ตำลึง


 
            ผักแคบ (เหนือ) ผักตำลึง (กลาง) (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 1343) แคเด๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) (องค์การสวนพฤกษศาสตร์, 2547; เมฆ จันทน์ประยูร, 2548, 69) ผักตำนิน (อีสาน) (เมฆ จันทน์ประยูร, 2548, 69)
 
            ต้น เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นเถาเลื้อยพันต้นไม้อื่นด้วยอาศัยมือเกาะ ซึ่งเป็นเส้นกลม ๆ สีเขียว ยาวประมาณ 12-13 ซม. ขดงอคล้ายลวดสปริงเป็นเส้นเดี่ยวไม่แตกแขนงออกตรงข้ามกัน

ใบ เป็นใบเดี่ยวออกสลับ ตัวใบมักเป็น 5 เหลี่ยม หรือขอบใบเว้าลึกเข้าหาฐานใบ ฐานใบเป็นรูปหัวใจปลายใบแหลม ขอบใบเป็นรอยหยักแบบฟันเลื่อยตื้น ๆ เส้นใบแยกจากโคนใบที่จุดเดียวกัน ใบมีขนาดกว้าง 3-4 ซม. ยาว 5-6 ซม.

ดอก เป็นดอกเดี่ยวออกตรงซอกใบ หรือออกเป็นกลุ่ม 2-3 ดอก ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียแยกกันอยู่คนละต้น ดอกสีขาว ข้างในมีเกสรสีเหลือง รูประฆังปลายแยก มีขนาด 2-4 ซม. ออกดอกเดือนเมษายน-เดือนธันวาคม

ผล เป็นผลไม้สดคล้ายแตกกวาแต่เล็กกว่า ผลดิบสีเขียวและมีลายขาว เมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีแดงสดขนาดกว้าง 2-3 ซม. ยาว 5-7 ซม. มีเมล็ดจำนวนมาก รูปไข่กลับ แบน มีขนปกคุมเมล็ดและมีเนื้อหุ้มสีแดงสด ออกผลเดือนมิถุนายน–มกราคม (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 1343)
 
        
            เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ แคลเซียม ฟอสฟอรัส (ผักพื้นบ้าน อาหารไทย, 2548, 32) วิตามิน บี 1 บี 2 ไนอาซิน โปรตีน คาร์โบรไฮเดรต และไขมัน (ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง, 2550, 45)
        
ใบสดตำคั้นเอาน้ำแก้พิษแมลงกัดต่อย ที่ทำให้ปวดแสบปวดร้อน ทางเภสัชกรรมล้านนาใช้ใบผักแคบเป็นส่วนประกอบตำรับยามะเร็งครุดสันนิบาตราก ยาลมชักตีนมือบิดเบี้ยวไป ยามีดพร้าบาด

รากผักแคบนั้นเป็นส่วนผสมตำรับยาขางพากหลวง ยาใส่ตาเหลือง ยาเย็นตีนมือลูกตายในท้อง เป็นต้น (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 1343) ดับพิษร้อน แก้เจ็บตา ตาแดง และตาแฉะ

ต้น แก้โรคผิวหนัง ลดน้ำตาลในเลือด (ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง, 2550, 45; เมฆ จันทน์ประยูร, 2548, 69)
 
            ตลอดปี
 
 
            

กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม. (2548). ผักพื้นบ้านภาคเหนือ. เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ บรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: ศูนย์พัฒนาตำราการแพทย์แผนไทย.

ผักพื้นบ้าน อาหารไทย. (2548). กรุงเทพฯ: แสงแดด.

ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง. (2550). กรุงเทพฯ: บริษัท ฟ้าอภัย จำกัด.

เมฆ จันทน์ประยูร. (2548). ผักพื้นบ้าน: เคล็ดของคนอายุยืน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: มิติใหม่.

รัตนา พรหมพิชัย. (2542). แคบ, ผัก. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ (เล่ม 3, หน้า 1343). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.