Tha Thai Version Eng Version Eng  
     
˹á лླբͧҹ ླҹ ҹླҹ 㹾Ըաҹ ػФس ԧǢͧ
 
 
 
 
แบบสอบถามความคิดเห็น
 
Last update: 07/19/2012
 
 
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
เว็บไซต์และฐานข้อมูลประเพณีล้านนา โดย
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
และ
สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อนุญาตให้ใช้ได้ตาม
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ
แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง
 
by
ผู้รู้ด้านประเพณีล้านนา
พระครูอดุลสีลกิตติ์
พระครูอดุลสีลกิตติ์
วัน เดือน ปีเกิด 8 กันยายน พ.ศ. 2497
ภูมิลำเนา บ้านเลขที่ 728 หมู่ 3 ตำบลสันทราย อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
มีพี่น้องจำนวน 3 คน ได้แก่
1. พระครูอดุลสีลกิตติ์
2. นางจันทร์สม ชะฎิล
3. นางอำภา บุญชุ่ม
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดธาตุคำ และเจ้าคณะตำบลหายยา ตำบลหายยา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50100 เบอร์โทรศัพท์ 053-271-813 , 053-200-360
พ.ศ. 2508 สำเร็จชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านสันทราย อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
พ.ศ. 2509 สอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี สำนักเรียนคณะจังหวัดเชียงใหม่
พ.ศ. 2513 สอบไล่ได้นักธรรมชั้นโท สำนักเรียนคณะจังหวัดเชียงใหม่
พ.ศ. 2514 สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนคณะจังหวัดเชียงใหม่
พ.ศ. 2520 สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนธรรมราชศึกษา
วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
พ.ศ. 2525 สอบไล่ได้ ป.ธ. 1-2 สำนักเรียนวัดบุพพาราม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
พ.ศ. 2541 สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน อำเภอเมือง จังหวัด ลำพูน
พ.ศ. 2546 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี พุทธศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1) จาก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตลำพูน
สมณศักดิ์
พ.ศ. 2530 เป็นพระครูสมุห์ ตำแหน่งฐานานุกรมในพระราชพรหมจารย์ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่
พ.ศ. 2531 เป็นพระครูวินัยธร ตำแหน่งฐานานุกรมในพระเทพวรสิทธาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่
พ.ศ. 2536 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์พัดยศ เป็นพระครธสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นโท ที่
พระครูอดุลสีลกิตติ์
พ.ศ. 2541 เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบลชั้นโท ในราชทินนามเดิม
              
