ผักแว่น


 
            ผักแว่น (ทั่วไป) ผักลิ้นปี่ (ภาคใต้) (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2548, 131; วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 297)
 
            ต้น เป็นไม้น้ำล้มลุกจำพวกเฟิร์น ลำต้นเป็นเหง้าเรียวยาวทอดเลื้อย แตกกิ่งก้านอย่างไม่เป็นระเบียบ มีขนสีน้ำตาลอ่อน เมื่อขึ้นบนดินลำต้นสูง 2-3 เซนติเมตร ถ้าอยู่ในน้ำ 6-18 เซนติเมตร ใบ เป็นใบประกอบแบบพัด มีใบย่อย 4 ใบ ใบย่อยรูปพัด กว้างและยาว 0.5-2 เซนติเมตร อับสปอร์ออกเดี่ยวๆ หรือหลายอัน บนก้านชูสั้นๆ รูปขอบขนานมีขนที่ร่วงง่าย (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2548, 131) ดอก เป็นดอกเดี่ยวสีเหลือง ผล ลักษณะยาวรี ขั้วผลและปลายผลแหลมเปลือกผลสาก ขนาดยาวประมาณ 1 ซม. ผลแบ่งเป็น 2 พู ภายในประกอบด้วยเมล็ดจำนวนมาก (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2550)
 
        
            ไม่มีข้อมูลสารอาหาร ข้อมูลทางอาหาร สำหรับชาวล้านนา ใช้ใบอ่อนมาปรุงเป็นแกง หรือนำมาเจียว ใช้ยอดอ่อน เถาอ่อน (ทั้งเถาหรือเครือ) เป็นผักสด เป็นเครื่องเคียงน้ำพริก โดยเฉพาะน้ำพริกปลา
        
ทั้งต้น ใช้สมานแผลในปาก คอ ระงับร้อน แก้ไข ร้อนในกระหายน้ำ ดับพิษ แก้ดีพิการ (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2548, 131; วุฒิ วุฒิธรรมเวช, 2540, 297)
 
             กรกฎาคม - กันยายน
 
 
            

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2550). ผักพื้นบ้าน. ค้นวันที่ 10 มิถุนายน 2550 จากhttp://singburi.doae.go.th/acri

กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม. (2548). ผักพื้นบ้านภาคเหนือ. เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ บรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: ศูนย์พัฒนาตำราการแพทย์แผนไทย.

วุฒิ วุฒิธรรมเวช. (2540). สารานุกรมสมุนไพร: รวมหลักเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.