ผักบุ้ง


 
            ผักบุ้งไทย (ภาคกลาง) ผักบุ้ง (ทั่วไป) ผักทอดยอด (กรุงเทพฯ) ผักบุ้งแดง ผักบุ้งนา กำจร (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) โหนเดาะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2542, 137)
 
            ต้น เป็นไม้น้ำและเป็นไม้ล้มลุกหลายปี ลำต้นทอดเลื้อยไปตามน้ำหรือในที่ลุ่มที่มีความชื้นหรือดินแฉะ ลำต้นกลมสีเขียวหรือสีม่วงแดง มีข้อปล้องและมีรากออกตามข้อได้ ใบ เป็นใบเดี่ยวออกแบบสลับ แกมขอบขนานรูปหอก รูปหัวลูกศร ขอบใบเรียบหรือมีควั่นเล็กน้อย ปลายใบแหลมหรือมน ฐานใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ใบยาว 3-10 เซนติเมตร กว้าง 1-9 เซนติเมตร ดอก เป็นรูประฆังออกที่ซอกใบ แต่ละช่อมีดอกย่อย 1-5 ดอก กลีบเลี้ยงสีเขียวกลีบดอกมีทั้งสีขาวหรือ สีชมพูอยู่ที่ฐาน เกสรตัวผู้มี 5 อัน ยาวไม่เท่ากัน ผล เป็นแบบแคปซูล รูปไข่หรือกลม สีน้ำตาล มีเมล็ดกลมสีดำ (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2542, 137)
 
        
            ผักบุ้งแดง 100 กรัม ให้พลังงานแก่ร่างกาย 15 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย น้ำ 94.9 กรัม คาร์โบไฮเดรต 1.9 กรัม โปรตีน 1.5 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม กาก 0.8 กรัม แคลเซียม 2 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 14 มิลลิกรัม เหล็ก 2.6 มิลลิกรัม วิตามินเอ 5,834 IU วิตามินบี 1 0.06 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.17 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.3 มิลลิกรัม และวิตามินซี 14 มิลลิกรัม ผักบุ้งขาว 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 22 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย น้ำ 92.6 กรัม คาร์โบไฮเดรต 2.5 กรัม โปรตีน 2.6 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม กาก 1.1 กรัม แคลเซียม 3 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม เหล็ก 3 มิลลิกรัม วิตามินเอ 11,447 IU วิตามินบี 1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.44 มิลลิกรัม ไนอาซิน 0.9 มิลลิกรัม และวิตามินซี 16 มิลลิกรัม (เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ และกัญจนา ดีวิเศษ, บรรณาธิการ, 2542, 129)
        
บำรุงสายตา แก้ท้องผูก เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้หนองใน ขัดเบา แก้โรคประสาท โรคนอนไม่หลับ ถ่ายเป็นเลือด (ผักพื้นบ้าน อาหารไทย, 2548, 84) ช่วยขับพิษ ถอนพิษเบื่อเมา (เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ และกัญจนา ดีวิเศษ, บรรณาธิการ, 2542, 129)
 
            ตลอดปี
 
 
            

กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม. (2542). ผักพื้นบ้านภาคกลาง. กัญจนา ดีวิเศษ บรรณาธิการ. นนทบุรี: โครงการพัฒนาตำรา สถาบันการแพทย์แผนไทย.

ผักพื้นบ้าน อาหารไทย. (2548). กรุงเทพฯ: แสงแดด.

เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ และกัญจนา ดีวิเศษ, บรรณาธิการ. (2542). ไม้ริมรั้ว: สมุนไพรกับวัฒนธรรมไทย ตอนที่ 2. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์แผนไทย.