ด้านพิธีกรรมล้านนา
พระครูอดุลสีลกิตติ์ได้ศึกษาประเพณี พิธีกรรม ศาสนพิธีของล้านนาจนมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ สามารถเขียนเป็นหนังสือเกี่ยวกับศาสนาพิธีของล้านนา ออกเผยแพร่และเป็นคู่มือให้กับผู้สนใจและมัคนายก (ปู่จารย์) ในการประกอบพิธีกรรม อาทิ คู่มือมัคนายก (อาจารย์วัด) นอกจากนี้ พระครูอดุลสีสกิตติ์ ยังได้รับนิมนต์ไปเป็นวิทยากร ร่วมเสวนาและอบรมทางวิชาการ
ด้านอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรม
พระครูอดุลสีลกิตติ์ เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งกลุ่มชาวพุทธวัดธาตุคำ เพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูประเพณีวัฒนธรรมของล้านนา โดยเน้นเรื่องการแต่งกาย ด้วยได้รับพระราชเสาวนีย์ จากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ ในครั้งไปรับเสด็จที่บ้านห้วยไม้หก ตำบลม่อนจอง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ.2535 ซึ่งพระองค์ได้ให้แนวพระราชดำริว่า การแต่งกายเป็นเอกลักษณ์ของคนในชาติ คนในท้องถ่น เป็นการผดุงฝีมือของช่างภูมิปัญญาแห่งบรรพบุรุษที่สืบทอดมายาวนาน ควรที่จะได้ช่วยสั่งสอนประชาชนให้รักวัฒนธรรม และภูมิใจในการแต่งกายตามแบบท้องถิ่นของเรา โดยพระครูอดุลสีลกิตติ์ ได้รณรงค์ให้ชาวบ้านและรัทธาของวัดธาตุคำ แต่งกายแบบล้านนา ผู้ชายแต่งกายด้วยกางเกงทอสีคาม ขายาว เสื้อสีขาวคอกลม มีผ้าขาวม้าพาดบ่า โดยได้แบบมาจาก ชาวบ้านตำบลป่าแดด อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นชาวเชียงแสนโบราณอพยพเข้าไปอยู่ที่อำเภอแจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ 195 ปีก่อน ผู้หญิงแต่งกายด้วยผ้าถุง ทอลายขวาง ต่อตีนจก ซึ่งมีหลายแบบ เช่น ลายเชียงแสนหลวง ลายละกอน (ลำปาง) หลวง ลายขันสามแอว ลายหงส์ปี้ ลายเชียงแสนหงษ์ดำ ส่วนเสื้อ เป็นผ้าฝ้าย แขนสั้นและแขนกระบอก ดังน้น เมื่อวัดธาตุคำหรือวัดอื่นๆ มีงานบุญ พระครูอดุลสีลกิตติ์ จะนำศรัทธาประชาชนของวัดธาตุคำเข้าร่วมขบวนแห่หรือจัดขบวนแห่งไปร่วมทำบุญในงานต่าง ๆ เช่น งานปอยหลวง งานลอยกระทง งานสงกรานต์ จนได้รับความชมเชยและเป็นที่สนใจของกลุ่มศรัทธาและชุมชนต่าง ๆ ได้มาศึกษาดูแบบอย่าง และเชิญเข้าร่วมงานอยู่เสมอ
ตั้งแต่ พ.ศ.2542 จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังได้รวบรวมเรื่อง ฮีตกองของบ่าเก่า จากจารีต วัฒนธรรมและพิธีกรรม ฤกษ์ยามแบบล้านนา พิมพ์เผยแพร่ และรวบรวมประวัติวัดธาตุคำ การทอดจุลกฐิน การเทศน์มหาชาติ วิเคราะห์พิธีสืบชาตา ปริศนาธรรมของคนล้านนา ประวัติเมืองเชียงใหม่อย่างย่อ ซึ่งพระครูอดุลสีลกิตติ์เป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับโหราศาสตร์ล้านนาเป็นอย่างดี ได้เขียนหนังสือปฏิทินล้านนาเกี่ยวกับวันดี วันเสีย วันควรทำการมงคล วันห้ามเผาศพ ฯลฯ ออกเผยแพร่ และผลงานสำคัญในการเป็นประธานการชำระพจนานุกรมภาษาถิ่นภาคเหนือฉบับ 700 ปี จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อร่วมเทิดพระเกียรติ 72 พรรษามหาราชินี และร่วมฉลอง 80 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ด้านการเทศนา
พระครูอดุลสีลกิตติ์ เป็นผู้มีความชำนาญ เชี่ยวชาญในการด้านการเทศนาเป็นอย่างดี เพราะได้รับการฝึกเทศน์มาตั้งแต่อายุ 14 ปี ได้รับนิมนต์เทศมหาชาติเวสสันดรจากวัดต่างๆ ทั้งในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียง และยังมีความรู้ในเรื่องการใช้ภาษาไทยภาคกลาง ภาษาพื้นเมือง แต่คำประพันธ์ทั้งแบบล้านนาและภาคกลาง

