธีแต่งงานขึ้นได้มี ๒ ลักษณะด้วยกันคือ การแต่งงานแบบผิดผี และการแต่งงานแบบสู่ขอ
การแต่งงานแบบผิดผี
            การแต่งงานแบบนี้เกิดขึ้นจากบ่าวสาวแตะเนื้อต้องตัวกัน หรือได้เสียกันก่อนแต่งงาน การกระทำแบบนี้เรียกว่า ผิดผี คือ ไม่ถูกต้องตามประเพณี ถือว่าไม่เคารพปู่ย่าตายาย หรือผีบรรพบุรุษ ต้องทำพิธีขอขมาและเสียผีตามประเพณี โดยทางญาติผู้ใหญ่ฝ่ายสาวจะแจ้งให้ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายบ่าวทราบ เพื่อเตรียมเครื่องไหว้มาขอขมา  สิ่งที่จะต้องเตรียมเพื่อเป็นเครื่องประกอบพิธี มีดังนี้
 
  ๑. ดอกไม้ธูปเทียนตามกำหนดของการบูชาผีแต่ละตระกูล อาจใช้ ๑๒ สวย ,๑๖,๓๖ สวย
  ๒. เงินค่าใส่ผี เท่ากับจำนวนดอกไม้ธูปเทียน ในอดีตใช้เงินแถบ(เงินรูปี)
  ๓. อาหารสำหรับเลี้ยงผี ต้องมีเหล้าไห ไก่คู่ ชิ้นลาบ แกงอ่อม ผลไม้ ขนมหวาน หมาก๑หัว พลู ๑ มัด ผีบางตระกูลอาจจะเลี้ยงด้วยหมู
 
            เมื่อจัดเตรียมเครื่องสักการะสำหรับประกอบพิธีพร้อมแล้ว ผู้ใหญ่ฝ่ายสาวส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงที่อาวุโสสุดในตระกูล  จะเป็นผู้นำเครื่องสักการะไปบูชาผีปู่ย่า และบอกกล่าว ว่า
            บัดนี้นาย................นางสาว...................ได้ผิดจารีตประเพณี ขอผีปู่ย่า จงอภัยหื้อแก่เขา อย่าได้มีโทษต่อไป และขอให้นาย................มาเป็นลูกหลานในครัวเรือน  ขอปู่ย่า ตายาย คุ้มครองปกป้องเขาสืบไป  (มณี พยอมยงค์, ๒๕๔๒,  หน้า ๓๕๕)
            เมื่อธูปเทียนที่สักการบูชาหมดดอกแล้ว จึงลาเครื่องสักการะ เพื่อนำเอาเครื่องเซ่นสังเวยมารับประทานร่วมกันในวงศ์เครือญาติ  การลาของเซ่นไหว้บางแห่งก็ใช้วิธีเสี่ยงข้าวสาร เช่น หยิบข้าวสารขึ้นมาถ้านับได้เลขคี่ แสดงว่าผีปู่ย่ายังกินเครื่องสังเวยอยู่ จึงรอสักพักไปหยิบขึ้นมาใหม่ถ้าหยิบได้เลขคู่แสดงว่าผีปู่ย่าอิ่มแล้ว (ศรีเลา เกษพรหม, ๒๕๔๔, หน้า ๔๘)
            การแต่งงานแบบผิดผีอาจเป็นเรื่องภายในหมู่เครือญาติของทั้งสองตระกูล ไม่นิยมจัดแต่งงานแบบเอิกเกริก เมื่อทำพิธีไหว้ผีเสร็จแล้ว ฝ่ายบ่าวก็หาฤกษ์ยามดีเข้ามาอยู่บ้านสาว โดยสะพาย ผ้าป๊ก หรือถุงขนัน ถุงผ้าที่ใส่เสื้อผ้า เงินทองและของมีค่า เดินสะพายดาบเข้ามาอยู่ที่บ้านผู้หญิง โดยสาวจะนำถุงขนันและดาบแขวนไว้ที่หัวนอน และอยู่ด้วยกันแบบสามีภรรยา จนกว่าจะหาเงินทองพอปลูกบ้านได้ จึงแยกตัวออกจากพ่อแม่อยู่เรือนใหม่
การแต่งงานแบบสู่ขอ
            การแต่งงานแบบนี้ เป็นการแต่งงานที่หนุ่มสาวรักกัน ดูใจกันมาเป็นเวลาอันควร และผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายก็เห็นดีเห็นงามด้วย การแต่งแบบนี้ ฝ่ายบ่าวจะมีญาติผู้ใหญ่มา จาเทิง (จ๋าเติง) หรือมาสู่ขอ และกำหนดวันหมั้นหมายแต่งงาน หรือหมั้นพร้อมแต่งก็ได้ จะมีเครื่องประกอบพิธีในการหมั้นดังนี้

