ผักเสี้ยว


 
            เสี้ยวดอกแดง (ภาคเหนือ) เสี้ยวหวาน (แม่ฮ่องสอน) (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2548, 137)
 
            ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 7-12 เมตร ใบเดี่ยว ปลายใบเว้าลึกเข้าหากัน ฐานใบโค้งเข้าหากัน คล้ายรูปไตสองอันติดกัน ใบกว้าง 3 นิ้ว ยาว 4.5 นิ้ว ขอบใบเรียบ (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2548, 137)
 
        
             ผักเสี้ยว 100 กรัม มี 111.89 แคลอรี่ ประกอบด้วย โปรตีน 14.28 กรัม ไขมัน 2.28 กรัม คาร์โบไฮเดรต 8.53 กรัม แคลเซียม 515.68 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 126.92 มิลลิกรัม เหล็ก 4.46 กรัม วิตามินเอ 416.61 อาณือี วิตามินบี 1 0.09 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.11 มิลลิกรัม ไนอะซิน 2.84 มิลลิกรัม และวิตามินซี 5.89 มิลลิกรัม (เสาวภา ศักยพันธุ์, 2534) ใบอ่อนและยอดอ่อน นำมานึ่งให้สุกรับประทานเป็นผักจิ้มร่วมกับน้ำพริกตาแดง และน้ำพริกปลาร้า แกงกับปลาแห้ง ร่วมกับผักชนิดต่างๆ หรือแกงผักรวม ใส่ปลาแห้ง และมะเขือส้ม (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2548, 137)
        
ใบ แก้ไอ ดอก ระบายพิษไข้ แก้โรคบิด ราก ระบายพิษไข้ (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, 2548, 137)
 
            ฤดูฝนและฤดูแล้ง
 
 
            

กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม. (2548). ผักพื้นบ้านภาคเหนือ. เพ็ญนภาทรัพย์เจริญ บรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาตำราการแพทย์แผนไทย.

รูปผักพื้นบ้านไทยที่หาชมยาก. (2551). ค้นวันที่ 18 พฤศจิกายน 2551 จากhttp://www.fortunecity.com/campus/springbank/677/std1/P18.html