กระเทียม


 
            หอมเตียม หอมขาว (ภาคเหนือ) กระเทียมขาว หอมเทียม (อุดรธานี) ปะเช้วา ( แม่ฮ่องสอน) เทียม (ภาคใต้ – ปัตตานี) (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2548, 10)
 
            ต้น เป็นพืชล้มลุก มีเนื้ออ่อน ต้นสูงประมาณ 30-45 เซ็นติเมตร ใบ มีสีเขียว ใบเดียว แบนยาวรูปขนาน เรียวแหลม ข้างในกลวง ยาวประมาณ 30-60 เซ็นติเมตร กว้างประมาณ 1-2.5 เซ็นติเมตร ส่วนโค้งของใบจะหุ้มซ้อนกันด้านล่างมีรอยพับเป็นสันตลอดความยาว ดอก มีสีขาวแกมม่วงหรืออมชมพู ดอกออกเป็นช่อ ติดเป็นกระจุกอยู่บนก้านช่อ ดอกที่ยาวประกอบด้วยดอกหลายดอก กลีบดอกมี 6 กลีบ รูปยาวแหลม ยาวประมาณ 6 มิลลิเมตร มีก้านหุ้มเป็นจะงอยยาว ก้านดอกยาวเล็ก อับเกสรหันหน้าออกด้านนอก หัว มีหัวใต้ดินประกอบด้วยหัวเล็กหลายหัวรวมกัน ยาวประมาณ 1-4 เซ็นติเมตร เปลือกนอกมีสีขาว หุ้ม 2-3 ชั้น (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2548, 10) กระเทียมที่มีกลีบเดียว เรียกว่า กระเทียมโทน ทางล้านนาเรีกยว่า หอมทอก บ้างนำมาดองกับน้ำผึ้ง ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 7528)
 
        
            มีโปรตีน น้ำตาล กรดไขมัน กรดอะมิโน แร่ธาตุและวิตามินหลายชนิด เช่น วิตามินบีหนึ่ง บีสอง และวิตามินซี (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 7527) คาร์โบรไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก (ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง, 2550, 30)
        
ใบ รสร้อนฉุน ทำให้เสมหะแห้ง กระจายโลหิต แก้ลมปวดบวมในท้อง
หัว แก้ไอ แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน แก้แผลเน่าเนื้อร้าย บำรุงธาตุขับโลหิตระดู แก้โรคประสาท แก้ปวดหู หูอื้อ ระบายพิษไข้ แก้ริดสีดวงงอก ขับพยาธิในท้อง แก้โรคในปาก แก้หืด แก้อัมพาต แก้ลมเข้าข้อ แก้จุกแน่นเฟ้อ แก้ขับปัสสาวะ บำรุงปอด แก้วัณโรคปอด แก้เสมหะ แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้ฟกบวม แก้สะอึก (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2548, 10)
 
             ฤดูหนาว
 
 
            

กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม. (2548). ผักพื้นบ้านภาคเหนือ. เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ บรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: ศูนย์พัฒนาตำราการแพทย์แผนไทย.

ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง. (2550). กรุงเทพฯ: บริษัท ฟ้าอภัย จำกัด.

รัตนา พรหมพิชัย. (2542). หอมเทียม. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ (เล่ม 14, หน้า 7527-7529). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.