มะเขือเปราะ


 
            บ่าเขือผ่อย (ภาคเหนือ) บ่าเขือกางกบ (ชนิดที่มีลายสีเขียวอ่อน อยู่บริเวณส่วนก้น) บ่าเขือเดือนแจ้ง (ชนิดที่มีผลสีขาวล้วน) (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 867) มะเขือเจ้าพระยา (ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์, 2547, 53-54)
 
            มะเขือเปราะ มีทั้งพันธุ์พื้นบ้าน มะเขือเขียวเสวย มะเขือเจ้าพระยา มีลักษณะคล้ายมะเขือขื่น หรือมะเขือแจ้ (ภาคเหนือ) มีความขื่นน้อยกว่า หรือไม่มีเลย ผลเป็นทรงกลมขนาดผลมะนาว สีขาวอมเขียว ปัจจุบันมีการพัฒนาพันธุ์ใหม่ เช่น มะเขือเปราะพันธุ์ขาวแม่โจ้ เป็นมะเขือที่มีผลสีขาว ลักษณะกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร เป็นไม้พุ่ม มีทรงพุ่มกว้าง 30-40 เมตร มีกิ่งแขนงหลัก 8-10 กิ่ง ความสูงเมื่อเริ่มเก็บเกี่ยว 25-30 ซม. เมื่อเติบโตเต็มที่มีความสูง 50-60 ซม. ออกดอกสีขาวเป็นช่อ ขั้วผลมีขนาดเล็กสีเขียวสด ระยะเวลาให้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 2 เดือน ผลผลิตต่อต้นประมาณ 800-1,000 กรัม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้. คณะผลิตกรรมการเกษตร. ภาควิชาพืชสวน. สาขาพืชผัก, 2550)
 
        
            วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 2 วิตามินซี และมีธาตุเหล้กและแคลเซียมบ้าง เปลือกมีสารอาหารมากกว่าเนื้อ (ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์, 2547, 57) รับประทานได้ทั้งเป็นผักสดจิ้มน้ำพริก และปรุงอาหารหลายอย่าง ในต่างประเทศเรียกว่าว่า มะเขือไทย โดยเฉพาะ อย่างยิ่งแกงเผ็ด มะเขือเปราะในแกงจะอ่อนหนุ่ม ดูดเอารสชาติของแกงไว้มาก ทำให้แกงมีเนื้อและข้นมากขึ้น เมื่อสุกจะมีรสหวานอ่อนๆ ช่วยปรับรสแกงให้กลมกล่อม (ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์, 2547, 54) สำหรับชาวล้านนา นิยมนำมาเป็นส่วนผสมของแกงแค แกงโฮะ เป็นผักจิ้มน้ำพริก
 
            ตลอดปี
 
 
            

ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์. (2547). สารานุกรมผัก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: แสงแดด.

มหาวิทยาลัยแม่โจ้. คณะผลิตกรรมการเกษตร. ภาควิชาพืชสวน. สาขาพืชผัก. ค้นวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 จากhttp://www.mju.ac.th/research-mju/whith.html

รัตนา พรหมพิชัย. (2542). เขือ, บ่า. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ (เล่ม 2, หน้า 866). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.