ด้านการก่อสร้าง
พระครูอดุลสีลกิตติ์ เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ด้านศิลปะการก่อสร้างทั้งในภาคกลางและล้านนาเป็นอย่างดี ปรากฏเมื่อท่านได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดธาตุคำ ท่านได้ทำการก่อสร้างถาวรวัตถุ โดยเน้นการรักษาศิลปะและภูมิปัญญาของช่างพื้นบ้านล้านนา สร้างอุโบสถวัดธาตุคำให้เป็นอนุสรณ์สถานในวาระที่เมืองเชียงใหม่ครบ 700 ปี โดยรวบรวมศิลปะการตกแต่งจากวัดต่างๆ ในภาคเหนือจำนวน 15 วัด
หน้าบัน ตามแบบวิหารของวัดปราสาท และหอไตรของวัดดวงดี
เสาคู่หน้าบัน ตามแบบวัดหางดง วัดเมืองสาตรหลวง และวัดต้นแกว๋น
คันทวย(นาคทันต) ตามแบบอุโบสถวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร วัดท่าข้ามและวัดทุ่งแป้น
ซุ้มประตูใหญ่ ตามแบบวิหารลายคำ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
ซุ้มพระประธาน ตามแบบซุ้มวัดพระธาตุลำปางหลวง พระธาตุศรีจอมทอง และวัดปงยางคก
นาคบันได ตามแบบนาคของวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร
ฐาน ตามแบบฐานธรรมาสน์บุษบกของวัดช่างฆ้อง
ช่อฟ้า ใบระกา ตามแบบวิหารวัดต้นแกว๋น
ระเบียง ทำเป็นรูปสัตว์ในหิมพานต์ ตามแบบหอไตรวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
การเขียนรูปเทพารักษ์สองข้างพระประธาน ตามแบบวัดกองแขก
เชิงลาย ลานเมฆไหล ตามแบบวัดนันทาราม และวัดทรายมูล

ด้านบริการสังคม
พระครูอดุลสีลกิตติ์ได้รับนิมนต์ให้ไปบรรยายทางวิชาการเกี่ยวกับศาสนา ภาษาและวรรณกรรม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมชของชาวล้านนา จากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียง
พ.ศ. 2524 รางวัลประกวดคร่าว “แก้ว 3 ประการ” ของสถานีโทรทัศน์ช่อง 8 จังหวัดลำปาง
พ.ศ. 2527 รางวัลประกวดคร่าวประวัติ 3 กษัตริย์ รางวัลประกวดโคลงเทิดพระเกียรติ 3 กษัตริย์ ในพิธีเปิดอนุสาวรีย์สามกษัตริย์
พ.ศ. 2528 รางวัลประกวดคร่าวสดุดี หลวงปู่หล้าตาทิพย์ วัดป่าตึง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
พ.ศ. 2530 รางวัลชนะเลิศการแต่งบท ส.ค.ส. อวยพรปีใหม่ของธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ
พ.ศ. 2535 วุฒิบัตรจากกองงานพระธรรมทูต ในการเป็นพระธรรมทูตเพื่อเผยแพร่ธรรมในจังหวัดเชียงใหม่
พ.ศ. 2537 ประกาศนียบัตรจากสถาบันราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมกับมูลนิธิอมรวรรณอุปถัมภ์ในการส่งเสริมฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
พ.ศ. 2544 วุฒิจากมหาเถรสมาคมในการเป็นนักเทศน์แม่แบบ ตามโครงการฝึกอบรมพระนักเทศน์ของมหาเถรสมาคม
พ.ศ. 2544 ใบประกาศเกียรติคุณแต่งตั้งเป็นครูสอนภาษา และวรรณกรรมล้านนาของมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
พ.ศ. 2546 เกียรติบัตรจากคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการเป็นครูผู้ถ่ายทอดภาษาและวรรณกรรมล้านนาแก่นักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และบุคลากรทั่วไป
พ.ศ. 2546 โล่ประกาศเกียรติคุณ ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม จังหวัดเชียงใหม่ ประจำปีพุทธศักราช 2546
พ.ศ. 2547 เพชรราชภัฏ-เพชรล้านนา สาขาปรัชญา ศาสนาและประเพณีกรรมล้านนา ประจำปี พ.ศ. 2547
Northern Thai Information Center (NTIC),
Chiang Mai University Library in collaboration with Information Technology Service Center
239 Huay Kaew Rd., Mueang District, Chiang Mai, Thailand 50200
Tel: +66 (0) 5394 4514, +66 (0) 5394 4517 email: ntic@lib.cmu.ac.th
Copyright © 2009-2016 Chiang Mai University. All Rights Reserved.