            ๑. ขันหมั้นหรือพานหมั้น                ส่วนใหญ่เป็นขันเงินที่ตกแต่งด้วยดอกไม้ อาจจะมีเครื่องประดับ เช่น แหวนหมั้น หรือสร้อยคอ สร้อยแขน วางอยู่ตรงกลางพานห่อด้วยผ้าแดง ปัจจุบัน อาจะไม่ใช้ผ้าแดง แต่ใช้กล่องใส่ของหมั้นสีแดง และใช้ดอกกุหลาบแดงเย็บแบบรองพื้น
ขั้นหมั้นหรือพานหมั้น ขันหมั้นหรือพานหมั้น
ขันเงินสินสอดหรือพานสินสอด




๒. ขันเงินสินสอดหรือพานสินสอด เป็นพานที่ใส่เงินสินสอด นิยมห่อด้วยห่อด้วย ผ้าแดงหรือชมพ
            ๓. ขันหมาก คือขันที่ใช้สำหรับทานหมาก อาจเป็นขันสานที่ลงรักทาชาด หรือขันหมากเงินที่แต่งดาไว้แล้วมีหมากดิบ ๘ ลูก และต้องติดอยู่ในก้านเดียวกัน หรือถ้าแยกก็ให้แยกเป็นคู่ๆ ใบพลู ๔ แหลบ แหลบละ ๔ ใบ ห่อด้วยผ้าแดง
ขันหมาก ขันหมาก
การแต่งขันหมากบางแห่งตกแต่ง ดังนี้
พลูจีบ (๑ มัด)
หมากดิบ ๒       ผล
ใบเงิน ๑๒     ใบ
ใบทอง ๑๒     ใบ
ใบนาก ๑๒     ใบ
ข้าวเปลือกข้าวสารถุงเล็ก อย่างละ ๒     ถุง
ถั่ว งา อย่างละ ๒     ถุง
 
            การแต่งขันหมากและเครื่องประกอบพิธีแต่งงาน ส่วนใหญ่เน้นเป็นคู่ เพื่อความเป็นศิริมงคล ของการใช้ชีวิตคู่ (มณี พยอมยงค์, ๒๕๔๒, หน้า ๓๕๕) เมื่อทำพิธีสู่ขอกันเป็นที่เรียบร้อยผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย จะตกลงหาฤกษ์ยามมงคล และกำหนดวันแต่งงานตามลำดับต่อไป  หรือบางครั้งอาจจะหมั้นพร้อมแต่งในเวลาเดียวกัน
ขันต่างๆในพิธีแต่งงาน
ขันต่างๆ ที่นิยมใช้ในพิธีแต่งงานปัจจุบัน
 
ขันประกอบพิธีแห่ขันหมาก มีถั่ว ข้าว งา เป็นศิริมงคล แสดงถึงความอุดมสมบูรณืของชีวิตครอบครัวต่อไป
ขันประกอบพิธีแห่ขันหมาก มีถั่ว ข้าว งา เป็นศิริมงคล แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ ของชีวิต ครอบครัวต่อไป
ขันใส่ซองของวัญแต่่งงาน สำหรับแขกที่ต้องการให้ซองเงินก่อนผูกข้อมูล
ขันใส่ซองของวัญแต่่งงาน สำหรับแขกที่ต้องการให้ซองเงินก่อนผูกข้อมูล
   
Northern Thai Information Center (NTIC),
Chiang Mai University Library in collaboration with Information Technology Service Center
239 Huay Kaew Rd., Mueang District, Chiang Mai, Thailand 50200
Tel: +66 (0) 5394 4514, +66 (0) 5394 4517 email: ntic@lib.cmu.ac.th
Copyright © 2009-2016 Chiang Mai University. All Rights Reserved.