Tha Thai Version Eng Version Eng  
     
˹á лླբͧҹ ླҹ ҹླҹ 㹾Ըաҹ ػФس ԧǢͧ
 
 
 
 
แบบสอบถามความคิดเห็น
 
Last update: 07/19/2012
 
 
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
เว็บไซต์และฐานข้อมูลประเพณีล้านนา โดย
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
และ
สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อนุญาตให้ใช้ได้ตาม
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ
แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง
 
by
ผู้รู้ด้านประเพณีล้านนา
จันทร์สม สายธารา
จันทร์สม สายธารา
เกิดวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๕ บ้านชะเยือง ต. ดอนแก้ว อ.แม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ บิดาชื่อ นาย ปวน มารดาชื่อนางทา ต้นคำ มีพี่น้องทั้งหมด ๔ คน แม่จันทร์สม เป็นคนสุดท้อง แม่จันทร์สมสมรสกับ นายสมบูรณ์ ปัญญามานะ มีบุตรด้วยกัน ๖ คน ที่อยู่ปัจจุบันบ้านเลขที่ ๙๙ หมู่ ๔ บ้านป่าแงะ ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ ๕๐๑๘๐ โทรศัพท์ ๐๕๓ ๘๙๑ ๐๔๖
จบการศึกษา ภาคบังคับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนบ้านชะเยือง เรียนซอกับแม่ครูคำบานที่บ้านสบยาว อ.จอมทอง จ. เชียงใหม่ เมื่อปี ๒๔๙๑ ขณะอายุได้ ๑๖ ปี เป็นการเรียนแบบท่องจำตามที่ครูบอกและติดตามแม่ครู ไปในงานแสดงต่างๆ เพื่อฟังเครือซอและนำมาปรับใช้กับการซอของตน แม่ครูจันทร์สมเรียนซออยู่ประมาณ ๑ ปี ก็สามารถออกซอได้และเพียงไม่นานก็ได้รับความนิยมจากผู้ฟังจนมีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป
- แม่ครูจันทร์สม สายธารา เริ่มสอนซอเมื่ออายุ ๒๑ ปี มีลูกศิษย์มาฝากตัวเรียนด้วยหลายรุ่นติดต่อมาจนถึงปัจจุบันรวมแล้วมากกว่า ๔๐ คน โดยมีลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงหลายคนด้วยกันเช่น คำหน้อย คำขัด หรือ ต่วม ศรีออน วงศ์ชมพู นายก๋วนดา เชียงตา นางจันทร์สม ปัญญานาม นางวันเพ็ญมโนรัตน์ นางเทียมตา ปัญญานาม เป็นต้น
- ปี ๒๕๓๓ ได้รับเกียรติให้เป็นอาจารย์สอนพิเศษของมหาวิทยาลัยพายัพโดยใช้เพลงซอช่วยเสริมการเผยแพร่ศาสนา และช่วยสอนในภาควิชาดนตรีศึกษาเพื่อฝึกช่างซอชาย-หญิง แก่นักศึกษาที่สนใจศิลปะพื้นบ้าน ประเภทนี้ จนสามารถออกไปแสดงศิลปะเพลงพื้นบ้านภาคเหนือ ในรายการเผยแพร่ศิลปะวัฒนธรรมจากไทยในอเมริกา
- ปี ๒๕๓๕ ได้รับเกียรติให้เป็นวิทยากรของศูนย์การศึกษา
- ปี ๒๕๓๕ ได้รับเกียรติให้เป็นวิทยากรของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ภาคเหนือ จังหวัดลำปาง และจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อถ่ายทอดศิลปะการซอแก่ประชาชนนอกระบบการศึกษาที่สนใจฝึกฝนการซอเพื่อเป็นอาชีพแก่ผู้ที่สนใจ
              
ด้านการแสดง
- ได้รับคัดเลือกจากห้างกมลสุโกศลให้บันทึกแผ่นเสียงครั้งแรกร่วมกับนายทองสุข สิงห์สา และได้รับคัดเลือกจากห้าง ต.เง็กชวน บันทึกซอออกจำหน่ายเป็นเรื่องแรก
- เป็นตัวแทนศิลปินภาคเหนือ ในการซอเผยแพร่ผลของตำรวจเชียงใหม่ที่กรุงเทพฯ ในสมัย พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ เป็นอธิบดีกรมตำรวจ
- ปี ๒๕๑๐ เป็นผู้ริเริ่มการประยุกต์ทำละครพื้นเมือง
- ได้รับความนิยมว่าจ้างให้แสดงในงานต่างๆ ทั่วภาคเหนือใน ๘ จังหวัดภาคเหนือ
- ออกเทปซอหลายเรื่อง เช่น ซอปอยข้าวสังข์ ซอปีใหม่พื้นเมือง ประวัติพระธาตุดอยสุเทพ
- ซอออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
ผลงานที่ได้รับการเผยแพร่
- ได้รับเกียรติให้เป็นตัวแทนศิลปินภาคเหนือ เผยแพร่ผลงานของตำรวจเชียงใหม่ที่กรุงเทพฯโดยใช้วิธีพรรณาผลงานของตำรวจในสมัย พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ เป็นอธิบดีกรมตำรวจ
- ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ร่วมกับอุดม รังษี จัดรายการเพื่อส่งเสริมและการเผยแพร่ศิลปะการซอ และศิลปินเพลงพื้นบ้านอื่นๆ ในรายการมรดกล้านนา ภาค FM 100 ทุกวันพุธระหว่างเวลา ๑๗.๐๐ – ๑๗.๓๐ น. และจัดรายการพื้นบ้านล้านนา ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง ๑๑ จังหวัดลำปาง
- ทำละครทางวิทยุโดยใช้ภาษาท้องถิ่น คือ ละครวิทยุคำเมืองตามสถานีวิทยุต่างๆทั่วภาคเหนือใช้ชื่อคณะว่า “คณะสายธาราวิทยุ”
- ปี ๒๕๓๕ ได้รับเกียรติให้เป็นวิทยากรของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ภาคเหนือ จังหวัดลำปาง และจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อถ่ายทอดศิลปะการซอแก่ประชาชนนอกระบบการศึกษาที่สนใจฝึกฝนการซอเพื่อเป็นอาชีพแก่ผู้ที่สนใจด้านบทบาทและการยอมรับจากสังคม
- ปี ๒๕๓๒ ได้รับการเชิดชูเกียรติในฐานะบุคคลดีเด่นทางวัฒนธรรมสาขาศิลปะการแสดง(เพลงพื้นบ้าน)ของจังหวัดเชียงใหม่จากศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่
- ปี ๒๕๓๓ ได้รับรางวัลที่ ๑ จากการประกวดซอต่อต้านยาเสพติดจาก ปปส.
- ปี ๒๕๓๖ ได้รับการเชิดชูเกียรติในฐานะบุคคลดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน) ของจังหวัดเชียงใหม่ จากศูนย์วัฒนธรรม จังหวัดเชียงใหม่
- ปี ๒๕๓๖ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมสาขาวรรณศิลป์(วรรณกรรมมุขปาฐะ)จากสำนักกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
- ปี ๒๕๓๙ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาเพลงพื้นบ้าน(ซอพื้นเมือง) ประจำปี ๒๕๓๙
Northern Thai Information Center (NTIC),
Chiang Mai University Library in collaboration with Information Technology Service Center
239 Huay Kaew Rd., Mueang District, Chiang Mai, Thailand 50200
Tel: +66 (0) 5394 4514, +66 (0) 5394 4517 email: ntic@lib.cmu.ac.th
Copyright © 2009-2016 Chiang Mai University. All Rights Reserved.